'สามารถ' ชี้รับไม่ได้! ข้อเสนอพิเศษ 'ซีพี'

22 ม.ค. 2562 | 08:43 น.
220162-1532

ร.ฟ.ท. เผย 'ซีพี' ยื่นข้อเสนอพิเศษ 11 ข้อ แต่คณะกรรมการคัดเลือกฯ ปฏิเสธ 8 ข้อ นัดเจรจารอบสอง 25 ม.ค. นี้ คาดไม่สามารถเซ็นสัญญาได้ตามกรอบแน่ 'สามารถ' ฟันเปรี้ยง! เงื่อนไขเอกชนเอาเปรียบรัฐ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ได้เจรจากับกลุ่มซีพีและพันธมิตร ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด ได้เสนอราคา 117,227 ล้านบาทแล้ว ปรากฏว่า มีการยื่นข้อเสนอพิเศษในซองที่ 4 จำนวน 11 ข้อ ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยได้ในขณะนี้ เบื้องต้นนั้น ผลการเจรจาคณะกรรมการฯ ไม่สามารถรับเงื่อนไขได้ จำนวน 8 ข้อ ยอมรับได้ จำนวน 3 ข้อ โดย 1 ใน 3 ข้อนั้น มีเปิดเผยได้เพียง 1 ข้อ คือ ซีพีจะตั้งศูนย์ความเป็นเลิศระบบรางให้ ร.ฟ.ท.

 

[caption id="attachment_377991" align="aligncenter" width="304"] วรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) วรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)[/caption]

"ผลการเจรจาครั้งนี้มีความคืบหน้าอย่างมาก แต่ยังเหลือหลายข้อที่จะต้องมีการเจรจา จึงได้นัดหมายเจรจาอีกครั้งในวันที่ 25 ม.ค. นี้ คาดว่าผลการเจรจาจะยังไม่สามารถสรุปได้ และน่าจะไม่ทันการลงนามสัญญาภายในเดือน ม.ค. ตามกรอบที่กำหนดไว้เดิมแน่ ๆ"

 

[caption id="attachment_377829" align="aligncenter" width="500"] 'สามารถ' ชี้รับไม่ได้! ข้อเสนอพิเศษ 'ซีพี' เพิ่มเพื่อน [/caption]

ด้าน นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เมื่อเห็นข้อเสนอของกลุ่มซีพีตามที่สื่อนำเสนอ เห็นว่าไม่น่าจะทำให้การเจรจาครั้งนี้สำเร็จได้โดยเร็ว อาจยืดเยื้อ ประการสำคัญ หาก ร.ฟ.ท. ยอม ก็จะเป็นการเอาเปรียบกับ ร.ฟ.ท. อย่างมาก สิ่งสำคัญข้อเสนอเหล่านี้จะต้องกลับไปดูทีโออาร์ว่า เป็นการเอื้อให้รายใดรายหนึ่ง อีกรายอาจจะฟ้องร้องได้

"ต้องอย่ามองข้ามรายละเอียดในทีโออาร์กำหนดไว้ชัดเจน เงื่อนไขเอาเปรียบอย่างมากแค่การันตีกำไร 6% รัฐมาลงทุนเองไม่ดีกว่าเหรอ รัฐลงทุนมากแล้วยังไปรับความเสี่ยง หรือ การันตีให้เอกชนอีก จะคุ้มกับการลงทุนหรือไม่ อีกทั้งเรื่องการการันตีดอกเบี้ยและที่เกี่ยวกับสถาบันการเงิน ทีโออาร์ก็ระบุชัดเจนว่า เอกชนต้องมีความพร้อมในเรื่องนี้มาแล้ว"

ด้าน นายรัฐภูมิ ปริชาตปรีชา ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมถนนและระบบราง มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า ข้อแรกหลักประกันกำไร รัฐทำได้หรือไม่ อย่างไร? ส่วนข้ออื่นนั้นเป็นกรอบกติกาตามเงื่อนไขการประกวดราคาอยู่แล้วหรือเปล่า ดังนั้น จึงคิดว่าไม่น่าเป็นไปได้ที่จะมีเงื่อนไขแบบนี้

ด้าน แหล่งข่าวจากกลุ่มบริษัท อิตาเลียนไทยฯ กล่าวว่า ไม่กระทบหากซีพีจะลดสัดส่วนหุ้นการลงทุนจาก 70% เหลือเพียง 5% เนื่องจากอิตาเลียนไทยเป็นเพียงการรับงานก่อสร้างเพียงบางส่วน และ ITD อยู่ในฐานะ EPC Constractor เท่านั้นแหละ ประการสำคัญในกรณีซีพีจะปรับลดสัดส่วน นั่นหมายถึง ตอนเริ่ม Operate แล้วหรือไม่


……………….

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,437 วันที่ 20 - 23 ม.ค. 2562 หน้า 02

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
พับแผนไฮสปีด "กรุงเทพฯ-หัวหิน" !! จ่อยก "ไฮสปีด 3 สนามบิน" เฟส 2 ให้ 'ซีพี' เดินรถ
ยื้อ! "ไฮสปีด 3 สนามบิน" ร.ฟ.ท. ปัด 8 ข้อเสนอ 'ซีพี'


เพิ่มเพื่อน
โปรโมทแทรกอีบุ๊ก