เวิล์ดแบงก์ชี้เศรษฐกิจแกร่ง

19 ม.ค. 2562 | 06:59 น.
 

ธนาคารโลกมั่นใจ “บริโภค-ลงทุนภายในประเทศ”หนุนเศรษฐกิจไทยแกร่งรับแรงต้านจากภายนอก-การค้าโลกชะลอ  ท่ามกลางสถานการณ์ต้องเผชิญสังคมสูงวัย-แนะไทย “ลงทุนด้านการศึกษา-สาธารณะสุข”เปิดโอกาสคนรุ่นใหม่ที่เท่าเทียมสร้างอนาคต-ลดความยากจนช่วยยกระดับจีดีพีระยะยาวสูงกว่า 4%

ธนาคารโลกรายงานตามติดเศรษฐกิจไทย:ความเหลื่อมล้ำ  โอกาส และทุนมนุษย์ (แนวโน้มเศรษฐกิจโลก ธนาคารโลกมกราคม 2562 ) ระบุถึงสถานการณ์เศรษฐกิจล่าสุดว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังคไม่สดใสท่ามกลางความตึงเครียดทางการค้า การค้าระหว่างประเทศและการลงทุนมีการปรับตัวลดลง ความตึงเครียดทางการค้ายังคงสูง และภาวะการเงินเริ่มตึงตัว   เศรษฐกิจโลก มีแนวโน้มจะขยายตัวลดลงจาก3%ในปี2561เป็น 2.9%ในปี2562และเติบโต 2.8%ในปี2563-64 เนื่องจากเศรษฐกิจซบเซา ประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าดำเนินนโยบายการเงินอย่างเคร่งครัดและการค้าโลกชะลอตัว ถึงแม้จะมีจะมีผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการค้าและการท่องเที่ยว แต่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเพื่อขึ้นที่ 401%ในปี2561เศรษฐกิจไทยสามารถยืนหยัดได้แม้ว่าจะต้องฝ่าแรงปะทะจากเศรษฐกิจโลก เนื่องจากสภาพแวดล้อมในประเทศเข้มแข็งขึ้นจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น การบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น 5%ในไตรสมาส3ของปี2561นับเป็นอัตราเติบโตสูงที่สุดในรอบ 22ไตรมาสที่ผ่านมา  ในภาวะที่อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานต่ำ

ส่วนการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 3.9%ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายในการก่อสร้าง เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น  แวทางเติบโตทางเศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 3.8%ในปี2562ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยที่ 3.9%ในปี2563 การเติบโตทางเศรษฐกิจจะยังพึ่งพาการบริโภคจากภายในประเทศเนื่องจากการส่งออกได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ตลาดโลกลดลง จากปัจจัยแวดล้อมนี้ การลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและการปฎิรูปเศรษฐกิจตามที่วางแผนไว้อย่างต่อเนื่องจะช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศในปีหน้าและช่วงเสริมการเติบโตเศรษฐกิจในระยะกลาง อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจสหรัฐและจีนมีความเสี่ยงอาจชะลอตัวลงอีก เนื่องจากความตึงเครียดทางการค้า ดังนั้นอุปสงค์จากภายนอกยังเสี่ยงที่จะลดลงอย่างต่อเนื่องซึ่งอาจส่งผลกระทบการส่งออกของไทยเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวนักลงทุนอาจจะชะลอการลงทุนของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมส่งออกและที่เกี่ยวเนื่อง

นอกจากนี้การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐ และประเทศพัฒนาแล้วทั้งปัจจุบันและอนาคตอาจส่งให้ตลาดเงินผันผวนและการลดการนำเข้าเงินทุนจากประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่   ในส่วนของไทยนั้นการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐที่ต่ำกว่าเป้าอยู่เสมอ การคลังที่ไม่บูรณาการและความไม่แน่นอนทางการเมืองยังคงเป็นความเสี่ยงสำหรับการดำเนินงานตามกำหนดของโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่มีการวางแผนไว้แล้ว  ด้านแนวโน้มนโยบายการเงินและการคลังยังยืดหยุ่นและรักษาเศรษฐกิจมหภาคให้มั่นคงอยู่ได้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ระหว่าง 1-4%ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงและฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปกันชนทางด้านการเงินการคลังคาดว่าจะยังทำงานได้ดีและยังสามารถขยายตัวเพื่อรองรับกิจกรรมทางเศรษฐหากมีความจำเป็นได้  อัตราหนี้สาธารณะของไทยยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า 42%ของจีดีพี  เงินบาทมีความผันผวนน้อยลงในช่วงที่เกิดวิกฤติสกุลเงินตุรกีเมื่อเทียบกับอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์  ทั้งนี้เนื่องจากไทยมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่เข็มแข็ง 8.1%ของจีดีพี และทุนสำรองระหว่างประเทศที่ระดับ 74%ของจีดีพีซึ่งสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน

นางเบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการ ธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวถึงประเด็นสำคัญของเศรษฐกิจไทยว่า ในปี 2561 ถือว่าเติบโตได้ดีมาก และเป็นการเติบโตที่แข็งแรงหากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ พัฒนาการที่ดีขึ้นในโครงสร้างของการเติบโตที่การเติบมาจากอุปสงค์ภายในประเทศมากขึ้น ทั้งการบริโภคของเอกชน การลงทุนของเอกชน และการลงทุนภาครัฐซึ่งเป็นภาพโครงสร้างที่ดี หากดูสิ่งที่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจโลกกำลังมีแรงต้านค่อนข้างแรงสำหรับประเทศเกิดใหม่ทั้งหมด โดยเห็นการส่งออกของประเทศเหล่านั้นลดลง เพราะการค้าโลกที่ชะลอตัวและจะกระทบการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอีก 2ปีข้างหน้า แต่พอมองมาที่ประเทศไทยค่อนข้างประทับใจและไม่ใช่แค่ปี2561แต่จะไปในอีก 2ปีข้างหน้าด้วย  เพราะดูเหมือนเศรษฐกิจไทยที่ถูกสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐสามารถเปลี่ยนโครงสร้างของการเติบโตได้ และทำให้ไทยสามารถรับมือการเปลี่ยนแปลงและแรงต้านของเศรษฐกิจโลกที่จะมาในอีก 2 ปีข้างหน้าได้ดีหากเทียบกับประเทศอื่นๆ

“การรักษาระดับและคุณภาพการปฎิรูปด้านโครงสร้างของประเทศให้ยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญสำหรับประเทศไทยในการลดความยากจนและช่วยยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยให้สูงกว่า 4%ในสภาวะการณ์ที่ต้องเผชิญกับสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว”นางเบอร์กิท ฮานสล์กล่าว

โดยการลงทุนด้านทุนมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญในการสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับคนไทยทุกคนและการให้ความสำคัญกับการศึกษา สาธารณสุขจะเป็นการเปิดโอกาสที่เท่าเทียมกัให้แก่คนรุ่นต่อไปในระยะยาว ประเด็นสำคัญลำดับแรกเพื่อปรบงปรุงทุนมนุษย์ของไทย ได้แก่ การเผชิญกับความท้าทายในการจัดการโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งเด็กนักเรียนกว่า 1ล้านคนที่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพต่ำ การปรับปรุงการจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นศุนย์กลาง และการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายภาครัฐ นอกจากนี้การส่งเสริมให้คนมีสุขภาพที่ดีกว่าเดิมโดยเฉพาะการมุ่งป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงต่างที่ล้วนมีความสำคัญต่ออัตราการรอดชีวิตของผู้ใหญ่”