ใหญ่ฟัดใหญ่! "กสทช.-ดีอี" เปิดศึกปาดหน้า 5G

18 ม.ค. 2562 | 12:47 น.
180162-1857

... แม้ตอนนี้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กำลังกุมขมับแก้ไขปัญหาช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ที่โดนผู้ประกอบกิจการ OTT (Over-the-top) คุกคาม โดยไม่ได้แบกภาระต้นทุนสักบาทเหมือนกับกลุ่มทีวีดิจิตอล

โดย กสทช. ตัดสินใจเวนคืนคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำคลื่นออกมาประมูลให้บริการระบบ 5G ภายในปลายเดือนธันวาคม 2562

MP20-3423-A

ไม่เพียงแต่เรื่องแก้ปมทีวีดิจิตอลเท่านั้น ปรากฏว่า มีเรื่องของ กลุ่มทรู เข้ามาแทรกอีก เพราะ ทรู ออกมาแจ้งว่า ยังไม่มีแผนที่จะเข้าร่วมประมูลคลื่นดังกล่าว เนื่องจากยังรอความชัดเจนเรื่องการขยายระยะเวลาการชำระค่างวดเงินประมูลคลื่นความถี่ 900

อย่างไรก็ตาม การประกาศไทม์ไลน์ของ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานอนุกรรมการกลั่นกรองงานของ กสทช. ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มีความชัดเจนแล้ว โดยกำหนดกรอบระยะเวลาในเดือนเมษายนจัดทำแผนคลื่นความถี่ฉบับใหม่ และ แผนการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ 700 ใช้ระยะเวลา 8 เดือนในการจัดทำแผน และ ตามมาด้วยการผ่อนชำระค่าคลื่น ด้วยการผ่อนจ่าย 9 งวด งวดแรก 20% และ งวดที่ 2-9 ชำระ 10%

 

[caption id="attachment_376318" align="aligncenter" width="500"] ใหญ่ฟัดใหญ่! "กสทช.-ดีอี" เปิดศึกปาดหน้า 5G เพิ่มเพื่อน [/caption]

"เมื่อ กสทช. มีกรอบเวลาในการผ่อนคลายการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต เชื่อว่าค่ายมือถือก็มีความสนใจ ส่วนเรื่องขยายค่างวดคลื่น 900 เมกกะเฮิรตซ์ กสทช. เข้าใจ แต่การแก้ไขปัญหาต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ เพราะที่ผ่านมา ราคาประมูลสูงเกินจริงผู้ประกอบการไม่มีเงินเหลือที่จะนำมาลงทุน" พ.อ.นที กล่าว

นั้น คือ เรื่องที่ กสทช. กำลังดำเนินแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างผลงานให้ปรากฏในรัฐบาลชุดนี้ เพราะนั่นหมายความว่า ถ้าสำเร็จ บอร์ด กสทช.จะได้อยู่ต่อ หรือ อาจจะมีบุคคลบางคนได้เก้าอี้ตัวใหญ่กว่าประธาน กสทช. ด้วยซ้ำ

หากแต่ในห้วงเวลานี้กำลังมีเสียงร่ำลือในกลุ่มทุนสื่อสาร เกิดการปาดหน้าให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 5G กันซะแล้ว

 

[caption id="attachment_376709" align="aligncenter" width="503"] สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ[/caption]

ที่บอกว่า ปาดหน้า เป็นเพราะกลางปีที่ผ่านมา นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ ออกมาประกาศว่า ภายในปี 2563 ประเทศไทยจะต้องเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 5G

ทำให้ กสทช. และ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี รีบรับนโยบายทันที โดย ดีอี ประกาศตัวชัดเจน ใช้พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทดสอบระบบ 5G โดยให้หน่วยงานภายใต้กำกับดูแล คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นแกนหลัก ทดสอบร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

ส่งผลให้ นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ออกมาประกาศว่า "ปีนี้จะเป็นปีแห่งการเดินหน้าทดสอบระบบ 5จี เต็มรูปแบบสำหรับประเทศไทย คาดว่าจะเห็นการทดสอบการใช้งาน (Use Cases) ได้อย่างเป็นรูปธรรม ได้ภายใน 3 เดือนนี้ จากทั้งฟากผู้ผลิตอุปกรณ์ (Vendors), ผู้ให้บริการทั้งในส่วนมือถือและอินเทอร์เน็ต (ISPs) และภาคส่วนอื่น ๆ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษอีอีซี ซึ่งจะเข้ามาใช้พื้นที่ทดสอบ (5G Testbed) ที่จัดตั้งไว้ให้ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา"

 

[caption id="attachment_376710" align="aligncenter" width="312"] พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี)[/caption]

ส่วนทางด้าน กสทช. ในฐานะผู้กุมคลื่นความถี่ เป็นต่อในเรื่องนี้ เหตุก็เพราะบรรดากลุ่มทุนสื่อสารต้องคอยเอาใจเพราะต้องพึ่งพาเรื่องของคลื่นความถี่ที่จะมาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

โดย นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ออกมาบอกว่า กสทช. ได้อนุมัติให้ เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ทดสอบความถี่บนคลื่นความถี่ย่าน 26.5-27.5 GHz ศูนย์การค้าดิ เอ็มโพเรียม และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีบริษัทฯ ในเครือให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้ชื่อ "ทรูมูฟ เอช" ใช้คลื่นความถี่ย่าน 28 GHz ทดสอบที่ ทรู แบรนดิ้ง ช้อปไอคอนสยาม ส่วน ดีแทค ทดสอบกับผู้ผลิตอุปกรณ์ด้วยตัวเอง

 

[caption id="attachment_376748" align="aligncenter" width="503"] ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.[/caption]

ยิ่งตอกย้ำไปอีก เมื่อ กสทช. ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งศูนย์ทดสอบเทคโนโลยี 5G ภายในมหาวิทยาลัย เป็นเวลา 2 ปี เชื่อมต่อ Internet of Thing (IoT), ระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ระบบขนส่ง และจราจรอัจฉริยะ Intelligent Transportation System (ITS) ระบบสาธารณสุขทางไกล (Telehealth) โดยใช้เงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ประมาณ 40-50 ล้านบาท ในการดำเนินโครงการ

"ถือว่า กสทช. ชนะยกแรกไปแล้วด้วยการทดสอบ 5G ให้เห็น แม้จะเป็นการทดสอบในช็อปของ เอไอเอส และทรูมูฟ เอช ก็ตาม" แหล่งข่าววงการโทรคมนาคมให้ความเห็น

ส่วนทางฟาก ดีอี ก็มีแผนจะทดสอบ 5G ในพื้นที่ EEC กลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ ด้วยการเชิญบรรดาเวนเดอร์รายใหญ่ไล่เรียงตั้งแต่ โนเกีย อีริคสัน แล ะหัวเหว่ย ช่วยกันลงขันด้วยการนำอุปกรณ์เครือข่ายเข้ามาติดตั้งในพื้นที่เป็นระยะเวลา  3 ปี

5G

ในส่วนของการขอคลื่นความถี่นั้น ดีอี   มอบหมายให้ทีโอที ประสานขอคลื่นความถี่ 3.5 GHz,26 -28 GHz จาก กสทช. เพื่อทดสอบ

แต่ปรากฏว่าตอนนี้บรรดา เวนเดอร์ กำลังปวดตับ เพราะอุปกรณ์ย่าน 3.5 GHz ที่จะนำเข้ามาทดสอบดันไปทับกับอุปกรณ์ย่านความถี่ซีแบนด์ของ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ถ้าขืนนำเข้ามามีปัญหากับไทยคมอย่างแน่นอน

"ดีอี มีแผนจะทดสอบ 5G ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ แต่ ดีอี กลับไม่เรียก ไทยคม เข้ามาเจรจา ทำให้ เวนเดอร์ ก็ไม่กล้าตัดสินใจนำอุปกรณ์เข้ามาต้องเก็บของไว้ในโกดังในต่างประเทศ เพราะถ้าขืนเอามาทดสอบไปรบกวนสัญญาณดาวเทียมไทยคม 5-6 และ 7 คงจะเป็นเรื่องกันแน่"

ที่สำคัญ  กสทช. จะจัดสรรคลื่นความถี่ให้ หรือ ไม่นั่น ตอนนี้ยังไม่มีคำตอบ เพราะทั้ง 2 หน่วยงานนั้นเป็นไม้เบื่อไม้เบากันมา เพราะก่อนหน้านี้มีข่าวว่า ดีอี ต้องการให้ กสทช. มาอยู่ภายใต้กำกับดูแล แต่ก็ไม่เป็นผล

ขณะที่ กสทช. นั้น จะทำตามคำสั่งของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ บอร์ดดีอี ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. นั่งเป็นประธาน

 

[caption id="attachment_376714" align="aligncenter" width="503"] พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.[/caption]

ถึงแม้ กสทช. และ ดีอี จะแข่งขันกันเพื่อโชว์ผลงาน แต่ถ้าต่างฝ่ายต่างดึงผลงานทุกอย่างก็ขับเคลื่อนล่าช้าเช่นเดียวกัน

ว่ากันว่า ถ้าใครสร้างผลงาน 5G โดดเด่นเข้าตามีสิทธิ์ได้อยู่บนเก้าอี้ รมต.อีกหนึ่งสมัย แต่บุคคลที่โดดเด่นเห็นจะเป็นคนใหญ่คนโตฝั่ง "กสทช." ที่จะเข้ามาเสียบแทน

ส่วนการประมูล 5G คงไม่ได้เกิดขึ้นแบบราบรื่นเท่าใดนัก เพราะคลื่นความถี่ที่นำออกมาประมูล 7 ใบ ใบอนุญาตละ 2 x 5 MHz อายุใบอนุญาต 20 ปี แต่ละรายให้ประมูลได้ไม่เกิน 3 ชุดคลื่นความถี่ หรือไม่เกิน 2 x 15 MHz ถือว่าคลื่นที่ให้บริการจำนวนน้อย และ ยังไม่มีอุปกรณ์รองรับ ถ้าเทียบกับย่าน 26 GHz ที่ไชน่าโมบายเปิดให้บริการที่ประเทศจีนแล้ว

แต่เอาเข้าจริงแล้ว 5G ต้องใช้ช่วงคลื่นความถี่ที่ตั้งแต่ 3.5 GHz ไปจนถึง 26 GHz น่าจะเหมาะสมที่สุด

 

ทำไม? "ดีแทค" ยอมควัก 9.5 พันล้าน ยุติข้อพิพาทกับ กสท. หลังหมดสัมปทาน


เว็บไซต์ข่าวเศรษฐกิจ เพื่อนักธุรกิจรุ่นใหม่ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหา การเงิน การลงทุน การตลาด เทคโนโลยี



……………….

รายงานพิเศษ โดย โต๊ะข่าวไอที

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
5G เปิดโอกาสสู่เทคโนโลยีหุ่นยนต์
ปีแห่งการทดสอบ "5G" ลุยพื้นที่ 'อีอีซี'

เพิ่มเพื่อน โปรโมทแทรกอีบุ๊ก