สายลมแห่งชีวิต "ว่าว" สู่จิตรภาพ

18 ม.ค. 2562 | 09:47 น.

S__11886619 ข้าพเจ้าเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ผสมผสานกับกรรมวิธีการทำว่าวที่เป็นประสบการณ์ติดตัวข้าพเจ้ามาตั้งแต่วัยเยาว์ นับตั้งแต่การเหลาไม้ไผ่ การดัดการผูกเชือก การติดกระดาษ และการวาดเขียนซึ่งอาศัยการสืบทอดภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าของบรรพชนมาเป็นต้นทุนและสานต่อในการสร้างสรรค์


ศิลปะ สายลมแห่งชีวิต "ว่าว" สู่จิตรภาพ

สิทธิโชค วิเชียร ศิลปินเจ้าของผลงานเล่าว่า ข้าพเจ้าเคยเล่าเรื่องราวความผูกพันที่มีต่อ "ว่าว" ให้เพื่อนสนิท ฟังว่า ว่าวตัวแรกนั้นเกิดขึ้นจากฝีมือการประดิษฐ์ของข้าพเจ้าเอง ตอนนั้นข้าพเจ้าอายุ 8 ขวบ มีจิตใจโปรดปรานว่าวมาก เฝ้าอ้อนวอนให้พ่อประดิษฐ์ว่าวให้เล่น แต่พ่อก็ไม่เคยว่างเว้นจากการทำงานเลย ข้าพเจ้าจึงฝึกเหลาไม้ไผ่ ดัด ผูกเชือกขึ้นโครงว่าวด้วยตนเอง จดจำวิธีทำจากคนเฒ่าคนแก่ และเพื่อนบ้าน จนเวลาผ่านไป 2-3ปี ว่าวจุฬาตัวแรกของข้าพเจ้าก็ลอยอยู่กลางท้องฟ้าได้ เป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ข้าพเจ้าประดิษฐ์ว่าวทุกวัน จนมีว่าวแขวนเต็มผนังบ้าน เวลาไปโรงเรียนก็จะนำว่าวไปด้วยเสมอ วิ่งว่าวจนไม่ยอมเรียนหนังสือ ไม่ทำการบ้าน กระทั่งคุณครูให้ตกซ้ำชั้น

[caption id="attachment_376521" align="aligncenter" width="377"] สิทธิโชค  วิเชียร สิทธิโชค วิเชียร[/caption]

ภายหลังชีวิตผกผันเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย ในห้วงฤดูกาลที่ลมหนาวพัดผ่าน ข้าพเจ้าประดิษฐ์ว่าวให้เพื่อนร่วมชั้นเรียนกลุ่มหนึ่งได้ลองวิ่งเล่น เราปล่อยว่าวติดลมบนกลางค่ำคืนแถบชานเมืองนครปฐม เขาแนบหูฟังเสียงธนูว่าวผ่านเส้นเชือกผูกโยง ไพเราะเพราะพริ้งเพลินใจ เกิดความประทับใจในโสตเสียงของว่าวติดลม ข้าพเจ้าเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ผสมผสานกับกรรมวิธีการทำว่าวที่เป็นประสบการณ์ติดตัวข้าพเจ้ามาตั้งแต่วัยเยาว์ นับตั้งแต่การเหลาไม้ไผ่ การดัดการผูกเชือก การติดกระดาษ และการวาดเขียนซึ่งอาศัยการสืบทอดภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าของบรรพชนมาเป็นต้นทุนและสานต่อในการสร้างสรรค์

สัมพันธ์ในการดำเนินชีวิต ทั้งการละเล่น ประเพณี และวัฒนธรรม ที่ส่งผลต่อความคิดอารมณ์และความรู้สึกของตน จึงหล่อหลอมกล่อมเกลานำมาเป็นแรงบันดาลใจ สร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะโดยอาศัยโครงสร้างและคุณสมบัติเดิมของวัสดุธรรมชาติ เช่น การโค้งงอของกิ่งไม้ จังหวะลีลา และพื้นผิวของเปลือกไม้ มาผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ที่เชื่อมโยงวิธีชีวิต และภูมิปัญญาพื้นบ้านด้วยเทคนิควิธีการทำว่าวซึ่งเป็นวิธีการที่ ซึมซับมาตั้งแต่วัยเยาว์ ได้แก่ การเหลาไม้ การดัด การผูกเชือก ติดกระดาษ และการวาดเขียนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สะท้อนให้เห็นถึงรากเหง้าของวิถีชีวิต ที่มีความเรียบง่าย สมถะ สุขสงบ และพอเพียง
S__11886624 S__11886618 ชีวิตก็เหมือนๆว่าวนี่แหละ หากไม่มีลมก็หมุนหัวปักดิน หากลองล่องขึ้นแล้วเจอลมแรงๆก็ขาด อยู่ใกล้ๆกันก็พันละวัน
ฉนั้นชีวิตต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์เตรียมพร้อมรอคอยให้เหมาะสมกับโอกาส

ผลงานวาดเส้นด้วยปากกลูกลื่นบนกระดาษฟาบีโน่ เป็นการฝึกฝนจิตพื้นฐานในตัว อารมณ์ความรู้สึก รัก โลภ โกรธ และความลุ่มหลง เปรียบดั่งสายลมที่พัดผ่านมาแล้วก็จางหาย หวนกลับคืนก่อตัวใหม่และดับอย่างไรตัวตน
ดังที่ภาพจินตนาการที่ต้องรีบบันทึกภาพในอารมณ์นั้นไว้ ให้เกิดเป็นภาพที่สมบูรณ์ เพื่อไว้พินิจรู้อารมณ์ตน

หนทางความงามบรรจงรังสรรค์งานศิลปะภาพวาดอันบันเจิดล้ำ้เลิศขึน เพื้อชี้นำหัวใจให้แลเห็นถึงความงามและความรัก ศิลปะไม่ใช่เครื่องประดับ หากศิลปะนั้นล้วนเป็นแสงสว่างที่ส่องนำไปสู่การตรัสรู้ นำไปสู่ปรีชาชาญและความเข้าใจชีวิตอันเปี่ยมล้น ผลงานศิลปะเหล่านี้มิได้เป็นเพียง"ตัวแทน"ของสัจจะหากเป็นตัว"สัจจะ"ที่สื่อสารโดยจากจิตสู่ใจ เป็นภาษาที่เต็มไปด้วยพลัง เต็มไปด้วยความงามและชีวิต
S__11886626 S__11886628 ประวัติ
ชื่อ นาย สิทธิโชค วิเชียร
เกิด 28 สิงหาคม 2530
ที่อยู่ 93 หมู่1 ต.หน้าเขา อ.เขาพนม จ.กระบี่ 81140
โทร 084-061-1069

ประวัติการศึกษา
2537 โรงเรียนบ้านถ้ำโกบ
2547 วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช
2550 ศิลปบัณฑิต (ศิลปไทย)
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
2555 ศิลปะมหาบัณฑิต (ป.โท) สาขาทัศนศิลป์ (ศิลปไทย)
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เกียรติประวัติ
2549 รางวัลดีเด่น การประกวดศิลปกรรม “นำสิงที่ดีสู่ชีวิต” ของโตชิบ้า ครั้งที่18

2554 - รางวัลที่1 เหรียญทองบัวหลวง ประเภทจิตรกรรมไทยแนวประเพณี
จิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่33 โดยมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ
-รางวัลที่2 เกียรตินิยมเหรียญเงิน ศิลปกรรมรุ่นเยาว์ ครั้งที่28
-รางวัลที่3 เกียรตินิยมเหรียญทองแดง ศิลปกรรมแห่งชาติประเภทจิตรกรรม ครั้งที่57
-ได้รับทุนการศึกษา “เมทินี ธารวณิชกุลพ.ศ.2554

2556 รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย ศิลปกรรมแห่งชาติประเภทจิตรกรรม
ครั้งที่59

2557 รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย ศิลปกรรมแห่งชาติประเภทจิตรกรรม
ครั้งที่60

ประวัติการแสดงงาน
2549 -ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปกรรม ปตท.ครั้งที่23
2552 -ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปกรรม“นำสิงที่ดีสู่ชีวิต”ของโตชิบ้า ครั้งที่22
2553 -ร่วมเขียนปฏิทิน บริษัท กนกสิน
-ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปไทยร่วมสมัย จิตรกรรมในศิลปไทย ณ.พิพิธภัณฑ์
ธนาคารไทย บจม. ไทยพาณิชย์
-ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปะไทย โดยนักศึกษาภาควิชาศิลปไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์
2554 นิทรรศการค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ณ.บ้านดำ จ.เชียงราย ครั้งที่ 2,3,4
2555 นิทรรศการศิลปนิพนธ์เพื่อศิลปะ
-นิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 34,35
-นิทรรศการสยาม app
-นิทรรศการ on paper
2556 นิทรรศการครบรอบ 36 ปี ภาควิชาศิลปไทย
-นิทรรศการนวัตกรรมศิลปะไทย
2557 -นิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 3
2558 นิทรรศการศิลปกรรมกรุงไทย ครั้งที่ 1-2
2559 นิทรรศการจิตกรรมบัวหลวง:เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
-นิทรรศการ “มิตรภาพสายศิลป์” ณ หอศิลป์3/2 จ.ตรัง
2560 นิทรรศการศิลปะ “คำสอนของพ่อ” ณ.หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
-นิทรรศการ :พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย โดยสมาคมศิลปินทัศนศิลป์นานาชาติ แห่งประเทศไทย
-นิทรรศการศิลปะ “อันดามันตา” ณ หอศิลป์อันดามัน จ.กระบี่
2561 -นิทรรศการศิลปะ Krabi Art City จ.กระบี่
-นิทรรศการศิลปะ “อันดามัน”ณ หอศิลป์อันดามัน จ.กระบี่
แสดงงานเดี่ยว
2559 “ว่าวกับวิถีชีวิตพื้นบ้าน” ณ หอศิลป์อันดามัน จ.กระบี่
- “จากว่าวสู่ศิลป์” ณ.พีเพิ่ลส์แกลลอรี่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่ง กทม.

[caption id="attachment_375878" align="aligncenter" width="500"] สายลมแห่งชีวิต "ว่าว" สู่จิตรภาพ เพิ่มเพื่อน [/caption]

595959859