เอกชนยื้อสุดฤทธิ์! ถูกหั่นโควตา "นมโรงเรียน"

20 ม.ค. 2562 | 06:27 น.
14 โรงนมเอกชนยื้อ! 'กฤษฎา' เซตซีโร่นมโรงเรียน ยก 70% จัดสรรให้กลุ่มสหกรณ์ ชี้! ไม่เป็นธรรมผู้เข้าร่วมโครงการทุกภาคส่วน อ้าง! แบกหนี้ลงทุนเพียบ หวั่นลามปิดกิจการลอยแพลูกจ้าง เกษตรกรเดือดร้อน

โครงการอาหารเสริม (นม)โรงเรียน งบประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท/ปี ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการร่วมโครงการ 64 ราย แบ่งเป็น โรงนมเอกชน 29 ราย สถาบันการศึกษา 11 ราย ภาคสหกรณ์ 21 ราย และรัฐวิสาหกิจ 3 ราย ล่าสุด ปลายเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ส่งแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมโคนมทั้งระบบ เพื่อเตรียมบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมของคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่ระหว่างทางมีกลุ่มโรงนมเอกชน 14 โรง เข้าพบนายกฤษฎา และขอดึงเรื่องกลับสำเร็จ อ้างเหตุผลมีการจัดสรรที่ไม่เป็นธรรม

TP13-3437-B

นายวสันต์ จีนหลง นายกสมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอไรซ์ ในฐานะแกนนำ 14 โรงนมที่ไม่เห็นด้วยกับการจัดสรรโควตานมโรงเรียนใหม่ เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวขัดกับแผนยุทธศาสตร์โคนม 10 ปี ที่ผ่านที่ประชุมคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม หรือ "มิลค์บอร์ด" ไปแล้ว แต่แผนที่รัฐมนตรีจะนำเข้าที่ประชุม ครม. เป็นแผนลักไก่ ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของมิลค์บอร์ด หากผ่านความเห็นชอบจะมีประเด็นปัญหาเกิดขึ้นตามมา อาทิ ยุทธศาสตร์ระบุตลาดนมโรงเรียนจะให้ความสำคัญกับภาคสหกรณ์ก่อน (จะได้รับการจัดสรรโควตาสัดส่วน 70% อีก 30% เป็นของภาคส่วนอื่น) แต่ในสภาพความเป็นจริง แหล่งการเลี้ยงโคนมจะมีการกระจุกตัวอยู่ในบางพื้นที่ บางจังหวัดมีโรงงานอยู่เพียงโรงเดียว ดังนั้น จะส่งผลให้โรงงานในพื้นที่ต้องถูกปิดตัวลงโดยปริยาย และนมที่ส่งจำหน่ายในพื้นที่จะมาจากโรงงานห่างไกล อาจส่งผลให้เด็กได้รับผลิตภัณฑ์นมที่ด้อยคุณภาพ

599230306

"เราเป็นภาคธุรกิจเอสเอ็มอีที่ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ในพื้นที่ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม หากมีข้อกำหนดดังกล่าวจะทำให้ธุรกิจไม่สามารถเข้าถึงงบประมาณของรัฐได้อย่างทั่วถึง และไม่เป็นธรรมต่อผู้เข้าร่วมโครงการทุกฝ่าย อาจต้องปิดตัวลงในไม่ช้า ขณะที่ ภาคธุรกิจมีการลงทุนด้านเครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ด้านการผลิต การขนส่ง และการเก็บรักษา ตามนโยบายของภาครัฐมาโดยตลอด ปัจจุบัน ยังแบกภาระเงินกู้และดอกเบื้ยจากธนาคาร ต้องผ่อนชำระค่าเครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ การผลิต รถขนส่ง ห้องเย็นสำหรับเก็บผลิตภัณฑ์นมอยู่อีกมาก"

นม1

ดังนั้น จึงเห็นควรขอให้ตัดคำว่า "สิทธินมโรงเรียนให้ความสำคัญกับภาคสหกรณ์ก่อน" เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงงบประมาณของรัฐอย่างเป็นธรรม และเพื่อไม่ให้ถูกมองว่า "ธุรกิจนี้มีการผูกขาด" ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งข้อสังเกต

599230246-335x503

สอดคล้องกับ นายนัยฤทธิ์ จำเล ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย ที่สนับสนุน 14 โรงนมเอกชน เนื่องจากมองว่า นํ้านมดิบที่เอกชนซื้อก็มาจากเกษตรกรและศูนย์รวบรวมนมเช่นเดียวกัน ไม่จำเป็นว่า บริษัทจะมีเกษตรกรเป็นสมาชิกหรือไม่ ดังนั้น ขอให้มีการจัดสรรงบประมาณที่เป็นธรรมน่าจะเพียงพอแล้ว ไม่เช่นนั้นเกษตรกรจะเดือดร้อนตามมา

หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับ 3,437 วันที่ 20-23 มกราคม 2562

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว