"ทิสโก้" ตั้งเป้าปี 62 โตคุณภาพ! โฟกัสสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ-เบรกกู้บ้าน

16 ม.ค. 2562 | 13:27 น.
"กลุ่มทิสโก้" ประกาศแผนธุรกิจปี 62 ยกระดับบริการให้คำปรึกษาทางการเงินสู่การเป็น Holistic Financial Advisory โฟกัสคุณภาพสินเชื่อตั้งเป้าโต 4% มุ่งปล่อยสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ แตะเบรกปล่อยกู้บ้าน

 

[caption id="attachment_375709" align="aligncenter" width="386"] นายสุทัศน์ เรืองมานะมงคล นายสุทัศน์ เรืองมานะมงคล[/caption]

นายสุทัศน์ เรืองมานะมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มทิสโก้ เปิดเผยถึงแผนธุรกิจในปี 2562 ว่า กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของกลุ่มทิสโก้ยังคงตั้งเป้าเติบโตในทุกกลุ่มธุรกิจ โดยจะยกระดับบริการให้คำแนะนำทางการเงินที่ตอบโจทย์ลูกค้าแบบองค์รวม หรือ Holistic Financial Advisory โดยครอบคลุมการวางแผนการเงินที่มีการคุ้มครองความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับลูกค้า และยังเป็นโอกาสทางธุรกิจในยุคสังคมผู้สูงอายุและเทรนด์การตื่นตัวด้านสุขภาพ

ทิสโก้ตั้งเป้าหมายจะต่อยอดการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (Investment Advisory) ให้ครอบคลุมการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประกันสุขภาพ ที่สามารถให้คำแนะนำลูกค้าในการวางแผนคุ้มครองสุขภาพที่ตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละรายอย่างคุ้มค่า โดยได้เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ผลิตภัณฑ์การลงทุนที่สอดคล้องกับตลาด เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีให้กับลูกค้า

ด้าน สินเชื่อจะรักษาการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ควบคุมต้นทุนดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ โดยการขยายตัวของสินเชื่อ คาดว่าจะเติบโตได้ดีขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศที่ยังขยายตัว และยอดขายรถยนต์ที่ประเมินว่า น่าจะมียอดขายอยู่ในระดับสูงไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคัน

ด้าน นายศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (TISCO) กล่าวว่า แผนธุรกิจของธนาคาร ปี 2562 จะให้ความสำคัญกับคุณภาพสินเชื่อ ตั้งเป้าเติบโตจากปีก่อน 4% โดยจะเน้นสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ภายใต้แบรนด์ "สมหวัง เงินสั่งได้" เพิ่มขึ้นสุทธิปีนี้ 4,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 25% จากยอดคงค้างปีก่อน 32,000 ล้านบาท ขณะที่ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เติบโตราว 4-5% จากยอดคงค้าง 140,000 ล้านบาท จำนวนนี้เป็นสัดส่วนรถมือสองและป้ายแดงประมาณ 15 : 85

ส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปี 2562 ธนาคารตั้งเป้าทรงตัวหรือชะลอเล็กน้อยจากปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ต้องการคุมการเก็งกำไร โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ โดย ธปท. ได้ออกเกณฑ์การกำหนดเงินดาวน์ขั้นต่ำ หรือ อัตราส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV) ที่จะเริ่มใช้ในเดือน เม.ย. นี้ ประกอบกับหนี้ครัวเรือนทั้งระบบยังอยู่ระดับสูง รายได้ของครัวเรือนเติบโตช้ากว่าภาระหนี้


โปรโมทแทรกอีบุ๊ก

ขณะที่ สินเชื่อเอสเอ็มอีปีนี้จะทรงตัวจากปีที่แล้ว เนื่องจากสินเชื่อเอสเอ็มอีที่ธนาคารปล่อยกู้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มดีลเลอร์รถยนต์ที่ยังมีสต็อกรถยนต์อยู่จำนวนหนึ่ง ความต้องการใช้สินเชื่อจึงไม่มาก

ส่วน "สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่" คาดว่าจะเติบโต 5-10% จากยอดสินเชื่อคงค้างปี 2561 ที่ 30,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นลูกค้ากลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ยังมีความต้องการใช้สินเชื่อเพื่อก่อสร้างโครงการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

"การเติบโตองสินเชื่อปีนี้จะมาจาก "สมหวัง เงินสั่งได้" เป็นหลัก โดยเป็นการเติบโตจากยอดสินเชื่อคงค้างปีก่อนถึง 40% และเป็นสินเชื่อใหม่เพิ่มสุทธิ 25% นอกจากนี้ จะขยายสาขา "สมหวังเงินสั่งได้" เพิ่มเป็น 300 แห่ง จากสิ้นปี 2561 ที่มี 250 สาขา ส่วน "สินเชื่อเช่าซื้อ" ธนาคารมองว่า "ยังมีความเสี่ยง" เพราะความสามารถผู้กู้จะผ่อนได้ รายได้ต่อเดือนควรไม่ต่ำกว่า 25,000 บาท และผ่อนต่อเดือน 8,000-10,000 บาท แต่ด้วยสภาพตลาดแข่งขันสูง ดาวน์ต่ำ 10-15% แต่ผ่อนยาวถึง 60 เดือน กดให้มาร์จิ้นต่ำและมีความเสี่ยงจะเป็นหนี้เสีย"

ณ สิ้นปี 2561 ธนาคารมีสินเชื่อคงค้างรวม 240,654 ล้านบาท แบ่งเป็น สัดส่วนสินเชื่อรายย่อยประมาณ 70-80% สินเชื่อเอสเอ็มอีน้อยกว่า 10% และสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ 15%

นายศักดิ์ชัย ยังกล่าวถึง เป้าหมายรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยในปี 2562 คาดว่าจะเติบโต 5% จากปีก่อนที่เติบโตอยู่ที่ 8.7% เนื่องจากธุรกิจนายหน้าขายประกันและธุรกิจนายหน้าซื้อ-ขายกองทุนรวมยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจนายหน้าขายประกัน ที่ธนาคารได้มีการร่วมกับพันธมิตรบริษัทประกันในการขายประกันไปพร้อมกับการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหนุนที่ทำให้รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในปีนี้ คาดว่าจะยังทรงตัวจากปีก่อนที่ระดับ 2.86% ซึ่งธนาคารยังไม่มีนโยบายการขายพอร์ต NPL ออกไป เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงและความผันผวน ทำให้ NPL ปรับลดลงค่อนข้างช้า ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา ธนาคารได้ตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญแล้วกว่า 2,700 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราส่วนของเงินสำรองรวมของธนาคารต่อสำรองพึงกันตามเกณฑ์ขั้นต่ำของ ธปท. สูงถึง 230%

090861-1927-9-335x503-8-335x503-13-335x503