ธนาคารโลกคาดจีดีพีไทยปี 62-63 โต 3.8% และ 3.9% ตามลำดับ

16 ม.ค. 2562 | 07:37 น.
ธนาคารโลกปรับลดจีดีพีไทยปีนี้ เป็น 3.8% ห่วง เจรจาการค้าตึงเครียดมากขึ้นและความเชื่องโยงจากเศรษฐกิจสหรัฐ-จีนชะลอ กระทบไทย 0.5% แนะทางออกลดเหลื่อมล้ำ-ควบรวมโรงเรียนให้โอกาสเด็กรุ่นให้เข้าถึงคุณภาพการศึกษาและด้านสุขภาพ- หลังพบช่องว่างการเรียนรู้สูง 3.8-4%

S__63242246 นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก(เวิลด์แบงก์) ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ธนาคารโลกได้ปรับลดประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจไทย(จีดีพี) ในปี 2562 เป็น 3.8% จากเดิมคาดไว้ที่ 3.9% เพราะห่วงแรงต้านจากภายนอก โดยเฉพาะมาตรากีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐและจะตึงเครียดมากขึ้นซึ่งอาจกระทบการค้าโลกและภาคส่งออกของไทยจะขยายตัว 5% และความเชื่อมโยงจากเศรษฐกิจจีนและสหรัฐชะลอตัว 1.00% จะกระทบต่อเศรษฐกิจไทย 0.5%

"ปีนี้เราคาดการณ์จีดีพีโลกจะเติบโตได้ที่ 2.9% ขณะจีดีพีจีนที่ระดับ6%และสหรัฐนั้นมีความเสี่ยงชะลอตัวซึ่งต้องติดตาม ส่วนจีดีพีไทย 3.8% บนสมมติฐานไม่เกิดความวุ่นวายทางการเมือง โดยปี 63 จีดีพีไทยจะกลับมาเติบโตที่ 3.9% และมองจีดีพีไทยสิ้นปี 61 อยู่ที่ระดับ 4.1%"
สำหรับเศรษฐกิจไทยมีความยืดหยุ่นภายใต้แรงต้านจากภายนอก โดยเห็นจากการบริโภคและการลงทุนทั้งเอกชนและภาครัฐกระเตื้องและเสถียรภาพของไทยอยู่ในระดับ A+ โดยภาพรวม ปัจจัยพื้นฐานของไทยยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งทั้งทุนสำรองระหว่างประเทศมีสูง ดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในระดับ 8% อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ 1.00% อัตราแลกเปลี่ยนของไทยอยู่ในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบสกุลเงินต่างประเทศ

ด้านนโยบายการเงินยังสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ แม้ว่าที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เพิ่งปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 1.75% ต่อปี

นายเกียรติพงศ์ ยังแนะทางออกเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในไทยโดยเสนอว่า ในไทยโดยเสนอว่าประเทศไทยควรจะมีการรวมควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อให้เด็กรุ่นใหม่ได้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษามากขึ้นรวมถึงด้านสุขภาพพร้อมยกประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ที่ผ่านการควบรวมโรงเรียนเพื่อรวมบุคลากรครูเก่งๆและดีไว้ด้วยกันและรักษาคุณภาพการศึกษาได้ซึ้ง ประเทศไทยมีจุดแข็งที่งบประมาณสัดส่วนถึง 5 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ใกล้เคียงกับต่างประเทศจึงสามารถที่จะดำเนินนโยบายนี้ได้แต่ขึ้นอยู่กับความพร้อมของประชาชน ที่นี่ที่ผ่านมาธนาคารโลกรายงาน ดัชนีทุนมนุษย์ ซึ่งวัดระดับผลิตตะพาบของคนวัยทำงานรุ่นใหม่จากศักยภาพสูงสุดที่พึงได้รับด้านการศึกษาและการดูแลด้านสุขภาพพบว่าเด็กไทยมีโอกาสใช้ศักยภาพที่มีเพียง 60% โดยคาดว่าเด็กไทยก่อนอายุ 18 ปีจะศึกษาในโรงเรียนประมาณ 12.4 ปี แต่ผลที่ได้จากการศึกษา/เรียนรู้ที่แท้จริงเพียง 8.6 ปีเท่านั้นสะท้อนว่าเด็กไทยเสียโอกาส/มีช่องว่างในการเรียนรู้ 3.8-47% ปีโดยเฉพาะโรงเรียนต่างจังหวัดขาดโอกาสกว่าโรงเรียนในส่วนกลาง

[caption id="attachment_374628" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]