'จีน' สั่งประหารผู้ต้องหาค้ายาชาวแคนาดา ตอกย้ำ! สัมพันธ์ร้าวหลังคดี 'หัวเว่ย'

15 ม.ค. 2562 | 07:54 น.
นายโรเบิร์ท เลอลอยด์ เชลเลนเบิร์ก หนุ่มแคนาดา วัย 36 ปี ผู้ต้องหาลักลอบขนเมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) ซึ่งเป็นสารประกอบยาบ้า ที่ถูกจับที่ประเทศจีนในปี 2557 และถูกตัดสินจำคุก 15 ปี เมื่อเดือน พ.ย. 2561 ในข้อหาพยายามลักลอบขนยาเสพติดเมทแอมเฟตามีนราว 227 กิโลกรัม จากประเทศจีนไปยังออสเตรเลีย ได้ถูกศาลสูงเมืองต้าเหลียนนำคดีกลับมาพิจารณา หลังมีการยื่นอุทธรณ์ และพิพากษาให้เขาต้องโทษขั้นประหารชีวิตเมื่อวันที่ 14 ม.ค. ที่ผ่านมา

 

[caption id="attachment_374976" align="aligncenter" width="503"] โรเบิร์ท เลอลอยด์ เชลเลนเบิร์ก โรเบิร์ท เลอลอยด์ เชลเลนเบิร์ก[/caption]

คำตัดสินดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและแคนาดาเพิ่มความตึงเครียดยิ่งขึ้น โดยนายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ได้ออกมาประณามท่าทีของจีนในเรื่องนี้ หลายฝ่ายมองว่า เรื่องที่เกิดขึ้นทำให้ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและแคนาดาที่เพิ่งมีปัญหากันเมื่อเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว ยิ่งเพิ่มความร้าวฉาน โดยในครั้งนั้นแคนาดาให้ความร่วมมือกับสหรัฐอเมริกา จับกุมและดำเนินคดี นางเมิ่ง หวันโจว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ ยักษ์ใหญ่อุปกรณ์โทรคมนาคมของจีน และทำให้ทางการจีนต้องออกมาประนามและเรียกร้องให้แคนาดาปล่อยตัวผู้ต้องหาระดับวีไอพีคนดังกล่าว ซึ่งศาลแคนาดาก็ยอมให้มีการประกันตัวนางเมิ่งในเวลาต่อมา โดยเธอยังต้องสวมอุปกรณ์ติดตามตัวที่ข้อเท้าเพื่อป้องกันการหลบหนี ขณะเดียวกันก็มีความเคลื่อนไหวของรัฐบาลจีน ที่หลายฝ่ายมองว่า เป็นการตอบโต้กรณีที่แคนาดาจับกุมตัวผู้บริหารของหัวเว่ยอย่างแน่นอน นั่นคือ ภายในเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา ทางการจีนได้จับกุมพลเมืองแคนาดา 2 คน คือ นายไมเคิล โคฟริก อดีตนักการทูต และนายไมเคิล สเปเวอร์ นักธุรกิจ ในข้อหาเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของจีน

 

[caption id="attachment_374981" align="aligncenter" width="503"] เมิ่ง หวันโจว ผู้บริหารของบริษัท หัวเว่ยฯ ที่ถูกจับกุมตัวที่แคนาดาเมื่อเดือนธันวาคม 2561 เมิ่ง หวันโจว ผู้บริหารของบริษัท หัวเว่ยฯ ที่ถูกจับกุมตัวที่แคนาดาเมื่อเดือนธันวาคม 2561[/caption]

กรณีของนายเชลเลนเบิร์ก ซึ่งยังคงยืนกรานว่า เขาเป็นเพียงนักท่องเที่ยวและไม่ได้เป็นผู้ลักลอบขนยาเสพติดนั้น เขามีสิทธิ์ที่จะยื่นอุทธรณ์ภายใน 10 วัน ทางการจีนอนุญาตให้ผู้สื่อข่าวต่างประเทศเข้าฟังการพิพากษาในศาลได้ ทำให้นักวิเคราะห์มองว่า จีนตั้งใจให้เรื่องนี้เผยแพร่สู่สายตาชาวโลก และต้องการส่งสัญญาณต่อนานาประเทศ ว่า สำหรับจีน "กฎหมาย ก็คือ กฎหมาย" และไม่ว่าใคร (หรือประเทศใด) ก็ไม่สามารถกดดันจีนได้

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว

[caption id="attachment_373991" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]