"บินไทย" จอดทิ้ง 6 ปี ขายแล้วแอร์บัส 8 ลำ!!

14 ม.ค. 2562 | 13:00 น.
 

สุเมธ ดำรงชัยธรรม
นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ล่าสุด การบินไทยน่าจะสามารถขายเครื่องบินเก่าแอร์บัส เอ340-500 จำนวน 2 ลำ และแอร์บัสเอ 340-600 จำนวน 6 ลำ รวมทั้งหมด 8 ลำ ให้แก่ผู้ซื้อรายหนึ่งในเอเชีย ซึ่งยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ เพราะอยู่ระหว่างขั้นตอนในการขาย

แหล่งข่าวจาก บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมา การบินไทยได้พยายามขายเครื่องบินดังกล่าวมานาน ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยจะขายได้หลายครั้ง โดยมีบริษัทจากอิหร่าน บริษัทจากจีน แสดงความสนใจจะซื้อ แต่ท้ายสุดก็ขายไม่ได้ ทำให้เครื่องบินรุ่นดังกล่าวต้องจอดทิ้งอยู่ภายในสนามบินอู่ตะเภาและดอนเมืองมานานเป็นเวลากว่า 6 ปี ล่าสุด มีผู้ซื้อรายหนึ่งสนใจจะซื้อเครื่องบินทั้ง 2 รุ่นดังกล่าว รวม 8 ลำ แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการขายที่จะมีการลงนามเอ็มโอยูได้ภายในเดือนนี้ โดยเอ็มโอยูจะกำหนดให้ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินมัดจำ 70% ของมูลค่าเครื่องบินเก่านี้ แต่ยังไม่สามารถบอกราคาขายได้ เนื่องจากทางการบินไทยหวั่นว่า ถ้าครั้งนี้พลาดอีกจะเป็นการเปิดเผยราคาขายออกไป และผู้ซื้อต้องรับภาระการซ่อมบำรุงเพื่อให้เครื่องบินกลับมาทำการบินได้

 

[caption id="attachment_374628" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

ทั้งนี้ เครื่องบินรุ่นดังกล่าวถือว่าเป็นปัญหาที่ทำให้การบินไทยต้องมาภาระการลงบัญชีด้อยค่าเครื่องบินมาอย่างยาวนาน ซึ่งปัจจุบัน การบินไทยมีเครื่องบินเก่าทั้ง 2 รุ่นนี้ รวมกันทั้งหมด 9 ลำ หลังจากก่อนหน้านี้ได้ขายแอร์บัส เอ340-500 ให้กองทัพอากาศไปแล้ว 1 ลำ ในราคา 1,745 ล้านบาท 1 ลำ เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องบินวีไอพี สำหรับการให้บริการของผู้นำประเทศจากจำนวนเครื่องบินที่สั่งซื้อมาในยุครัฐบาลไทยรักไทยทักษิณ 1 เมื่อปี 2546 จำนวน 10 ลำ ได้แก่ เครื่องบินแอร์บัส เอ340-500 จำนวน 4 ลำ และแอร์บัส เอ340-600 จำนวน 6 ลำ มูลค่า 4.6 หมื่นล้านบาท

ส่วนการที่ต้องหยุดการให้ทำการบินในเครื่องรุ่นดังกล่าว ต้นเหตุมาจากการวางแผนที่ผิดพลาดซื้อเครื่องบินพิสัยไกลและใช้เชื้อเพลิงมาก เพราะมี 4 เครื่องยนต์ โดยเฉพาะเครื่องบินแอร์บัส เอ340-500 ซึ่งเป็นการสั่งซื้อเครื่องบินพิสัยไกลพิเศษ สำหรับทำการบินข้ามทวีปแบบไม่ต้องแวะพัก (Ultra Long Range) ระยะเวลาบิน 18 ชั่วโมง ซึ่งการบินไทยเคยนำมาทำการบินตรงในเส้นทางกรุงเทพฯ-นิวยอร์ก เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2548 และทำการบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-ลอสแองเจลีส เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ปีเดียวกัน เฉพาะเส้นทางบินตรง (นอนสต็อป) กรุงเทพฯ-นิวยอร์ก หลังจากเปิดบริการได้เพียง 3 ปี ตัวเลขการขาดทุนเส้นทางนี้ก็ทะลุไปถึง 7,000 ล้านบาท กระทั่งบอร์ดในอดีตต้องยกเลิกเส้นทางบินดังกล่าวไปเมื่อปี 2551

595959859

ทั้งเครื่องบินรุ่นดังกล่าวยังเป็นข่าวกรณีสินบนโรลส์รอยซ์ กรณีมีข่าวเจ้าหน้ารัฐมีการจ่ายค่านายหน้าเพื่อผลักดันให้การบินไทยซื้อเครื่องยนต์เทรนท์ 500 เป็นส่วนหนึ่งของแผนการจัดหาเครื่องบินแอร์บัส เอ340-500 จำนวน 4 ลำ และแอร์บัส เอ340-600 จำนวน 6 ลำ ในช่วงรัฐบาลไทยรักไทยทักษิณ 1 เมื่อปี 2546 ซึ่งอยู่ในแผนจัดหาเครื่องบินปี 2545-2547 จำนวน 39 ลำ มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาทด้วย

แหล่งข่าวยังกล่าวว่า ที่ผ่านมาการบินไทยต้องทยอยรับรู้ผลการขาดทุนจากการด้อยค่าเครื่องบินทุกปี ในระดับหมื่นล้านบาทไปจนถึงหลักพันล้านบาท ซึ่งจะลดขาดทุนของบริษัทและทำให้เครื่องบินขายได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ ในอดีตเคยมีผู้สนใจบางรายที่แสดงความสนใจที่จะเข้ามาซื้อแอร์บัส เอ340 ก็กดราคาขายเหลือเพียง 7 แสนดอลลาร์สหรัฐฯต่อลำ บางรายให้ราคาไม่เกิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อลำ ซึ่งตํ่ากว่าราคาบุ๊กแวลูที่อยู่ที่ราว 20 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อลำ

อนึ่ง "แอร์บัส เอ340 เปิดตัวครั้งแรกในปี 2545 มูลค่าลำละ 275 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การบินไทยก็ซื้อมาในราคาเฉลี่ยราว 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อลำ ปี 2552 มูลค่าลดลงเหลือ 153 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจุบัน มูลค่าของเครื่อง เอ340 อยู่ที่ไม่ถึง 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเครื่อง"

595959859