เจรจาล่ม! มะพร้าวปฎิเสธเงินจ่ายตรงฯ ยืนกราน 3 ข้อเรียกร้อง

14 ม.ค. 2562 | 11:15 น.
ชาวสวนมะพร้าวปฎิเสธเงินจ่ายตรงเยียวยา ยืนกราน 3 ข้อเรียกร้อง "ระงับนำเข้า-ใบกำกับการเคลื่อนย้าย-เข้มทุกด่านนำเข้า" แฉพาณิชย์ กำหนดแค่ 2 ด่านนำเข้า นอกนั้นไม่มีอำนาจจับกุม

ราคาสินค้าเกษตรสำคัญหลายรายการยังคงไม่สู้ดีนัก ทำให้รัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ดูแลการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ต้องชงมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรอยู่เป็นระยะ เช่น ข้าว ยางพารา แต่ก็ยังมีอีกหลายรายการราคายังไม่ดี เช่น มะพร้าว ที่เตรียมออกมาตรการช่วยเหลือ


DDE8A441-762A-46B4-AB87-69C38B555979

นายพงษ์ศักดิ์ บุตรรักษ์ ผู้ประสานงานกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว จ.ประจวบคีรีขันธ์ เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประสานงานผ่านจังหวัดให้เจรจา โดยเสนอเงื่อนไขจ่ายเงินเยียวยาสร้างความเข้มแข็งเลียนโมเดล 3 พืช (ข้าว/ยางพารา/ปาล์มน้ำมัน) อย่างไรก็ดี ผู้ปลูกมะพร้าวไม่ต้องการนำเงินภาษีมาจ่ายเยียวยา แต่ต้องการความยั่งยืน โดยหลักการที่เสนอไป อาทิ 1.ต้องสั่งระงับนำเข้าทันที เพื่อยกระดับราคาในประเทศขึ้น จากปัจจุบันมะพร้าวเหลือลูก 4-5 บาท 2.ต้องออกใบกำกับการเคลื่อนย้ายมะพร้าว ป้องกันมะพร้าวเถื่อน 3.ให้คุมเข้มทุกด่านท่าเทียบเรือ เป็นต้น


coconut-2675546_1920-503x389

อย่างไรก็ตาม ปรากฎว่า กระทรวงพาณิชย์ไปกำหนดแค่ 2 ด่านนำเข้า ได้แก่ ท่าเรือกรุงเทพฯ และท่าเรือแหลมฉบัง แทนที่ควรจะเข้มทุกด่าน โดยเฉพาะด่านที่ติดชายแดนระหว่างอินโดนีเซียกับมาเลเซีย เพราะหากขึ้นที่ด่านอื่น เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรแจ้งว่า ไม่มีอำนาจการตรวจหรือจับกุม จึงได้แนะนำให้กำหนดทุกด่าน


619290611

"ทางรัฐมนตรีเกษตรฯ แจ้งมาแล้วว่า ในวันที่ 18 ม.ค. จะลงมาพื้นที่มา จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเจรจาด้วยตนเอง ขณะที่ การนำเข้ามะพร้าวนอกโควตาต้องเสียภาษีในอัตรา 54% ก็จริง แต่ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอคืนภาษีได้ทั้งหมด ส่วนบทกำหนดโทษสำหรับผู้ที่นำเข้ามะพร้าวโดยไม่ผ่านด่านตรวจพืช ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โทษน้อยเกินไปหรือไม่"


611009 (22)

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เผยว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การส่งออกผลิตภัณฑ์มะพร้าวขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งในปีที่มีการนำเข้ามะพร้าวมากที่สุด คือ ปีที่ขาดแคลนมากที่สุด จากปัญหาโรคหนอนหัวดำ ทำให้ต้นมะพร้าวตาย แต่หลังจากนี้ หากแก้ปัญหาได้แล้ว มะพร้าวในประเทศมีเพียงพอทั้งการบริโภคและการส่งออกจริง เป็นเรื่องดีมาก เพราะผู้ผลิตเพื่อส่งออกไม่ต้องการยุ่งยากเรื่องการนำเข้า ขอให้แต่วัตถุดิบมีเพียงพอจริง ซึ่งข้อมูลทางราชการจะต้องชัดเจน!

 

[caption id="attachment_374628" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

ด้าน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รายงานข้อมูลในปี 2560 มีปริมาณการนำเข้ามะพร้าวมากขึ้น โดยการนำเข้ามะพร้าวผลแห้ง ปริมาณ 4.1 แสนตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ประมาณ 2.4 เท่า สำหรับการส่งออกกะทิสำเร็จรูปในปี 2560 ปริมาณ 2.42 แสนตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ประมาณ 1.2 เท่า ซึ่งจะเห็นได้ว่า ปริมาณการส่งออกกะทิสำเร็จรูปน้อยกว่าการนำเข้ามะพร้าวผลแห้ง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอาจจะมีสต็อกคงเหลืออยู่จำนวนมาก และมีการแปรสภาพเป็นเนื้อมะพร้าวขาวในตลาด ส่งผลกระทบทำให้ราคามะพร้าวผลที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มลดลง ในปี 2561 ผลผลิตมะพร้าวในช่วงเดือน พ.ย. ถึงเดือน ธ.ค. มีปริมาณไม่มาก ประกอบกับผู้ประกอบการมีสต็อกวัตถุดิบต่อเนื่องจากในปี 2560 ทำให้ราคามะพร้าวผลที่เกษตรกรขายได้ยังคงอยู่ในระดับต่ำ

595959859