ปชช. ชี้! "เลื่อนเลือกตั้ง" ทำบ้านเมืองขาดเสถียรภาพ กระทบ ศก. มอง "ข้อดี" ผู้สมัครมีเวลาเตรียมตัว

13 ม.ค. 2562 | 09:25 น.
จากกระแสข่าวการเลื่อนวันเลือกตั้งที่อาจไม่ใช่วันที่ 24 ก.พ. 2562 ตามเดิม ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง แต่ถึงอย่างไร หากจะเลื่อนหรือไม่เลื่อนเลือกตั้ง กกต. จะต้องจัดการให้มีการเลือกตั้งภายใน 150 วันนับตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค. 2561 ตามกรอบกฎหมายที่กำหนด เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,029 คน ระหว่างวันที่ 8-12 ม.ค. 2562 สรุปผลได้ ดังนี้


62-2947-400

1.ประชาชนคิดอย่างไร? กับการเลื่อนเลือกตั้ง อาจไม่ใช่วันที่ 24 ก.พ.

อันดับ 1 ขอให้ทุกคนทุกฝ่ายเห็นแก่ส่วนรวม ไม่สร้างความวุ่นวายให้บ้านเมือง 31.50%


อันดับ 2 กกต. ต้องประกาศวัน เวลา เลือกตั้งที่ชัดเจน 23.32%

อันดับ 3 ส่งผลกระทบกับรัฐบาลและ กกต. มีกระแสข่าวในทางลบ 20.11%

อันดับ 4 ถูกมองว่าเป็นการซื้อเวลา มีนัยยะแอบแฝง 17.96%

อันดับ 5 ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว ก็ต้องมีการเลือกตั้ง 15.68%


2."ข้อดี" ของการเลื่อนเลือกตั้ง คือ

อันดับ 1 ทั้งผู้สมัครและพรรคการเมืองมีเวลาเตรียมตัว ลงพื้นที่หาเสียงได้มากขึ้น 48.45%


อันดับ 2 กกต. มีเวลาเตรียมการต่าง ๆ เกี่ยวกับเลือกตั้งอย่างรอบคอบ รัดกุม 29.19%

อันดับ 3 ประชาชนมีเวลาในการตัดสินใจมากขึ้น 27.95%


3."ข้อเสีย" ของการเลื่อนเลือกตั้ง คือ

อันดับ 1 บ้านเมืองขาดเสถียรภาพ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ 49.17%

อันดับ 2 ทิศทางการเมืองไม่ชัดเจน อึมครึม เสียเวลา 44.97%

อันดับ 3 เกิดความขัดแย้ง ใส่ร้าย โจมตีทางการเมืองมากขึ้น 30.70%


4.เมื่อพิจารณาแล้ว ประชาชนคิดว่า การเลื่อนเลือกตั้งจะทำให้เกิดความคุ้มค่าหรือไม่?

อันดับ 1 ไม่คุ้มค่า 63.75%
เพราะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและเศรษฐกิจ การเมืองขาดเสถียรภาพ เสื่อมเสียภาพลักษณ์ เป็นประเด็นขัดแย้งทางการเมือง ฯลฯ

อันดับ 2 คุ้มค่า 36.25%
เพราะมีเวลาในการเตรียมพร้อม และพิจารณาดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างรอบคอบมากขึ้น จะได้ไม่เสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ ฯลฯ


โปรโมทแทรกอีบุ๊ก