“ อภิสิทธิ์ –พริษฐ์” ร่วมงานวันเด็ก ในเขตบางกะปิ ย้ำ 'ประชาธิปัตย์' ให้ความสำคัญการศึกษา เด็ก-เยาวชน

12 ม.ค. 2562 | 11:07 น.
“ อภิสิทธิ์ –พริษฐ์” ร่วมงานวันเด็ก ในเขตบางกะปิ ย้ำ 'ประชาธิปัตย์' ให้ความสำคัญการศึกษา เด็ก-เยาวชน12 ม.ค. 2562 ที่หมู่บ้านกิตตินิเวศน์ รามคำแหง 68 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมาร่วมกิจกรรมวันเด็ก พร้อมด้วยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้สมัคร ส.ส.เขตบางกะปิ-วังทองหลาง พรรคประชาธิปัตย์ บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก 1547290901982

โดยนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า วันเด็กแห่งชาติถือเป็นการยืนยันว่าประเทศของเราให้ความสำคัญกับเด็ก และ เยาวชน สิ่งสำคัญที่สุด คือ คุณภาพของคนในสังคม การลงทุนเรื่องอนาคต คือ การลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์ 1547290910283
ด้านนายพริษฐ์ กล่าวว่า ปัญหาที่ประเทศไทยกำลังเจอในขณะนี้ คือ ความเหลื่อมล้ำ เราเชื่อว่าการลดความเหลื่อมล้ำที่ยั่งยืนที่สุด คือการยกระดับให้เด็กไทยทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน และเติบโตขึ้นโดยมี 3 อย่างสำคัญ คือ 1. มีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมพรรคประชาธิปัตย์ จึงต้องลงทุนสำหรับเด็กแรกเกิดเป็นเบี้ยเด็กเข้มแข็ง เดือนละ 1,000 บาท 2. เด็กไทยในอนาคต มีทักษะที่นำไปใช้ในการทำงานได้ เช่น ทักษะภาษาอังกฤษ การคิดวิเคราะห์ นำเทคโนโลยีมาเข้ามาช่วยในการศึกษา และ 3.อยากเห็นเด็กไทยมีคุณธรรมจริยธรรม เคารพสิทธิและหน้าที่

นอกจากนี้ ยังต้องคิดว่าทำอย่างไรให้เด็กใช้เวลากับคุณครูได้มากที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ให้ความสำคัญกับนโยบายการศึกษามาโดยตลอด เช่น นโยบายเรียนฟรี 15 ปี แต่ยังมีอีกหลายอย่างที่เราอยากพัฒนาปรับปรุง เช่น เรียนปวส.ฟรี ควบคู่กับการพัฒนาหลักสูตรอาชีวะศึกษา โดยให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องการออกแบบหลักสูตร เพื่อพัฒนาทักษะแรงงานที่ตลาดต้องการ เข้ามารองรับว่าเมื่อจบจากอาชีวะแล้วมีงานทำแน่นอน เป็นต้น 1547290908344

นายอภิสิทธิ์ กล่าวเสริมว่า วันนี้โลกได้เปลี่ยนไป เมื่อก่อนการศึกษามีไว้เพื่อที่จะให้ความรู้คน แต่ปัจจุบันนี้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างง่ายดาย แต่ทักษะที่สำคัญกว่า คือ การนำเอา ความรู้ ข้อมูล เหล่านั้น มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ดังนั้นระบบการศึกษาทั้งระบบต้องปรับปรุงเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการเน้นไปที่ทักษะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปจนระดับอาชีวศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา ถือเป็นความท้าทายอย่างมาก และจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าเราไม่ร่วมกันส่งเสริม 2 อย่าง คือ 1. ส่งเสริมการกระจายอำนาจไปให้โรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนสามารถที่จะตัดสินใจได้ว่าจะใช้ทรัพยากรที่จัดสรรไปให้อย่างไร เพราะแต่ละพื้นที่จะทราบดีกว่าส่วนกลาง หรือ ทราบดีกว่ากระทรวงศึกษาธิการ ว่าสถานการศึกษานั้นต้องการที่จะพัฒนาทักษะในเรื่องใด

2. จะต้องดึงเอาฝ่ายต่างๆ ในสังคมเข้ามาช่วย เพราะลำพังแต่หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานราชการ หรือกระทรวงศึกษาธิการ ไม่สามารถที่จะทำได้ จึงจำเป็นต้องมี กองทุน 'Smart Education' เพื่อที่จะดึงคนที่อยากทำงานในด้านนี้ ทั้งที่อยู่ในภาคธุรกิจเอกชน วิสาหกิจเพื่อสังคม ภาคประชาชน ที่อยากจะสนับสนุนการศึกษา เพื่อให้บุคคลเหล่านี้เข้ามาร่วมงานในการพัฒนาการศึกษาด้วย โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-7