เทรนด์การตลาดออนไลน์ยุคใหม่ เมื่อใคร ๆ ก็เป็น "อินฟลูเอนเซอร์" ได้

12 ม.ค. 2562 | 06:31 น.
| รายงานพิเศษ : เทรนด์การตลาดออนไลน์ยุคใหม่ เมื่อใคร ๆ ก็เป็น "อินฟลูเอนเซอร์" ได้

| โดย วิมลวรรณ จันทะคาม

……………….


ข้อมูลจาก WE ARE SOCIAL & HOOTSUITE ระบุว่า คนไทยใช้เวลาอยู่บนอินเตอร์เน็ตเฉลี่ย 9.38 ชั่วโมงต่อวัน และ "กรุงเทพฯ" เป็นเมืองที่ใช้ Facebook มากที่สุดในโลก ถึง 22 ล้านคน จากตัวเลขดังกล่าวสะท้อนความนิยมของประชาชนไทยที่มีต่อการใช้งาน "อินเตอร์เน็ต" และ "เฟซบุ๊ก" ส่งผลให้การตลาดแบบออนไลน์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และจากตัวเลขดังกล่าวทำให้ "วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล" (CMMU) จึงได้จัดสัมมนาการตลาด "Such Seed Marketing : 2019 Influencer ครองเมือง" ขึ้น ด้วยหวังสร้างความเข้าใจและสะท้อนถึงแนวทางการตลาดยุคใหม่กับการใช้ "อินฟลูเอนเซอร์"



ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)


➣ "อินฟลูเอนเซอร์" ยังแรง

ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ให้ทรรศนะเกี่ยวกับเทรนด์การตลาดออนไลน์ในยุคนี้ ว่า ประเทศไทยขึ้นแท่นประเทศที่มีค่าเฉลี่ยการใช้อินเตอร์เน็ต ดิจิตอลไซต์ และโซเชียลมีเดียสูงที่สุดของโลก ส่งผลให้ทุกธุรกิจเผชิญความท้าทายและต้องเร่งปรับกลยุทธ์การตลาดให้เท่าทันไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น จากข้อมูลงานวิจัยการตลาดกับกลุ่มผู้บริโภค จำนวน 1,031 คน พบว่า ประชาชนจำนวน 92.8% สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ซึ่งจากข้อมูลพฤติกรรมประชาชนที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการดำเนินธุรกิจ โดยเน้นให้นํ้าหนักกับการตลาดออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตลาดออนไลน์ด้วยผู้มีอิทธิพลบนโลกโซเชียล หรือ อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer Marketing)


mp30-3435-a

ทั้งนี้ คาดว่า กลุ่มไมโครอินฟลูเอนเซอร์ (Micro Influencer) ที่มียอดผู้ติดตามระหว่าง 1 หมื่น - 1 แสนคน จะมีแนวโน้มทรงอิทธิพลและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค โดยในปี 2562 เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มักมีลักษณะพิเศษ คือ มีความถนัดเฉพาะด้าน มีชื่อเสียงเฉพาะกลุ่ม และเป็นตัวของตัวเอง ทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และมักจะได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภคที่มากกว่า


ผลกระทบจากการเข้ามาของโซเยลมีเดีย (2)

"การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ขึ้นท็อปเทรนด์การตลาดน่าจับตา เนื่องจากไม่เพียงสร้างการรับรู้และเข้าถึงผู้บริโภคผ่านการรีวิวแล้ว กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ยังสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค และโน้มน้าวสู่การตัดสินใจซื้อในท้ายที่สุด โดย 5 วงการอินฟลูเอนเซอร์ที่ประชาชนมักพบเห็นการรีวิวมากที่สุดบนโลกโซเชียล ได้แก่ วงการท่องเที่ยว วงการอาหาร วงการแฟชั่นและความสวยความงาม วงการสุขภาพ และวงการการเงินและการลงทุน (ตามลำดับ)"


5 สินค้าที่ผู้บริโภคมักซื้อตาม หลังจากเห็นการรีวิว



➣ เทรนด์ตลาดออนไลน์

ขณะที่ แนวโน้มในปีนี้เชื่อว่า ทิศทางของการใช้ "อินฟลูเอนเซอร์" จะเปลี่ยนเป็น "กลุ่มไมโครอินฟลูเอนเซอร์" (Micro Influencer) ที่มียอดผู้ติดตามระหว่าง 10,000-100,000 คน มีแนวโน้มทรงอิทธิพลและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มักมีลักษณะพิเศษ คือ มีความถนัดเฉพาะด้าน มีชื่อเสียงเฉพาะกลุ่ม และเป็นตัวของตัวเอง ทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ตรงกลุ่มเป้าหมายและมักจะได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภคที่มากกว่า

 

[caption id="attachment_372583" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน อินฟลูเอนเซอร์ถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.แมส ได้แก่ บุคคลสาธารณะ คนรู้จักในวงกว้าง มีผู้ติดตาม 1 ล้านคนขึ้นไป 2.แม็กโครอินฟลูเอนเซอร์ คือ มีผู้ติดตามหลัก 1 แสนคนขึ้นไป เช่น บล็อกเกอร์ แฟนเพจ 3.ไมโครอินฟลูเอนเซอร์ ผู้ติดตามกว่า 1 หมื่นคน และ 4.มินิอินฟลูเอนเซอร์ ผู้ติดตาม 1,000 คนขึ้นไป ซึ่งไม่จำเป็นที่รู้จักก็ได้ แต่ต้องน่าเชื่อถือ สำหรับสเต็ปการใช้งานของอินฟลูเอนเซอร์มีทั้งหมด 3 ช. เรื่องแรก คือ "ชอบ" เพราะยุคนี้ผู้บริโภคไม่เชื่อแบรนด์อีกแล้ว และมีข้อมูลเต็มหัว แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะไปเชื่อกับคนที่พวกเขาชื่นชอบนั้น คือ "อินฟลูเอนเซอร์"




รีวิวคอนเทนท์ในปัจจุบัน (1)
หน้า 30 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3435 ระหว่างวันที่ 13 - 16 มกราคม 2562

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว