แบรนด์และวัฒนธรรมองค์กรแบบไหน ไม่ถ่วงความเจริญองค์กร

12 ม.ค. 2562 | 08:15 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

แบรนด์ (Brand) และวัฒนธรรมองค์กร (Culture) ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ในการตัดสินใจเลือกเข้าร่วมงานของคนรุ่นใหม่ ซึ่งทั้งแบรนด์ และวัฒนธรรมองค์กร ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR)สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ ด้วยความร่วมมือกับผู้บริหารสูงสุด แต่การจะสร้างวัฒนธรรมองค์กรและแบรนด์จะออกมาเป็นอย่างไร จึงจะโดนใจคนรุ่นใหม่ ลองดูตัวอย่างของ Line ประเทศไทยองค์กรที่เด็กยุคใหม่ใฝ่ฝันเข้าร่วมงาน

การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ของ Line ประเทศไทย เกิดจากการทำ Culture Workshop ซึ่งเป็นการสกัดวัฒนธรรมองค์กร ออกมาจากพนักงานทุกคน เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงและรับรู้ว่า วัฒนธรรมที่เกิดขึ้น มาจากพนักงานทุกคนที่อยู่ตรงนั้น จนได้วัฒนธรรมองค์กรที่ยึดหลัก 4 ประการสำคัญ คือ 1. Impact การทำงานหรือคิดโปรดกัส์แต่ ละอย่างออกมา ต้องคำนึงถึงผู้ใช้งานของ Line ทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันมีอยู่กว่า 44 ล้านคน 2. Professionalism คือความเป็นมืออาชีพ 3. Ownership หรือความเป็นเจ้าของ ไม่ใช่แบ่งว่างานใครงานมัน แต่ทุกคนมีโอกาสนำเสนองาน และช่วยกันคิดได้ไม่ว่าจะอยู่ในฝ่ายใด และ 4. Collaboration ความร่วมมือซึ่งกันและกัน

Line มีกิจกรรมที่ทำให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วม และแลกเปลี่ยนความคิด เพื่อสร้างความใกล้ชิด เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อาทิ Freshy Day คือ ให้พนักงานใหม่พบกับ MD มีการเล่นเกมเพื่อเสริมสร้างทีมเวิร์ค รวมถึงให้ไปเป็นบาริสต้าที่ร้านกาแฟ ไลน์คาเฟ่ เพื่อทำความรู้จักคุ้นเคยกับเพื่อนร่วมงานในบริษัท นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม Town Hall และ Sport Day และอีกหลายๆกิจกรรม

ส่วนเรื่องของ Branding ที่สำคัญ แสดงถึงความเป็น Line ที่ชัดเจน มีทั้งหมด 7 อย่าง ซึ่งเหมือนกันในทุกประเทศ คือ 1. MegaBrown คือ ตุ๊กตาหมีบราวน์ตัวใหญ่ 2. Mission Statement ทุกภาษา 3. World Clock 4. ตัวหนังสือ Line Brand

5. ไลน์คาเฟ่ บริเวณ Waiting Area 6. ระบบจองห้องประชุมใช้ได้เหมื อนกันทั่วโลก และ 7.  Informal Space เช่น โรงอาหาร โซนเกมส์ ห้องปั๊มนม ห้องนอน ห้องนวด และอื่นๆ

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก ด้วยความที่ Line เป็นองค์กรของคนรุ่นใหม่ และด้วยตัวธุรกิจเอง ก็ยังถือว่าใหม่มากสำหรับคนไทย แต่หากเดินเข้าไปในองค์กรแห่งนี้ หรือได้สัมผัสกับคนของ Line แล้ว สิ่งที่ทำให้รู้สึกได้ว่านี่คือ Line คาแรคเตอร์ ก็คือ เรื่องของ Innovation เรียกว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เลยทีเดียว การคิดหานวัตกรรมที่แตกต่างน่ าสนใจ เพราะมันคือหัวใจของธุรกิจอย่าง Line เลยทีเดียว ซึ่งรวมไปถึง Tech Savvy ความทันโลก ทันเทคโนโลยีใหม่ๆ ต้องสนใจและติดตามความเป็นไปของเทคโนโลยี

อีกสิ่งหนึ่งคือ Risk Taking ซึ่งถือเป็นคาแรคเตอร์ของสตาร์ ทอัพเลยก็ว่าได้ การกล้าทดลองการกล้าลงมือทำ พร้อมที่จะผิดพลาด กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง กล้าลองผิดลองถูก และลุกขึ้นมาทดลองทำใหม่ได้ ตลอดเวลา ผิดเร็วแก้เร็ว โดยนำ Passion มาเป็นตัวปลกุกเร้าให้ทุกอย่างเดินหน้าไปให้ทันต่อความต้องการของโลกยุคใหม่

ทั้งหมดนั่นคือ หนึ่งตัวอย่างขององค์กรที่ คนทำงานรุ่นใหม่สนใจ...แล้ววัฒนธรรมองค์กร แบบไหนล่ะ คนที่ทำงานยุคนี้ไม่ปลื้ม และยังส่งผลให้องค์กรก้าวต่ อไปในโลกอนาคตไม่ได้อีกแล้ว

1."ประนีประนอม" หยวนไปซะทุกอย่าง ใช่ การประนีประนอมเป็นเรื่องที่ดี ลดความขัดแย้ง แต่ในขณะเดียวหัน หากใช้ไม่ถูกที่ถูกเวลา ก็กลายเป็นสร้างให้คนทำผิด หรือคนที่ไม่มีความสามารถคงอยู่ ถ่วงความเจริญในองค์กร ทำให้คนในองค์กรที่มี ความสามารถเกิดความเบื่อหน่าย 2. "รับฟังคำสั่ง" อันนี้ถือเป็นการทำงานแบบองค์กรรุ่นเก่าๆ ที่ลูกน้องไม่คิด ไม่รู้จักตัดสินใจเอง คอยรับฟังคำสั่งจากหัวหน้าอย่างเดียว แทนที่จะช่วยกันคิดช่วยกันพัฒนา ซึ่งหากมีพนักงานแบบนี้เยอะๆ ในองค์กร ก็นับถอยหลังรอวันปิดบริษัทได้เลย

3."ระบบอาวุโส" นี่เป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมองค์กร ที่หากใช้ไม่ถูกต้อง ก็ทำให้คนรุ่นใหม่ยุคมิลลิเนี่ ยลไม่ สามารถแสดงความสามารถออกมาได้ 4."การแข่งขัน" จริงๆ เรื่องนี้ถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้ามีมากเกินไป หรือนำไปใช้ในจุดที่ผิด มันจะทำให้การแข่งขันไม่เป็นไปในทางสร้างสรรค์ แต่จะกลายเป็นการฟาดฟันกันเองในองค์กร จ้องจับผิดซึ่งกันและกัน และสุดท้าย คือ 5."การแบ่งพรรคแบ่งพวก" การแยกตัวชัดเจน แบ่งเป็นกลุ่มเป็นก้อน ทำให้การทำงานทีมเวิร์คไม่มี ประสิทธิภาพ และนำมาซึ่งความเสียหายขององค์กร

ผู้นำ ถือเป็นบุคคลสำคัญที่จะหล่อหลอมให้ "แบรนด์และวัฒนธรรมองค์กร" ออกมาเป็นอย่างไรเอชอาร์เป็นผู้ทำหน้าที่สนับสนุน และผลักดันให้เกิด หากเลือกสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ ผิดนอกจากจะเป็นองค์กรที่ไม่มี ใครอยากร่วมงานด้วยแล้ว องค์กรเองก็ไปไม่รอดด้วยเช่นกัน

หน้า 22-23 ฉบับที่ 3,434 วันที่ 10 - 12 มกราคม พ.ศ. 2562

595959859