'กรุงเทพฯ' ติด TOP10 เมืองสุดยอดจุดหมายปลายทาง "อาหาร-ช็อปปิ้ง"

10 ม.ค. 2562 | 10:45 น.
'มาสเตอร์การ์ด' เผยผลสำรวจเมืองสุดยอดจุดหมายปลายทางด้านอาหารและการช็อปปิ้ง 'กรุงเทพฯ' ติดอันดับต้น ๆ ของเมืองที่มีการใช้จ่ายด้านอาหารและการช็อปปิ้งมากที่สุด

ผลสำรวจสุดยอดเมืองจุดหมายปลายทางโลกของ 'มาสเตอร์การ์ด' ด้านการใช้จ่ายทางด้านอาหารและการช็อปปิ้ง (GDCI : Indulgences) ของนักท่องเที่ยวในเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก พบว่า กรุงเทพฯ ติดอันดับที่ 3 ของเมืองที่มีการใช้จ่ายด้านอาหารมากที่สุด รองจากเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, เมืองปัลมา แห่งเกาะมายอร์กา ในประเทศสเปน (ตามลำดับ) และติดอันดับที่ 6 ของเมืองที่มีการใช้จ่ายด้านการช็อปปิ้งมากที่สุดอีกด้วย

ผลสำรวจ GDCI : Indulgences นี้ เป็นส่วนหนึ่งของผลสำรวจเมืองสุดยอดจุดหมายปลายทางของโลกของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Global Destination Cities Index – GDCI) เพื่อจัดอันดับเมืองที่นักท่องเที่ยวเข้ามาพักแรมและจับจ่ายใช้สอยในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา โดยผลสำรวจในปี 2561 ระบุว่า กรุงเทพฯ คือ เมืองสุดยอดจุดหมายปลายทางอันดับ 1 ของโลก ต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 3 โดยมีภูเก็ตและพัทยาติดอยู่ใน 20 อันดับแรก คือ อันดับที่ 12 และ 18 (ตามลำดับ) ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่มีเมืองติดอันดับสูงสุด 20 อันดับแรก ถึง 3 เมือง

ผลสำรวจสุดยอดเมืองจุดหมายปลายทางโลกของมาสเตอร์การ์ด ด้านการใช้จ่ายทางด้านอาหารและการช็อปปิ้ง (GDCI : Indulgences) ของนักท่องเที่ยวในเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกนี้ ไม่ได้เผยแค่ตัวเลขการจับจ่ายใช้สอยเท่านั้น แต่ยังชี้ให้เห็นถึงนัยยะสำคัญทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่ายดังกล่าวอีกด้วย

สุดยอดเมืองจุดหมายปลายทางของโลกในด้านอาหารและเครื่องดื่ม

กรุงเทพฯ
เมืองที่ขึ้นชื่อด้านอาหารและวัฒนธรรม ติดอยู่ในอันดับที่ 3 ของเมืองที่มีการใช้จ่ายด้านอาหารมากที่สุด โดยนักท่องเที่ยวจับจ่ายไปราว 108,000 ล้านบาท (3,380 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) หรือคิดเป็น 20.6 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด, เมืองปัลมา แห่งเกาะมายอร์กา ในประเทศสเปน ครองอันดับที่ 2 ด้วยจำนวนเงิน 121,000 ล้านบาท (3,780 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ตามหลังอันดับ 1 อย่าง ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่มีการใช้จ่ายราว 190,000 ล้านบาท (5,940 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

สิงคโปร์และลอนดอนก็ติดอยู่ใน 10 อันดับแรกในด้านการใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มเช่นเดียวกัน แต่ไม่ถือว่าโดดเด่น เมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ของการใช้จ่ายทั้งหมด คือ 12.9% และ 17.6% (ตามลำดับ)


Screen Shot 2562-01-10 at 17.32.16

สุดยอดเมืองจุดหมายปลายทางของโลกในด้านการช็อปปิ้ง

ผลสำรวจนี้ ยังเผยอีกว่า นักท่องเที่ยวใช้เงินจำนวนมากไปกับการช็อปปิ้งในเมืองดูไบและลอนดอน ไม่ว่าจะเป็น การซื้อเสื้อผ้า ของฝาก หรือ สินค้าอื่น ๆ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ไปเยือนลอนดอน โซล และโจฮันเนสเบิร์กนั้น อาจจะต้องเตรียมกระเป๋าใบใหญ่ขึ้น เนื่องจากใช้จ่ายไปกับการซื้อสินค้าต่าง ๆ สูงกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายทั้งหมด

กรุงเทพฯ เองก็ถือว่าเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงทางด้านการช็อปปิ้ง โดยครองอันดับที่ 6 โดยนักท่องเที่ยวใช้จ่ายราว 120,000 ล้านบาท (3,750 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) คิดเป็น 23 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด


Screen Shot 2562-01-10 at 17.33.53

จากข้อมูลข้างต้น 8 จาก 10 อันดับแรกของเมืองที่ขึ้นชื่อด้านอาหาร และ 7 จาก 10 อันดับแรกของเมืองที่ขึ้นชื่อด้านช็อปปิ้งนั้น ยังเป็นส่วนหนึ่งของ Mastercard Priceless Cities ที่นักท่องเที่ยวจาก 90 ประเทศ สามารถสัมผัสประสบการณ์อันเป็นเอกลักษณ์และน่าจดจำในเมืองกว่า 40 เมืองทั่วโลก

"การรับประทานอาหารและการช็อปปิ้งถือเป็นสิ่งที่ผู้คนทั่วโลกใช้เพื่อเข้าถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี และประวัติศาสตร์ และมาสเตอร์การ์ดได้สร้างเสริมประสบการณ์ในเมืองที่น่าตื่นตาตื่นใจให้กับนักท่องเที่ยวผ่านโปรแกรม Priceless Cities รวมไปถึงกรุงเทพฯ ที่ไม่ว่าจะเป็น การพักผ่อนในโรงแรมบูทีค หรือ ลองชิมอาหารขึ้นชื่อของประเทศไทย มาสเตอร์การ์ดเชื่อมั่นว่า การเปิดประสบการณ์สู่สิ่งใหม่ ๆ จะสร้างความทรงจำที่น่าประทับใจให้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก" มร.โดนัลด์ ออง ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและเมียนมาของมาสเตอร์การ์ด กล่าว

มาสเตอร์การ์ดมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ผู้ถือบัตรได้ท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ อย่างสะดวกสบาย ราบรื่นและไร้กังวล โดยมีร้านค้าหลายล้านแห่งในเมืองจุดหมายปลายทางทั่วโลกที่รับชำระค่าบริการผ่านบัตรมาสเตอร์การ์ด พร้อมทั้งข้อเสนอสุดพิเศษเพื่อช่วยให้ทุกการเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่น ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ที่ mastercard.com

เกี่ยวกับดัชนีผลสำรวจสุดยอดเมืองจุดหมายปลายทางของโลกโดยมาสเตอร์การ์ด

ดัชนีมาสเตอร์การ์ดสำหรับเมืองจุดหมายปลายทางของโลก เป็นการจัดลำดับเมืองต่าง ๆ โดยวัดจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีการพักค้างคืนทั้งหมด รวมถึงการใช้จ่ายข้ามพรมแดนในเมืองจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวกลุ่มเดียวกันนี้ ในปี 2560 พร้อมคาดการณ์ถึงจำนวนนักท่องเที่ยวและอัตราการเติบโตที่จะเกิดขึ้นในปี 2561

การวิเคราะห์ข้อมูลด้านนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีการพักค้างคืน ตลอดจนข้อมูลด้านการใช้จ่ายข้ามพรมแดนของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ในเมืองจุดหมายปลายทางทั้ง 162 แห่ง เป็นการอ้างอิงมาจากข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ

การคาดการณ์นี้อ้างอิงจากพยากรณ์การท่องเที่ยวของแต่ละประเทศและนำข้อมูลที่ได้มาถ่วงน้ำหนักเพื่อหาค่าเฉลี่ย ร่วมกับข้อมูลจริงที่รวบรวมได้ในแต่ละเดือนจากเมืองต่าง ๆ ในปี 2561 ซึ่งจะเป็นข้อมูลถึงเดือนล่าสุดก่อนเดือนที่มีการออกรายงาน

ดัชนีและรายงานที่มาพร้อมกันนี้มิได้อ้างอิงจากยอดขายหรือข้อมูลทางธุรกรรมของมาสเตอร์การ์ด


บาร์ไลน์ฐาน