ข้าพระบาท ทาสประชาชน : ทางออกของประชาชน กรณีสะพานข้ามคลองพระโขนง

09 ม.ค. 2562 | 14:02 น.
สะพาน S__6799383-503x377 ผู้เขียนได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับกรณี “สะพานข้ามคลองพระโขนง” ของ บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) ที่ กทม.เป็นผู้อนุญาตให้ก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาที่ดินในโครงการ T77 ที่เมื่อสร้างเสร็จกลับไม่ได้ยกให้เป็นของสาธารณะ ทั้งตัวสะพานและทางขึ้นลงเพื่อเชื่อมถึงทางสาธารณะ เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนโดยทั่วไป ตามที่ควรจะเป็น แต่บริษัทได้แสดงความเป็นเจ้าของสะพานแต่ผู้เดียว ทั้งมีการเก็บเงินสำหรับรถยนต์ และจักรยานยนต์ ที่ผ่านทางคันละ 20 บาท และ 10 บาท ดังรายละเอียดที่ได้เสนอต่อผู้อ่าน

ซึ่งบทความทั้ง 2 ตอนได้รับความสนใจจากผู้อ่านและประชาชนจำนวนมาก โดยมีผู้เข้ามาอ่านไม่น้อยกว่า 50,000 ครั้ง และแชร์ต่ออีกไม่น้อยกว่า 5,000 ครั้ง แต่ก็ยังไม่ปรากฏว่า กทม.และบริษัทเอกชนดังกล่าว จะมีท่าทีและะปฏิกิริยาที่ดี หรือมีแนวทางที่จะดำเนินการมอบสะพานและทางขึ้นลงให้เป็นสาธารณะแก่ประชาชนแต่อย่างใด

อ่าน | ข้าพระบาท ทาสประชาชน : กทม.อย่าเอาสมบัติแผ่นดิน เอื้อประโยชน์เอกชน 
อ่าน | ข้าพระบาท ทาสประชาชน : ทำไมบริษัทแสนสิริ จึงไม่ยกสะพานและทางขึ้นลงให้สาธารณะ 

ผู้เขียนได้รับความเห็นและเสียงสะท้อนจากผู้อ่านจำนวนมาก ทั้งที่เห็นด้วย ชื่นชมและให้กำลังใจ แต่บางส่วนก็โต้แย้งไม่เห็นด้วย อยากได้ถนนและสะพานเป็นประโยชน์ส่วนตน แต่ส่วนมากที่สุดเห็นว่าควรเป็นของสาธารณะที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน และมีคำถามจำนวนมากคือ ประชาชนจะดำเนินการกับ กทม.และบริษัทเอกชนอย่างไร เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมาย เพื่อประโยชน์สาธารณะ

ด้วยเหตุดังกล่าว เมื่อผู้เขียนเป็นผู้นำเสนอปัญหาต่อสังคม ก็มีความจำเป็นต้องเสนอทางแก้ไขหรือ ทางออกของปัญหาดังกล่าว ต่อประชาชนผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีสิทธิมีส่วนได้เสีย เพื่อสิทธิประโยชน์โดยชอบ บทความนี้จึงขอพูดถึงเรื่องนี้อีกครั้ง เพื่อความครบถ้วนในการทำหน้าที่ต่อสังคม
S__6799381-503x377 เมื่อพิจารณาเรื่องนี้ ผู้เขียนขอเรียนว่า ได้พิจารณาเรื่องนี้บนพื้นฐานของความถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย เพื่อความยุติธรรมและเพื่อประโยชน์สาธารณะ มิได้มีอคติใดๆ ต่อบริษัทเอกชน หรือ กทม. ตรงกันข้ามผู้เขียนมีความปรารถนาดี โดยคาดหวังว่าท่านเหล่านั้น จะได้แก้ไขเสียให้ถูกต้อง อันจะเป็นประโยชน์กับตนเองและกิจการของบริษัท มากยิ่งกว่าที่จะปล่อยให้สะพานแห่งนี้ เป็นสะพานที่ประจานตนเองต่อสาธารณชน ตลอดเวลาที่สะพานนี้ยังคงอยู่

ทางออกของเรื่องนี้ หาก กทม.และบริษัทเอกชน ไม่ดำเนินการแก้ไขประชาชนผู้มีส่วนได้เสียหรือได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อน หรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชนผู้นั้นก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ ซึ่งคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ หรือคำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจาก

- กระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

- กระทำโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น

- กระทำโดยไม่สุจริต และกระทำเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ เหล่านี้อยู่ในลักษณะที่ประชาชน สามารถฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้

[caption id="attachment_372206" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

กรณีทำนองนี้ เคยมีคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.926/2555 ได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐาน ซึ่งผู้เขียนขอคัดย่อมาเพื่อผู้อ่านได้พิจารณาดังนี้ “แม้ผู้ฟ้องคดี (หน่วยงานปกครองท้องถิ่น) จะมีอำนาจหน้าที่ในการจัดให้มีและบำรุงรักษาทางนํ้าและทางบกตามมาตรา 67 (1) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และเป็นกรณีที่ดำเนินการตามมติของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลก็ตาม แต่กรณีมีมติอนุมัติดังกล่าวเป็นเพียงการอนุมัติงบประมาณเท่านั้น ในส่วนขั้นตอนการก่อสร้าง ยังต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านนํ้าไทย พ.ศ.2456 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่อาจดำเนินการให้ขัดกับกฎหมายดังกล่าวได้

ดังนั้นหน่วยงานแต่ละแห่งย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ภายในกรอบอำนาจหน้าที่ของตน กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ จึงไม่มีความขัดแย้งกัน และถึงแม้ประชาชนจะไม่ได้ใช้การสัญจรทางนํ้าในลำคลองแล้ว และการก่อสร้างสะพานในลำคลองจะไม่กีดขวางทางสัญจรทางนํ้าก็ตาม แต่ลำคลองยังถือเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือทางนํ้าที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามมาตรา 1304 (2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีอำนาจนำเหตุดังกล่าวมาอ้างเพื่อไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านนํ้าไทย พ.ศ.2456 ได้
S__6799385-503x377 S__6799387-503x377 คำสั่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนสะพานทางเดินเท้าจึงชอบด้วยกฎหมาย

นี่ขนาดเป็นคลองที่แม้ประชาชนอาจไม่ได้ใช้สัญจร ศาลยังถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แล้วคลองพระโขนงซึ่งเป็นลำคลองใหญ่ ประชาชนใช้สัญจรไปมาประจำเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องที่ กทม.พึงรับฟังเป็นอุทาหรณ์ เพราะคำพิพากษานี้ ย่อมเป็นบรรทัดฐานที่ดีในการปฏิบัติราชการ ในการใช้อำนาจดำเนินการใดๆ ต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะหรือส่วนรวมเป็นสำคัญ ต้องไม่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ

นอกจากนี้ในการสร้างสะพานข้ามคลองสาธารณะ ซึ่งเป็นคลองขนาด ใหญ่ มีประชาชนใช้สัญจรไปมา และมีผู้อยู่อาศัยตลอดสองฝั่งคลองเช่นนี้ โดยระเบียบของกรมโยธาธิการหรือกรมชลประทาน ยังมีเรื่องที่ผู้ขออนุญาตต้องได้รับความยินยอมจากผู้อยู่อาศัยทั้งหมดทุกรายด้วย และยังต้องทำรายงานการศึกษาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วย จึงมีปัญหาว่าสะพานแห่งนี้ ได้ดำเนินการเพื่ออนุญาตให้ก่อสร้างโดยถูกต้อง ตามระเบียบ กฎหมาย และขั้นตอนการปฏิบัติราชการที่ดีหรือไม่

ดังนั้น หากประชาชนที่ประสงค์จะใช้สิทธิทางศาล อันเป็นทางออกและที่พึ่งสุดท้ายแห่งความยุติธรรมสำหรับประชาชนแล้ว ย่อมเป็นทางเลือกทางออกที่ชอบ เป็นเรื่องที่ประชาชนทั้งหลาย ต้องร่วมกันรักษาสมบัติของแผ่นดิน ภายใต้อำนาจตามกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
S__6823977-377x503 S__6823978-377x503

|คอลัมน์ : ข้าพระบาท ทาสประชาชน
| โดย : ประพันธุ์ คูณมี
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3434 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 10-12 ม.ค.2562
เพิ่มเพื่อน
595959859