หอฯใต้คาด‘ปาบึก’ทำพัง 5 พันล้าน รัฐเร่งมาตรการฟื้นธุรกิจ

10 ม.ค. 2562 | 03:48 น.
รายงานพิเศษ : โต๊ะข่าวภูมิภาค

พายุโซนร้อนปาบึกเคลื่อนขึ้นฝั่งที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ 12.45 น. วันศุกร์ที่ 4 มกราคม 2562 แล้วลดระดับเป็นพายุดีเปรสชั่น และเคลื่อนตัวข้ามคาบสมุทรออกทะเลอันดามัน
เมื่อเวลา 09.00 น. วันรุ่งขึ้นสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ท่ามกลางการเฝ้าติดตามและระวังภัยใกล้ชิด

20190106155419594

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปภาพรวมความเสียหายเบื้องต้นว่า อิทธิพลพายุปาบึก กระทบใน 8 จังหวัดภาคใต้ มีการอพยพประชาชน 34,089 คน มีบ้านเรือนเสียหาย 1,922 หลัง อยู่ระหว่างสำรวจเพิ่มเติม โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่เสียหายมากที่สุด ครอบคลุมทั้งจังหวัดจำนวน 16 อำเภอ บ้านเรือนราษฎร สิ่งก่อสร้าง ต้นไม้ เสาไฟฟ้าล้มเสียหายจำนวนมาก ถนนเส้นทางหลายสายถูกต้นไม้ล้มทับเสียหาย ส่วนพื้นที่การ เกษตรเสียหายเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะสวนยางพารา สวนปาล์ม สวนผลไม้ สวนทุเรียน สวนส้มโอ อยู่ระหว่างสำรวจเช่นกัน

นายธีระพล ชลิศราพงศ์ ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จากการหารือหอการค้าภาคใต้ ความเสียหายจากพายุปาบึก เฉพาะในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม คาดว่าจะมีมากกว่า 5,000 ล้านบาท โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบมากที่สุดและชัดเจนที่สุด

โดยมีการยกเลิกทริปทัวร์ต่างๆ การปิดให้บริการระบบคมนาคมขนส่ง อาทิ ปิดสนามบินในพื้นที่เสี่ยง หยุดการเดินรถทัวร์ รถไฟ ทำให้นักท่องเที่ยวยกเลิกแผนการท่องเที่ยวในภาคใต้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งการค้าที่จะชะงักซบเซาลงอีก เนื่องจากประชาชนผู้ประสบภัยประสบความเสียหายทั้งทรัพย์สิน พื้นที่ทางการเกษตรเสียหาย

Print

ในส่วนของการค้าชายแดนก็เช่นกัน การหยุดการเดินเรือและสภาพอากาศที่แปรปรวน เป็นตัวการสำคัญที่ฉุดตัวเลขการค้าชายแดนให้ลดลง ซํ้าเติมปัจจัยลบทางเศรษฐกิจเดิม ทั้งการค้าที่ชะลอตามการค้าโลก ปัญหาความผันผวนของค่าเงินจ๊าต ทั้งหมดเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลให้การค้าชายแดนปรับตัวลดลงทั้งการนำเข้าและส่งออก

ด้านธนาคารของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งออกมาตรการช่วยเหลือฉุกเฉินบรรเทาผลกระทบ ส่วนใหญ่เป็นการพักชำระหนี้ทั้งเงินหรือดอกเบี้ย และการพิจารณาสินเชื่อใหม่เพื่อฟื้นฟูกิจการ (รายละเอียดตามตาราง)

ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ได้มีหนังสือถึงสมาคมประกันวินาศภัยไทย และสมาคมประกันชีวิตไทย แจ้งสมาชิกสรุปรายงานความเสียหาย และการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แล้วแจ้งข้อมูลกลับสำนักงานคปภ. เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนมีประสิทธิ ภาพ รวดเร็ว ถูกต้องและเป็นธรรมต่อไป

กรณีรถยนต์ที่ทำประกันภัยเบื้องต้นเสียหาย 501 คัน ประเมินความเสียหาย 80 ล้านบาท ให้ยึดถือแนวทางการจ่ายค่าสินไหมทดแทนประกันภัยรถยนต์ ที่เคยปฏิบัติเกี่ยวกับการซ่อมรถยนต์ที่ถูกนํ้าท่วมเมื่อปี 2554

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว หากพื้นที่ใดมีความจำเป็นต้องออกคำสั่งนายทะเบียน เพื่อผ่อนผันเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยในเขตพื้นที่ประสบวาตภัย เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้เอาประกันภัย เช่น มาตรการในการขยายระยะเวลาการผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัยให้กับผู้เอาประกันภัย หรือการออกประกาศสำนักงาน คปภ. เพื่ออนุญาตให้ตัวแทน-นายหน้าในพื้นที่ที่เกิดเหตุวาตภัยที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ ให้สามารถขอขยายระยะเวลาพร้อมขอต่ออายุใบอนุญาต ให้รีบเสนอมาเพื่อให้เลขาธิการพิจารณาออกคำสั่ง

ด้านนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการด่วนทางไลน์ให้ผู้บริหารกระทรวงตั้งคณะทำงานสำรวจความเสียหาย และการช่วยเหลือเกษตรกรประจำพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นเอกภาพและทันการณ์ พร้อมทั้งรายงานการช่วยเหลือโดยระบุพื้นที่อย่างชัดเจน สภาพปัญหา ผลกระทบ การแก้ไขเยียวยา ระเบียบที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการช่วยเหลือ สิ่งที่คงค้าง ตลอดจนข้อเสนอหากจะมีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการช่วยเหลือเกษตรกร เป็นต้น

หน้า 9 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,434 วันที่ 10-12 มกราคม 2562 090861-1927-9-335x503-8-335x503-9-2-335x503