'คณิศ' ไขก๊อก "ประธานไทยสมายล์" !! 'บินไทย' ผ่าตัดใหญ่แก้ขาดทุน 8 พันล้าน

09 ม.ค. 2562 | 05:16 น.
090162-1133

ดีดีบินไทยจ่อผ่าตัดใหญ่ 'ไทยสมายล์' แก้ปัญหาขาดทุนกว่า 8 พันล้านบาท หลัง "คณิศ แสงสุพรรณ" ไขก๊อกประธานบอร์ด คาดรื้อใหญ่ตั้งแต่บอร์ดจนถึงโอนย้ายบางหน่วยธุรกิจขึ้นตรงบริษัทแม่

จากปัญหาการขาดทุนสะสมของสายการบินไทยสมายล์กว่า 8 พันล้านบาท กระทั่งล่าสุด นายคณิศ แสงสุพรรณ ประธานบอร์ด ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เพื่อไปดูแลโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) อย่างเต็มตัว ขณะที่ ฝ่ายบริหารการบินไทย ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น 100% ในสายการบินไทยสมายล์ เตรียมรื้อโครงสร้างการบริหารครั้งใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาการขาดทุนสะสมอย่างหนัก

 

[caption id="attachment_372127" align="aligncenter" width="385"] สุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) สุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)[/caption]

นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า นับจากนี้ผมจะเข้าไปนั่งเป็นประธานบอร์ดไทยสมายล์ เพื่อจะได้เชื่อมโยงการทำงานระหว่างการบินไทยและไทยสมายล์ได้อย่างสอดประสานกัน เพื่อแก้ปัญหาการขาดทุนสะสม ที่ปัจจุบันอยู่ที่ราว 8 พันล้านบาท ทำให้สายการบินมีกำไรในการดำเนินธุรกิจ ไม่มีนโยบายยุบสายการบินไทยสมายล์

ด้าน แหล่งข่าวใกล้ชิด นายคณิศ แสงสุพรรณ เผยว่า สาเหตุการตัดสินใจลาออกเป็นเพราะกังวลเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน นายคณิศนั่งตำแหน่งเลขาธิการอีอีซีและการบินไทย ซึ่งถือหุ้น 100% ในสายการบินไทยสมายล์มีหลายโครงการที่จะเข้าลงทุนในสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการสำคัญของอีอีซี

"ทั้งการบินไทยกับแอร์บัสทำศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ในสนามบินอู่ตะเภา รวมถึงการบินไทยซื้อซองประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งโครงการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับอีอีซี จึงตัดสินใจลาออกจากประธานบอร์ด เพื่อไม่ให้มีข้อครหา ทั้งยังได้ตัดสินใจลาออกจากประธานบอร์ดสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (โอเคเอ็มดี) อีกตำแหน่งด้วย เพื่อโฟกัสอีอีซี"


THAI-Smile-Plane-sky-background-02-2

แหล่งข่าวระดับสูงจาก บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า หลังจากนี้จะมีปรับโครงสร้างการบริหารของไทยสมายล์ ทั้งกรรมการและฝ่ายบริหารใหม่ทั้งหมดมีการเพิ่มตัวแทนจากการบินไทยเข้าไปนั่งเป็นบอร์ดเป็น 5 ตำแหน่ง เพื่อกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ส่วนตำแหน่งเอ็มดี จะเปิดสรรหาผู้เหมาะสมเข้ามาบริหารจัดการ รวมไปถึงจะบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างการบินไทยและไทยสมายล์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร

โดยการบินไทยเข้าไปกำหนดยุทธศาสตร์ในเรื่องของการวางแผน การกำหนดเส้นทางบิน ดึงงานด้านการขายและการตลาดมาขึ้นตรงกับการบินไทย เนื่องจากมีเน็ตเวิร์กที่เชื่อมโยงการขายได้ทั่วโลก เพราะที่ผ่านมา ไทยสมายล์มีจุดอ่อนในด้านการขายและยังจะทำให้การบริหารจัดการเส้นทางบินเกิดการเชื่อมโยงเน็ตเวิร์กระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงโอนหน่วยงานที่ไม่จำเป็นมาขึ้นกับการบินไทย อาทิ ฝ่ายการเงินและบัญชี


MP22-3301-A

แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า ที่สำคัญที่สุดยังพบว่า ไทยสมายล์มีปัญหาเรื่องระบบการขายที่ไม่สามารถเชื่อมโยงกับการบินไทย เนื่องจากใช้ระบบสำรองที่นั่งคนละระบบ ทำให้มีการเปลี่ยนสัญญามาใช้อมาดิอุสได้ เหล่านี้เป็นปัญหาที่การบินไทยต้องเข้าไปแก้ไขทั้งหมด


……………….

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,433 วันที่ 6 - 9 ม.ค. 2562 หน้า 02

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
"บินไทย-ไทยสมายล์" ร่วมขนส่งสิ่งของบริจาคช่วยผู้ประสบภัย 'ปาบึก'
ภารกิจผู้นำ ไทยสมายล์ ขับเคลื่อนองค์กรสู่ 'Sustainable Airlines'


เพิ่มเพื่อน
โปรโมทแทรกอีบุ๊ก