ส.อ.ท. จี้! อุตฯ เร่งปรับตัวใช้ระบบอัตโนมัติสู้แข่งขันการค้า

08 ม.ค. 2562 | 10:02 น.
ส.อ.ท. จี้ผู้ประกอบการเร่งปรับตัวรับเทคโนโลยี ลงทุนด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ รับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น ชี้! อีอีซีเป็นลู่ทางการลงทุนของนักลงทุนทุกกลุ่ม แต่ต้องดำเนินงาน 3 ด้าน ทั้งการตลาด เทคโนโลยี และเพิ่มประสิทธิภาพไปด้วยกัน

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานสายงานส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรม กล่าวว่า การเกิด Disruptive Technology จะส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัว เพิ่มประสิทธิภาพในภาคการผลิตและพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนำนวัตกรรมที่ทันสมัย เช่น ระบบอัติโนมัติ (Automation) เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต พร้อมให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา (R&D) นำเทคโนโลยีด้านสารสนเทศมาช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้ธุรกิจก้าวผ่านวิกฤตและเกิดความยั่งยืนได้

 

[caption id="attachment_371794" align="aligncenter" width="503"] นายเกรียงไกร เธียรนุกุล นายเกรียงไกร เธียรนุกุล[/caption]

ทั้งนี้ จากผลการสำรวจ CEO Survey จากนิด้าโพล ร่วมกับ "สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย" (ส.อ.ท.) ล่าสุด ระบุว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี จะเป็นตัวชูโรงดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ถึง 64.55% ต่างเห็นว่า ปัจจัยที่ส่งผลดึงดูดการลงทุนทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจากนานาชาติเข้ามาในไทย คือ ความคืบหน้าของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐที่เข้าสู่ช่วงการก่อสร้างมากขึ้น ส่วนแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยในปี 2562 คือ นโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

อย่างไรก็ดี ยังมีการรับรู้ที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบอัตโนมัติและอีอีซี โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือ SME โดยบางรายคิดว่าเป็นเฉพาะเรื่องของธุรกิจในอีอีซีที่จะได้รับผล บางรายคิดว่า การลงทุน หรือ การปรับตัวเป็นเรื่องของ Large Enterprise การลงทุนต้องซื้อหุ่นยนต์ราคาหลายล้าน โดยไม่รู้จะคืนทุนเมื่อใด หลายรายรอลอกสูตรสำเร็จจากคู่แข่ง หรือเพียงแต่เฝ้ารอว่าเมื่อไหร่เศรษฐกิจจะดีขึ้น จะมีออเดอร์ใหม่ ๆ เข้ามาจากต่างประเทศ


B7918C19-EAB5-41DD-96B6-14FBB3B83E76

ดังนั้น SME ไทยวันนี้จะมัวแต่รอไม่ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในอีอีซีหรือไม่ จะได้รับผลกระทบจากการแข่งขันระหว่างประเทศ ซึ่งแนวคิด Industry 4.0 ของเยอรมนี หรือ Connected Industry ของญี่ปุ่น ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป การปรับตัวไม่ใช่แค่เรื่องหุ่นยนต์และสามารถเริ่มได้เร็วกว่าที่คิด

นายเกรียงไกร กล่าวอีกว่า สำหรับการปรับตัวของ SME จะต้องดำเนินงานใน 3 ส่วนที่ควบคู่กันไป ไม่ว่าจะเป็น ด้านการตลาด คือ ให้เริ่มก้าวแรกของการหลุดจากวงจร OEM ให้เร็วที่สุด จะไปในทาง ODM หรือ OBM ก็ได้ ขอแค่เริ่มก้าวแรกเดี๋ยวหนทางจะเกิดแน่นอน ขอเพียงอดทนและให้เวลากับมัน การเดินทางนี้ต้องเสาอากาศกว้างไกล รู้จักทั้งคู่แข่ง คู่ค้า ลูกค้า และหน่วยงานวิจัยสนับสนุนต่าง ๆ ให้มาก ก็จะช่วยลดภาระหรือความเสี่ยงในการลงทุนด้านการพัฒนาสินค้าด้วยตัวเอง

ด้าน เทคโนโลยีที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การผลิตในยุคใหม่นี้บางอย่างต้องลงทุนเทคโนโลยีจริง ๆ เช่น การผลิตสินค้าที่ Precision สูงมาก ๆ จนเครื่องจักรเดิมไม่อาจรองรับ หรือ ทำมาตรฐานได้ไม่สูงพอ ไปจนถึงระบบการผลิตที่เครื่องจักรเดิมทำไม่ได้เลย การเดินทางนี้อาจเสี่ยงหน่อย เพราะต้องอาศัยความเร็ว แต่ก็เป็น High-Risk High-Return เพราะมีโอกาสกำไรและสร้างความได้เปรียบแบบ First-Comer Advantage


S-curve อุตฯอิเล็กทรอนิกส์

ด้านประสิทธิภาพ เป็นเรื่องที่ควรตัดสินใจลงทุนได้ง่ายที่สุด ซึ่งผู้ประกอบการไทยหลายรายทำมาตลอด โดยเฉพาะ OEM ที่ส่งงานลูกค้าต่างประเทศ เพราะต้องควบคุมต้นทุนให้แข่งขันได้ แต่สำหรับ SME แทบจะยังไม่มีการปรับใช้วิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพ หรือ ลดของเสียในการผลิตเลย ยังอาศัยมนุษย์ในงานที่มนุษย์เองก็มีขีดจำกัด หรือ ใช้นโยบายรัดเข็มขัดเพียงอย่างเดียว องค์ความรู้ที่เป็นโมเดลการจัดการด้านประสิทธิภาพนั้นมีมานานแล้ว และมีอยู่มากมาย เช่น เรื่องเกี่ยวกับ Lean ซึ่ง SME ไทยต้องนำมาใช้อย่างเป็นระบบ และ SME จะไม่ได้หมายถึงแค่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่ต้องเป็น Smart Management Enterprise

"ผู้ประกอบการต้องลองศึกษาและเลือกว่า ประสิทธิภาพด้านใดที่จำเป็นต่อกิจการ เช่น เลือกว่าต้องการลดของเสียจากการผลิต ลดเวลาในคลังสินค้า หรือ การลำเลียง ลดความเสี่ยงจากการ Turnover ของคนงาน ลดพลังงาน หรือ เลือกเพิ่มความสามารถในการ Monitor การผลิตแบบ Real Time ฯลฯ แง่มุมเหล่านี้สามารถเริ่มได้ไม่ยาก ลงทุนไม่มาก อาจคืนทุนได้ในระยะกลางและคุ้มค่าในระยะยาว"

ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยต้องเริ่มเรียนรู้ ลงทุนเวลากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เมื่อเข้าใจแล้วต้องกล้าลงทุน อย่ารอให้ชัวร์ 100% เพราะคู่แข่งจะแซงไปหมด

595959859