เอสซีจีสานต่อเเนวพระราชดำริ พัฒนาชุมชนสร้างรายได้ยั่งยืน

12 ม.ค. 2562 | 08:35 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่เอสซีจี ถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ที่ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด ตั้งแต่การวางแผน จนไปถึงการปฏิบัติจริง รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ในการทำงานด้านต่างๆ ซึ่งหมายรวมถึงแนวทางปฏิบัติด้านการช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วย Passion และการให้ความสำคัญด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

9 จิตอาสาร่วมกันสร้างบ้านปลา

เอสซีจียึดแนวทางปฏิบัติเศรษฐกิจหมุนเวียน สานต่อศาสตร์พระราชา ด้วยการน้อมนำเเนวพระราช ดำริ “จากภูผาสู่มหานที” ต่อยอดโครงการรักษ์นํ้าเพื่ออนาคต จนเกิดเป็นโครงการ “รักษ์นํ้าจากภูผาสู่มหานที” ส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อบริหารจัดการนํ้าอย่างยั่งยืนและพลิกฟื้นความเข้มแข็งให้ชุมชน โดยการทำงานร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายมากว่า 10 ปี

โครงการรักษ์นํ้าจากภูผาสู่มหานที เริ่มต้นจากพื้นที่ต้นนํ้า อ.เเม่ทะ จ.ลำปาง ด้วยการสร้างฝายชะลอนํ้า ช่วยบรรเทาปัญหานํ้าแล้งนํ้าท่วม เเละป้องกันไฟไหม้ป่า ก่อนขยายไปยังพื้นที่ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง และเมื่อได้นํ้ากลับคืนมาแล้ว ก็จัดทำสระพวงเชิงเขา ซึ่งเป็นวิธีกักเก็บนํ้าที่ใช้การเชื่อมต่อสระนํ้าเป็นพวง ทำให้มีนํ้าเพียงพอสำหรับทำการเกษตรในพื้นที่ไม่อุ้มนํ้า ชุมชนสามารถเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์พืชแบบใช้นํ้าน้อย เช่น ฟักทอง บวบ ถั่วฝักยาว มะระขี้นก ได้มากถึง 7 ครั้งต่อปี เกิดรายได้รวมในชุมชน 18 ล้านบาทต่อปี และยังใช้วิธีการกระจายนํ้าในพื้นราบด้วยระบบแก้มลิง ทำให้เกษตรกรนำนํ้าไปใช้ในพื้นที่กว่า 500 ไร่ สร้างรายได้กว่า 100,000 บาท/ครัวเรือน/ปี ช่วยให้ชุมชนมีแหล่งนํ้าสำรองในฤดูแล้งอีกประมาณ 134,000 ลบ.ม.

14 เยาวชนกลุ่ม Young รักษ์น้ำ ร่วมสร้างฝายชะลอน้ำ

นอกจากนี้ ชุมชน ภาคีเครือข่าย และเอสซีจี ยังพัฒนาแหล่งนํ้า ฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นนํ้า ในอีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ต.ถํ้าใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี แก้ปัญหาภัยแล้ง นํ้าท่วม และสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน และยังสร้าง “บ้านปลาเอสซีจี” ผลสำเร็จในพื้นที่ปลายนํ้าฟื้นฟูและอนุรักษ์ระบบนิเวศชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ชาวประมงพื้นบ้านบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ถือเป็นการบริหารจัดการนํ้าตั้งแต่ต้นนํ้าไปถึงปลายนํ้า

“ชลณัฐ ญาณารณพ” รองผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี กล่าวว่า เอสซีจีได้นำความรู้และนวัตกรรมที่มี มาต่อยอด พร้อมกับรวมพลังของจิตอาสาในองค์กรเอสซีจี ช่วยผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นนํ้าจนถึงปลายนํ้า รวมถึงยังมีกลุ่ม Young รักษ์นํ้า ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่จากสถาบันการศึกษากว่า 80 คน ร่วมเป็นกำลังสำคัญในพื้นที่ต่างๆ โดยสร้างฝายชะลอนํ้าไปแล้วกว่า 83,200 ฝาย และจะขยายการสร้างฝายในพื้นที่ต้นนํ้าให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศให้ครบ 100,000 ฝาย ขุดสระพวงเชิงเขาส่งต่อนํ้าเพื่อทำการเกษตรไปแล้ว 7 สระ และจัดทำระบบแก้มลิงในพื้นที่กลางนํ้าไปแล้ว 8 พื้นที่ วางบ้านปลาในพื้นที่ปลายนํ้าไปแล้ว 1,900 หลัง

สำหรับก้าวต่อไปของ “รักษ์นํ้า จากภูผาสู่มหานที” มีเป้าหมายจะขุดสระพวงให้ครบ 20 สระ และจัดทำระบบแก้มลิงในพื้นที่กลางนํ้าให้ครบ 20 พื้นที่ รวมถึงวางบ้านปลาในพื้นที่ปลายนํ้าให้ครบ 2,600 หลัง นอกจากนี้ ยังมีแผนส่งเสริมชุมชนให้มีความสามารถในการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลผลิตในท้องถิ่น เพื่อสร้างอาชีพและส่งเสริมให้เกิดรายได้ที่ยั่งยืน

หน้า 24 ฉบับที่ 3,434 วันที่  10 - 12 มกราคม พ.ศ. 2562

595959859