ปรับคน-องค์กร รับ "โลกดิจิตอล"

07 ม.ค. 2562 | 11:37 น.
070162-1826

เทคโนโลยีดิจิตอลคุกคามธุรกิจธนาคารจนต้องปิดสาขา ลดพนักงาน สื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ดิจิตอลถูกสมาร์ทโฟนชิงลูกค้า อี-คอมเมิร์ซขยายตัว บริการรับส่งพัสดุเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด คลื่นการเปลี่ยนแปลงยังไม่หยุด แต่ยิ่งเร่งสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์ (Robot) ที่จะเป็นสึนามิเทคโนโลยี


➣ 5จี คลื่นกวาดล้าง


 

[caption id="attachment_371328" align="aligncenter" width="503"] อเล็กซานดรา ไรซ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ดีแทค) อเล็กซานดรา ไรซ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ดีแทค)[/caption]

นางอเล็กซานดรา ไรซ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ดีแทค) กล่าวว่า ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5จี จะเป็นเทคโนโลยีที่ก่อความเปลี่ยนแปลงมากสุด เพราะวิถีการทำงานจะเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศ ปี 2562 เป็นปีที่ต้องเรียนรู้ระบบ 5G ใช้ในรูปแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (บีทูบี) ในปีถัดไป และใช้ในชีวิตประจำวันปี 2564 เช่นเดียวกับ นายพิภพ อุดร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์ ชี้ว่า 5G สร้างความเปลี่ยนแปลงชนิดเปลี่ยนชีวิตพลิกโลก อุปกรณ์ในชีวิตประจำวันแทบทุกชิ้นจะเป็น Smart Device เชื่อมกันแบบอุปกรณ์กับอุปกรณ์ เกิดปัญญาประดิษฐ์ที่ตัดสินใจเองได้ ทำให้รูปแบบชีวิตในอนาคตเปลี่ยนไป หลายอาชีพจ้างงานลด หรือ สูญหายไป พนักงานประจำลดลง เปลี่ยนเป็นการจ้างฟรีแลนซ์หลากรูปแบบ ซึ่งภาคเอกชนและอุตสาหกรรมต้องปรับตัวรับ


แบงก์รอเก็บดอกผลไอที

นางรุ่ง มัลลิกะมาส รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"
ว่า โจทย์ของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในปี 2562 คือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการแข่งขันของธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non Bank) ทั้งขนาดใหญ่อย่าง Telco หรือ ขนาดเล็กอย่าง "ฟินเทคและสตาร์ตอัพ" เทคโนโลยีมีทั้งโอกาสและอุปสรรค จำเป็นต้อง Re-Skill ทักษะใหม่พนักงาน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง กรุงไทยจะลงทุนเพิ่มด้านไอทีเป็น 1.2 หมื่นล้านบาท จากที่ลงทุนในปี 2561 ไปแล้ว 1 หมื่นล้านบาท โดย AI ยังจะเป็นจุดใหญ่ที่ธนาคารจะเลือกนำมาใช้วิเคราะห์ลูกค้า พฤติกรรม และช่วยลดค่าใช้จ่าย ส่วนการพัฒนาบริการลูกค้า ยังคงนำเทคโนโลยีอื่น ๆ มาผสมผสานกัน เช่น Machine Learning, Blockchain, Data Analytic และ Cloud ซึ่งปี 2562 เป็นปีที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์และรายได้ หลังจากทุกธนาคารทุ่มการลงทุนมาอย่างต่อเนื่องในก่อนหน้านั้น

 

[caption id="attachment_371329" align="aligncenter" width="503"] วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธาน สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธาน สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)[/caption]

หุ่นยนต์พลิกโฉมเกษตร แม่นยำสูง

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธาน สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ได้เข้ามามีบทบาททางการค้ามากขึ้น ได้แก่ การค้าออนไลน์ หรือ อี-คอมเมิร์ซ แล้วจากนี้มี AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ จะถูกนำมาใช้ในการช่วยศึกษา วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคและเลือกโปรดักต์ต่าง ๆ อย่างเฉพาะเจาะจงให้กับผู้บริโภคได้ดีมากยิ่งขึ้น รวมถึง Chat Bot ที่เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อจำลองบทสนทนาของมนุษย์ให้สามารถพูดคุยสื่อสารกับมนุษย์ผ่านทางเสียงหรือข้อความแบบเรียลไทม์ ซึ่งสามารถนำแชตบอตมาใช้ในการตอบโต้ สนทนาระหว่างการซื้อสินค้าของลูกค้าผ่านแอพพลิเคชัน หรือ การซื้อสินค้าช่องทางออนไลน์ผ่านพนักงานขายแชตบอตที่ออกมาตอบโต้แนะนำลูกค้า

ด้าน นายปัญญา เหล่าอนันต์ธนา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านเกษตร นอกจากโดรน (Drone) ที่ใช้ในการฉีดพ่นสารต่าง ๆ การปลูกผักในโรงเรือนที่มีระบบ IoT ในการควบคุมอุณหภูมิ ใส่น้ำ ใส่ปุ๋ย แอพพลิเคชันพยากรณ์อากาศ แนะนำปุ๋ย (แบบสั่งตัด) ตามค่าวิเคราะห์ดิน เทคโนโลยีการเกษตรแบบแม่นยำสูง ซึ่งจุดสำคัญจะอยู่ที่ Robotic คือ หุ่นยนต์ที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเกษตร ซึ่งจะทำงานได้อัตโนมัติ หรือ กึ่งอัตโนมัติ เพื่อให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น และช่วยตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร

 

[caption id="attachment_371330" align="aligncenter" width="503"] ©ID 849356 ©ID 849356[/caption]

ค้าปลีก-อสังหาฯ เร่งใช้ประโยชน์

กลุ่มค้าปลีกที่ปรับตัวมา 2-3 ปี พุ่งความสำคัญกับเรื่องของ "ดิจิตอล" อย่างจริงจัง
ทั้งบนโซเชียลมีเดีย ทั้งเฟซบุ๊ก ไลน์ เว็บไซต์ แอพพลิเคชัน ด้วยกลยุทธ์ที่แตกต่างกันไป เช่น กลุ่มเซ็นทรัลกับการเข้าซื้อกิจการ Zalora หรือการผนึกกับ JD.com ตั้ง JD central พร้อมประกาศแผนรุกอี-คอมเมิร์ซเต็มรูปแบบ โดยการนำ Big Data กับ AI มาใช้ในการพัฒนาอี-โลจิสติกส์ กับหุ่นยนต์อัจฉริยะจัดการคลังสินค้าอัตโนมัติ ยานยนต์ส่งสินค้าไร้คนขับ ซึ่งช่วยทุ่นแรงมนุษย์และลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ 1 เท่าตัว เพิ่มประโยชน์ใช้สอยพื้นที่คลังสินค้าได้ 500%

นายนริศ เชยกลิ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดิจิตอลเป็นโอกาสและประโยชน์สำหรับการดำเนินธุรกิจ รูปแบบโครงการจะเปลี่ยนจากใช้พื้นที่ขนาดใหญ่เป็นเล็กลง ร้านอาหารใช้พื้นที่น้อยลง แต่เพิ่มบริการจัดส่งมากขึ้น ไม่ต้องลงทุน 50-60 ล้านบาท สร้างห้องตัวอย่าง เปลี่ยนเป็นใช้เทคโนโลยีดิจิตอล 3 มิติ เข้าชมได้จากทั่วโลกใช้พนักงานขายน้อยลง ย้ายไปทำงานใหม่ที่ใช้ทักษะออนไลน์มากขึ้น เอกสารแผ่นพับโครงการไม่ต้องใช้ตัวผลิตภัณฑ์ก็ใส่สมาร์ทเทคโนโลยีเข้าไปด้วย เพื่อเสริมบริการและเพิ่มความสะดวกลูกค้า พัฒนาแอพพลิเคชัน "เอส ไลฟ์" สำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน ผู้ใช้อาคารสิงห์ คอมเพล็กซ์ เป็นต้น


……………….

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,432 วันที่ 3 - 5 ม.ค. 2562 หน้า 01-02

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ไม่รอ 'Disrupt' ธุรกิจชูธง 'ดิจิตอล'
ดิจิตอลแรงกระตุ้น ความรู้สึกอยากแต่งบ้าน


เพิ่มเพื่อน
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว