ชงหนุนกำลังซื้อ "คนชั้นกลาง" ควบคู่ไปกับ "บ้านล้านหลัง" เหตุปัจจัยลบเพียบ

07 ม.ค. 2562 | 05:25 น.
"ปีหมู" ปัจจัยลบเพียบ ชงรัฐออกมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ควบคู่ไปกับ "บ้านล้านหลัง" หนุนคนชั้นกลาง
มีบ้าน เหตุกลุ่มตลาดใหญ่มีกำลังซื้อจริง

จากความคึกคัก "โครงการบ้านล้านหลัง" ของรัฐบาล คสช. ที่สนับสนุนทั้งในด้านซัพพลาย เอื้อกลุ่มดีเวลอปเปอร์ ควบคู่กับดีมานด์ ประชาชนที่มีรายได้น้อยและต้องการมีบ้านเป็นของตัวเอง ตัวเลขทะลุ 1.3 แสนล้านบาท กระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงท้ายของปี 2561 ที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดใหญ่ ระดับกลาง ที่มีประชากรกลุ่มใหญ่ของกรุงเทพฯ และปริมณฑลรองรับ ก็เป็นดีมานด์ที่ควรได้รับการสนับสนุนจากรัฐเช่นกัน

โดยนางสุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท พฤกษา โฮล ดิ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของประเทศ กล่าวว่า ปัจจุบัน ภาคอสังหาฯ ที่แต่ละปีมีมูลค่านับแสนล้านบาท เป็นภาคใหญ่ที่คอยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ

 

[caption id="attachment_370338" align="aligncenter" width="503"] สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ สุพัตรา  เป้าเปี่ยมทรัพย์[/caption]

ทั้งยังช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนด้วยจากการมีบ้านเป็นของตนเอง แต่อย่างไรก็ตาม กังวลว่า ตลาดที่อยู่อาศัยในปีนี้อาจต้องเผชิญกับหลายปัจจัยเกี่ยวข้อง ทั้งปัจจัยภายนอกที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย เรื่องสงครามการค้าของจีนและสหรัฐฯ

ขณะเดียวกัน มาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ออกมาเพื่อหวังลดความเสี่ยงของการเก็งกำไรในกลุ่มคอนโดมิเนียม โดยการปรับเกณฑ์แอลทีวีใหม่ (กำหนดอัตราเงินดาวน์ขั้นตํ่า 20% ของหลักประกัน) 
และดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอีกจะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอย และกำลังซื้อในการซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศ

แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่คอยสนับสนุนตลาด จากเรื่องการเลือกตั้ง รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ น่าจะส่งผลในทิศทางบวก จึงคาดว่า ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2562 จะยังคงขยายตัว แต่ไม่ได้หวือหวาเหมือนปีที่ผ่านมา เพราะยังมีดีมานด์ด้านที่อยู่อาศัยในกลุ่มคนชนชั้นกลางอีกมาก น่าจะทำให้ตลาดคึกคักได้ แต่ที่ผ่านมา ดีมานด์กลุ่มนี้ไม่ค่อยได้รับมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐเท่าไหร่นัก จึงอยากให้รัฐบาลมีมาตรการมากระตุ้น ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้ตลาดเติบโตได้

 

[caption id="attachment_370337" align="aligncenter" width="335"] อาภา อรรถบูรณ์วงศ์ อาภา  อรรถบูรณ์วงศ์[/caption]

"ปีที่ผ่านมา ภาคอสังหาฯ ถูกแตะเบรกพร้อมกันหลายเรื่อง จะออกมาตรการอะไรก็แล้วแต่ อยากให้ประเมินผลกระทบ ไม่อยากให้กระทบต่อความเป็นอยู่และความต้องการมีบ้านของประชาชน โดยเฉพาะตลาดบ้านที่มีการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง ที่ผ่านมายังไม่มีมาตรการมาเอื้อทั้งคนซื้อและผู้ประกอบการ อยากให้รัฐบาลพิจารณามาตรการออกมาช่วยสนับสนุนส่วนนี้บ้าง" นางสุพัตรา กล่าว

ทั้งนี้ ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา พบราคาที่อยู่อาศัยทำเลใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ราคาถูก ปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ตํ่ากว่า 5-7% ต่อปี ซึ่งมาจากต้นทุนราคาที่ดินที่แพงขึ้นมาก ราคาขายตํ่ากว่า 2 ล้านบาท หาได้ยากในปัจจุบัน ขณะที่ ปัญหาหนี้ครัวเรือนส่งผลให้สัดส่วนลูกค้าถูกปฏิเสธสินเชื่อสูง ประกอบกับการเข้ามาของกลุ่มทุนต่างชาติขนาดใหญ่ ทำให้ที่ผ่านมา หน่วยใหม่ที่เข้ามาในตลาดส่วนใหญ่หวังจับตลาดบน-ลูกค้าต่างชาติเป็นหลัก เพื่อทดแทนกำลังซื้อกลุ่มกลางที่หดหายไป โดยแต่ละบริษัทตั้งราคาขายแพงมากกว่า 1 แสนบาทต่อตารางเมตร เป็นต้นไป

เช่นเดียวกับ 3 สมาคมบ้านฯ ประกอบด้วย สมาคมอาคารชุดไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ที่เคยรวมตัวเสนอกระทรวงการคลัง ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอน เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อต่อเนื่อง นางอาภา อรรถบูรณ์วงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ริชี่ เพลซ 2002 จำกัด (มหาชน) หรือ RICHY และในฐานนะนายกสมาคมอาคารชุดไทย ระบุว่า หากรัฐออกมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อจะช่วยให้ตลาดอสังหาฯ คึกคักขึ้น

หน้า 25-26 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,433 วันที่ 6-9  มกราคม 2562

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว