"ธุรกิจแบงก์" ปีหมูยังระอุ! KTB ลั่นขอโตอย่างมั่นคง

07 ม.ค. 2562 | 01:13 น.
| สัมภาษณ์พิเศษ : "รุ่ง มัลลิกะมาส" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย

....................

เปิดศักราชใหม่ต้อนรับปี 2562 ด้วย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารพาณิชย์แนวหน้าที่รับสนองนโยบายรัฐในการขับเคลื่อนโครงการใหญ่อย่าง "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" และวางระบบการชำระเงินต่าง ๆ ผ่านการรับหน้าที่ติดตั้งเครื่องรับบัตร (EDC) ในหน่วยงานต่าง ๆ

นอกเหนือภารกิจช่วยงานรัฐบาลแล้ว ในส่วนกรุงไทยเองยังต้องพัฒนาเทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อให้ทันคู่แข่งด้วย ซึ่ง "รุ่ง มัลลิกะมาส" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ยุทธศาสตร์ของกรุงไทยในปี 2562 ภายใต้ธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ภารกิจหลัก ๆ ที่ทำได้ค่อนข้างดี จะเป็นเรื่องของการวางระบบการชำระเงินของประเทศ ที่มีความโปร่งใส ลดการทุจริต ซึ่งหลังจากวางโครงข่ายระบบการชำระเงิน ทำให้ธนาคารได้ประโยชน์จากข้อมูลที่ผ่านโครงข่ายระบบชำระเงินในโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถต่อยอดทำธุรกิจได้ ทั้งร้านค้าประชารัฐ รวมถึงสร้าง Future Banking ที่สามารถติดตัวไปได้ทุกที่และฝังอยู่ในชีวิตประจำวันของลูกค้า ภายใต้ 5 Ecosystem ถือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเป็นการ Disruption ตัวเองด้วย

 

[caption id="attachment_370121" align="aligncenter" width="311"] รุ่ง มัลลิกะมาส รุ่ง มัลลิกะมาส[/caption]

ขณะที่ การเติบโตด้านรายได้และกำไรจะเน้นเติบโตอย่างมีคุณภาพ แม้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะค่อนข้างหวือหวา แต่ในปี 2562 และระยะต่อไป ธนาคารจะพยายามคุมความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งในช่วงที่ทำนั้น อาจจะส่งผลให้ผลประกอบการได้ไม่มาก แต่ระยะยาวจะช่วยลดการวูบวาบของธุรกิจได้ รวมถึงสามารถปิดจุดที่เป็นช่องห่างกับคู่แข่งในด้านการบริหารความเสี่ยงได้ดีขึ้น ตลอดจนพยายามทำให้เกิดดอกผลจากการปรับเปลี่ยนและคุมความเสี่ยงให้มากขึ้น

"วันนี้มีความมั่นใจมากขึ้นว่า การเดินในระยะต่อไปของธนาคารกรุงไทยจะมีความมั่นคงมากขึ้น โดยธนาคารไม่เน้นเติบโต หรือ เอาประโยชน์แค่ระยะสั้น แต่เป็นผลเสียหรือย้อนกลับมาเป็นผลเสียในระยะยาว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ธนาคารจะไม่ทำเด็ดขาด"

สำหรับโจทย์ธุรกิจของระบบธนาคารพาณิชย์ในปี 2562 คือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการแข่งขันของธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือ Non Bank ทั้งขนาดใหญ่ เช่น Telco หรือ Non Bank ขนาดเล็ก เช่น ฟินเทคและสตาร์ตอัพ ที่จะเข้ามาแข่งขันในธุรกิจคล้ายธนาคารมากขึ้น แต่กฎกติกาที่แตกต่างกัน ทำให้ธนาคารทำธุรกิจยากขึ้นกว่าในอดีต เพราะบางจุดธนาคารแข่งขันไม่ได้ หรือ ความคล่องตัวไม่เท่า Non Bank


บาร์ไลน์ฐาน

นอกจากนั้น ธุรกิจที่เคยดีในอดีตก็จะไม่ได้ดีในอนาคต เพราะโครงสร้างของไทยเปลี่ยนแปลงไป โดยสังคมไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) มากขึ้น ทำให้ธนาคารต้องปรับตัว เพื่อให้เกิด Win-Win ทั้งธนาคารและลูกค้า ลูกค้าสินเชื่อ นิติบุคคล และรายย่อย และจะไม่สามารถอยู่เฉพาะในประเทศเท่านั้น เพราะประเทศเพื่อนบ้านอย่าง CLMV เติบโตค่อนข้างดี ลูกค้าที่มีเงินฝากและเงินออมสามารถไปลงทุนในต่างประเทศได้ รวมถึงการออกไปขยายธุรกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ธนาคารจะต้องตามให้ทัน

"โจทย์แบงก์ในระยะข้างหน้าจะต้องแข่งขันกับคู่แข่งมากหน้าหลายตา ทำธุรกิจยากขึ้นและพื้นที่ยืนน้อยลง ซึ่งเราต้องทำให้เทคโนโลยีที่ลงทุนไปก่อนหน้าเกิดดอกออกผลให้ได้ รวมถึงเอามาช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพราะสังคมไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลง ธุรกิจก็เช่นกัน มี Sun Rise Sun Set แบงก์ต้องทำให้เกิด Win-Win ทั้งลูกค้าและแบงก์เอง"

หน้า 19-20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,433 วันที่  6 - 9 มกราคม พ.ศ. 2562

595959859