เหตุสลด! 'โชคมลิณี' พายุปาบึกซัดดับ 1 สูญหาย 1

04 ม.ค. 2562 | 11:11 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

IMG_2701
วันนี้ (4 ม.ค. 62) ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) คณะองคมนตรีติดตามสถานการณ์พายุโซนร้อน 'ปาบึก' โดยมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บังคับบัญชาป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมนำเสนอและสรุปรายงานสถานการณ์และการเตรียมการ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อน 'ปาบึก' โดยในส่วนของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) มี ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช. สรุปสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากการที่มีฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุดังกล่าว ซึ่งในการดำเนินงานได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านน้ำ ติดตามสรุปสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำอย่างใกล้ชิด โดยการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง และให้ดำเนินการปรับแผนการระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำให้สอดคล้องกับการคาดการณ์ปริมาณฝน เพื่อลดผลกระทบในพื้นที่ตอนล่าง เช่น ที่ จ.ปัตตานี ตรัง และสุราษฎร์ธานี และการเก็บน้ำให้เพียงพอต่อการใช้ในฤดูแล้งต่อไปด้วย


IMG_2645

ในส่วนของการติดตามทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาและ สสนก. มีข้อมูลที่สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน โดยพายุได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งเมื่อเวลาประมาณ 12.45 น. อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ความเร็วลมประมาณ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจะเคลื่อนตัวไปทางด้านทิศตะวันตกเข้าสู่ จ.สุราษฎร์ธานี และจะเข้าสู่ จ.พังงา และระนองต่อไป โดยคาดว่า พรุ่งนี้เช้าจะลงสู่ทะเลอันดามัน สำหรับสถานการณ์ฝนจากรายงานของ สสนก. พบว่า จากอิทธิพลของพายุทำให้มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ในระหว่างวันที่ 4-6 ม.ค. นี้ ส่วนคลื่นซัดชายฝั่งสูงประมาณ 3-5 เมตร และจะลดลงหลังวันที่ 4 ม.ค. นี้


IMG_2654

เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า จากการติดตามข้อมูลฝนของกรมอุตุนิยมวิทยาและ สสนก. พบว่า มีปริมาณฝนตกในหลาย ๆ จังหวัดของภาคใต้ โดยฝนจะมีมากใน จ.นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี จะมีฝนตกหนักใน จ.พังงา ระนองและภูเก็ตต่อไป ซึ่งศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ ซึ่งมีที่ตั้งที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 จ.สุราษฎร์ธานี มีทีมงานจากส่วนราชการต่าง ๆ ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมประสานและปฎิบัติการในการบริหารจัดการน้ำ ทั้งในอ่างเก็บน้ำและการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ท่วมขัง จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ


c9bb4c7f0c9866b0e2f71540286cacd3f_15943642_๑๘๑๐๐๗_0043-503x336

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" เรื่อง การช่วยเหลือเกษตรที่ได้ผลกระทบจากพายุ 'ปาบึก' นั้น ได้สั่งการให้ปลัดเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจนผู้บริหารทั้งส่วนกลางและทุกจังหวัด ขอให้ติดตามสถานการณ์พายุอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งจัดเตรียมแผนกำลังเจ้าหน้าที่เครื่องมืออุปกรณ์การช่วยเหลือเกษตรกรด้านต่าง ๆ จากจังหวัดอื่น ๆ ที่ไม่ประสบภัย เตรียมพร้อมลงไปปฎิบัติงานช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ไว้ด้วย ทั้งนี้ ให้ศูนย์อำนวยการฯ และปลัดเกษตรฯ ประเมินสถานการณ์และความจำเป็นในการช่วยเหลือไว้ให้ทันการณ์ด้วย ขณะเดียวกันหากหน่วยงานในพื้นที่ต้องการความช่วยเหลือต่าง ๆ ขอให้รายงานขอรับการสนับสนุนเข้าที่ศูนย์ฯส่วนกลางได้ทันที


1546594353554

"ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทำภาพกราฟิกแสดงจุดเครื่องมืออุปกรณ์การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ทั้งการปศุสตว์ ประมง และพืชใน 16 จังหวัดภาคใต้ ว่า มีที่ไหน จำนวนเท่าไหร่ จะติดต่อขอรับความช่วยเหลือและสนับสนุนได้อย่างไร พร้อมกับหมายเลขโทรศัพท์และเจ้าหน้าที่ประสานงาน เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ที่ประสบภัยจะได้แจ้งตรง ช่วยเหลือได้รวดเร็วยิ่งขึ้น"


S__4694033

รายงานข่าวจากกรมประมง จากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดเตรียมพร้อมรับมือและร่วมสนับสนุนการป้องกันเพื่อหยุดยั้งความเสียหาย พร้อมช่วยเหลือชาวประมงและเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ รวมไปถึงให้จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ ตลอด 24 ชั่วโมง ทางกรมประมง โดยศูนย์แจ้งเตือนภัยธรรมชาติปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรมประมง ได้ประสานไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้าออกเรือประมง (PIPO) ศูนย์ติดตามและควบคุมเรือประมง (FMC) และสำนักงานประมงจังหวัดในเขตพื้นที่ชายฝั่งให้เฝ้าระวังสถานการณ์ พร้อมสื่อสารในทุกช่องทางการติดต่อ เพื่อแจ้งให้ชาวประมง เกษตรกร ประชาชน ทราบถึงสถานการณ์เป็นระยะ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2562 เป็นต้นมา โดยเฉพาะเรือประมงที่ทำการอยู่ในทะเล ได้ทำการแจ้งเตือนผ่านทางวิทยุสื่อสารให้กลับเข้ามาหลบพายุเป็นกรณีพิเศษ

ล่าสุด เมื่อเวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 4 ม.ค. 2562 ได้รับแจ้งว่า เกิดเหตุมีเรือประมงอับปางที่ปากอ่าวปัตตานี ซึ่งเป็นขณะเดียวกันกับที่ศูนย์ติดตามและควบคุมเรือประมง (FMC) พบสัญญาณ VMS ของเรือประมง 'โชคมลิณี' ขาดหายไป จึงได้ประสานแจ้งให้เรือตรวจการณ์ประมงออกให้การช่วยเหลือ โดยข้อมูลเบื้องต้น พบว่า เรือประมงที่ประสบเหตุเป็นเรือขนาด 40 ตันกลอส ความยาว 17 เมตร ซึ่งมีลูกเรือประมงจำนวน 6 คน ล่มอับปางที่ปากอ่าวปัตตานี (บริเวณแหลมตาชี) อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี โดยเรือดังกล่าวได้แจ้งออกทำการประมงจากท่าเทียบเรือประมงสงขลา ตั้งแต่วันที่ 29 ธ.ค. 2561 ที่ผ่านมา แต่เมื่อได้รับการแจ้งจากศูนย์แจ้งเตือนภัยธรรมชาติปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรมประมง จึงได้ขอนำเรือเข้าหลบพายุที่ปากอ่าวปัตตานี เช่นเดียวกับเรือประมงลำอื่น ๆ อีก 9 ลำ ตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค. 2562 เวลา 20.45 น. แต่เมื่อเกิดพายุซึ่งมีความรุนแรง


2019-01-04_TopChart_07

จึงทำให้เรือลำดังกล่าวเกิดเหตุอับปางลง ซึ่งเบื้องต้น เรือตรวจการณ์ประมงทะเลของกรมประมง พร้อมด้วยเรือ ต.995 ของกองทัพเรือ และเรือของกรมเจ้าท่า ได้เข้าให้การช่วยเหลือลูกเรือกลับเข้าฝั่งได้อย่างปลอดภัย จำนวน 4 ราย และพบลูกเรือเสียชีวิต จำนวน 1 ราย สูญหายอีก 1 ราย ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานยังระดมค้นหาติดตามลูกเรือที่สูญหายอยู่และกู้ซากเรือประมงที่อับปางอย่างเต็มกำลัง แต่เนื่องจากคลื่นลมแรงจึงเป็นอุปสรรคในการดำเนินการ นอกจากนี้ กรมประมงได้เตรียมให้ความช่วยเหลือชาวประมงที่ประสบภัยธรรมชาติ ทั้งในส่วนของเจ้าของเรือและลูกเรือผู้ประสบภัย ตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือ ชาวประมงที่ประสบภัยธรรมชาติ พ.ศ. 2541


090861-1927-9-335x503-8-335x503-9

อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น จึงขอแจ้งเตือนไปยังชาวประมงให้งดออกจากฝั่งในช่วงที่สถานการณ์พายุยังไม่สงบ และให้ติดตามรายงานสภาวะอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดจนกว่าสภาวะอากาศจะกลับคืนสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ กรมประมงได้มอบหมายให้สำนักงานประมงจังหวัดและหน่วยงานในสังกัดทุกพื้นที่เตรียมความพร้อมให้ความช่วยเหลือผู้เดือดร้อนทั้งในเรื่องของเรือและกำลังเจ้าหน้าที่สนับสนุนแล้ว หากประชาชน เกษตรกร ชาวประมง ประสบภัยดังกล่าว สามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือไปที่สำนักงานประมงจังหวัดทุกจังหวัด หรือ ติดต่อศูนย์แจ้งเตือนภัยธรรมชาติปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรมประมง หมายเลขโทรศัพท์ 02-562-0546 ตลอด 24 ชั่วโมง


009

ด้าน พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี สั่งการด่วนให้กรมประมงติดตามสถานการณ์เรือประมง ทั้งฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย เนื่องจากได้รับรายงานจากศูนย์ติดตามและควบคุมเรือประมง (FMC) ว่า แม้ว่าพิกัดจากเครื่องติดตามเรือส่วนใหญ่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า เรือประมงส่วนใหญ่กลับเข้าฝั่ง เพื่อป้องกันผลกระทบจากอิทธิพลของพายุ "ปาบึก" แต่ยังพบว่ามีเรือประมงขนาดใหญ่ฝั่งอันดามันยังไม่เข้าฝั่ง จึงสั่งการให้กรมประมงให้ประสานการปฏิบัติกับ ศรชล. เขต 3 เตรียมพร้อมให้การช่วยเหลือ หากเรือประมงลำใดร้องขอ ขณะที่ บริเวณฝั่งอ่าวไทยไม่มีเรือประมงกลางทะเล แต่พบว่ามีเรือประมงหลบตามเกาะมากกว่า 120 ลำ ก็ให้กรมประมงประสานกับ ศรชล. เขต 1 และเขต 2 เตรียมพร้อมเข้าช่วยเหลือด้วยเช่นกัน

messageImage_1546596371791 บาร์ไลน์ฐาน <