ปศุสัตว์พร้อมรับมือพายุ 'ปาบึก'

03 ม.ค. 2562 | 08:30 น.
กรมปศุสัตว์ตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจรับมือพายุโซนร้อน 'ปาบึก' มีรองอธิบดีเป็นหัวหน้าศูนย์ฯ เตรียมความพร้อม 24 ชั่วโมง ในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยง



140689
นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามที่มีประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง "พายุโซนร้อน 'ปาบึก' จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณ จ.นครศรีธรรมราช ในช่วงค่ำของวันที่ 4 ม.ค. 2562 โดยจะมีผลกระทบต่อภาคใต้ในช่วงวันที่ 3-5 ม.ค. 2562 ทำให้บริเวณดังกล่าวมีลมแรง ฝนตกเป็นบริเวณกว้างและมีฝนตกหนักมากบางแห่ง" นั้น

กรมปศุสัตว์ได้จัดทำและนำแผนเผชิญเหตุเร่งด่วนออกมาใช้สำหรับรับมือพายุโซนร้อน "PABUK" โดยในรายละเอียดแผนเผชิญเหตุนั้น ประกอบไปด้วย ตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยด้านปศุสัตว์ตลอด 24 ชม. โดยมีรองอธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือภัยพิบัติ (ด้านปศุสัตว์) หรือ War Room ซึ่งมีผู้อำนวยการส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์เป็นเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอาหารสัตว์เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ผู้อำนวยการกอง/สำนักในส่วนกลางทุกส่วนเป็นคณะทำงาน และให้เริ่มตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปกระทั่งเหตุการณ์สงบ เกษตรกรได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีและทั่วถึง และให้รายงานสถานการณ์ทุกวัน ๆ ละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ ให้ตั้ง War Room ด้านปศุสัตว์ทุกจังหวัด พร้อมจัดเตรียมบุคลากรและเครื่องมือให้มีความพร้อม 24 ชั่วโมง ประกอบด้วย จุดอพยพสัตว์ในพื้นที่เสี่ยงภัย ประสานอาสาปศุสัตว์และทีมท้องที่เพื่อชี้เป้า พร้อมรับในทุกสถานการณ์ รวม 162 แห่ง


ภาพรวมเสบียงสัตว์ทั่วประเทศ

หน่วยเคลื่อนที่เร็วรวม 36 หน่วย พร้อมช่วยด้านการรักษาพยาบาลสัตว์ การอพยพเคลื่อนย้ายสัตว์เลี้ยง การลำเลียงและขนย้ายเสบียงสัตว์ไปให้ความช่วยเหลือและเสบียงสัตว์ รวม 1,200 ตัน ในคลังเสบียงของศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ทุกแห่งในพื้นที่ประสบเหตุชั้นใน และอีก 3,200 ตัน ในพื้นที่รอบนอก คนและพาหนะพร้อมในปฏิบัติการ และถุงยังชีพปศุสัตว์เบื้องต้น 2,100 ชุด ซึ่งแต่ละชุดประกอบด้วย อาหารสัตว์สำเร็จรูป ยาและเวชภัณฑ์

สำหรับการช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และให้จัดทำเพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอและสามารถใช้ได้อย่างทันท่วงที เจ้าหน้าที่ด่านกักกันสัตว์ในพื้นที่ของปศุสัตว์เขต 7 เขต 8 และเขต 9 เตรียมความพร้อมไว้สูงสุด เพื่อเป็นกำลังเสริมในการประสานกับปศุสัตว์จังหวัด


แอดฐานฯ

นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวเพิ่มเติมต่อไปว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทุกหน่วยในพื้นที่เขต 7 เขต 8 และเขต 9 รวม 16 จังหวัด เร่งรัดการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ในการป้องกันดูแลปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยงของตนเอง หากพบเหตุต้องให้การช่วยเหลือเกษตรกรอย่างรวดเร็วเพื่อลดความเสียหาย โดยมีศูนย์ปฏิบัติการในส่วนกลางที่พร้อมประสานสรรพกำลังและเสบียงอาหารสัตว์พร้อมเวชภัณฑ์สัตว์ลงพื้นที่ประสบภัยเสริมได้ทันที ทั้งนี้ เป้าหมายเร่งด่วนของภารกิจครั้งนี้ คือ ลดการสูญเสียด้านปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยงให้น้อยที่สุด

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก