ผลการพิจารณาซองที่ 4 ยังไม่จบ การรถไฟฯต่อเวลาซีพีถึง 9 ม.ค.นี้

03 ม.ค. 2562 | 07:38 น.
ผลการพิจารณารถไฟเชื่อม 3 สนามบินซอง 4 ยังไม่จบ ร.ฟ.ท.ต่อเวลากลุ่มซีพี ส่งข้อเสนอเพิ่มเติมถึง 9 ม.ค.นี้ พร้อมเคาะวันถกร่วม 15 ม.ค.62

[caption id="attachment_369158" align="aligncenter" width="377"] นายวรวุฒิ มาลา นายวรวุฒิ มาลา[/caption]

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน (ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานอู่ตะเภา) ว่าคณะกรรมการได้มีรับทราบข้อเสนอ ซองที่ 4 (ข้อเสนอพิเศษ)ของ กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่มซีพี ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดในราคา 117,227 ล้านบาท จากวงเงิน 119,425 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการฯได้มีการเปิดซองไปแล้วในวันที่ 24 ธ.ค.2561 โดยในครั้งนี้ยังไม่ได้มีการเจรจากับกลุ่มซี.พี.แต่อย่างใด เพียงแต่มาพิจารณาข้อเสนอในซองที่ 4 (ข้อเสนอเพิ่มเติม) ร่วมกันเท่านั้น

โดยในส่วนรายละเอียดที่ทางคณะกรรมการฯให้ซี.พี.เสนอเพิ่มเติมมาภายในวันที่ 27 ธ.ค.2561 นั้น ซีพียังไม่สามารถส่งได้เนื่องจากติดช่วงเทศกาลปีใหม่ อีกทั้งเอกสารค่อนข้างมีจำนวนมากดังนั้นคณะกรรมการฯจึงได้ยืดเวลาให้ซี.พี.ส่งภายในวันที่ 9 ม.ค.62 นี้ หลังจากนั้นภายในวันที่ 15 ม.ค.จะมีการประชุมรายละเอียด โดยจะพิจารณาข้อเสนอในซองที่ 4 และข้อเสนอเพิ่มเติม

“เป็นการแจ้งต่อที่ประชุมว่า คณะกรรมการคัดเลือกได้เปิดซองที่ 4 ของกลุ่มซี.พี.ไปแล้วเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2561 ที่ผ่านมา และได้แจ้งให้ทางกลุ่มซีพีว่า หากยังมีข้อเสนออื่นๆเพิ่มเติมอีก ขอให้ส่งมาในวันที่ 27 ธ.ค. 2561 ทางกลุ่มซีพีตอบกลับว่า ขอเลื่อนส่งข้อเสนอเพิ่มเติมออกไปก่อน เนื่องจากวันที่ 27 ธ.ค. กระชั้นชิดเกินไปและอยู่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ทางคณะกรรมการคัดเลือกจึงเลื่อนให้ส่งข้อเสนอเพิ่มเติมเป็นวันที่ 9 ม.ค.นี้ หลังจากนั้นในวันที่ 15 ม.ค.จะมีการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อรับทราบข้อเสนอเพิ่มเติม และจะมีการนัดกลุ่มซีพีมาเจรจาต่อไป ส่วนข้อเสนอของกลุ่มซีพีนั้นยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ เพราะที่ปรึกษายังจัดหมวดหมู่ข้อมูลไม่เสร็จ บวกกับติดข้อบังคับในภาคผนวกข้อ 44 ตามทีโออาร์ห้ามเปิดเผยข้อมูล”

นายวรวุฒิกล่าวอีกว่าส่วนไทม์ไลน์เดิมที่จะเซ็นสัญญาในวันที่ 31 ม.ค.นี้ ถ้าไม่ทันก็จะต้องแจ้งต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรับทราบต่อไป ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับการเจรจาด้วยว่าจะจบช้าหรือเร็ว เพราะการเจรจาของรัฐจะต้องรอบคอบที่สุด เนื่องจากโครงการมีมูลค่าหลายแสนล้านบาท ขณะที่เอกชนก็ต้องการประโยชน์สูงสุดด้วย

“ขณะที่การเวนคืนหลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) การกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน พ.ศ. ….มีขั้นตอนการดำเนินการอยู่แล้ว เมื่อพ.ร.ฎ.ประกาศก็จะสามารถดำเนินการได้ทันที โดยจะเร่งให้เวนคืนให้เสร็จทันการก่อสร้าง แต่หากไม่ทันก็จะทยอยส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างในส่วนที่เวนคืนแล้วเสร็จไปก่อน”

ในส่วนการส่งมอบพื้นที่สำหรับพัฒนาเชิงพาณิชย์ทั้ง 2 ส่วนคือ พื้นทีมักกะสัน 150 ไร่ และพื้นที่ศรีราชา 25 ไร่ สำหรับศรีราชาเมื่อเซ็นสัญญาแล้วสามารถส่งมอบได้ทั้งหมดทันที ส่วนพื้นที่มักกะสันเบื้องต้นจะส่งมอบก่อน 100 ไร่ หลังจากนั้นจะทยอยส่งมอบอีก 50 ไร่ภายใน 5 ปี เนื่องจากจะต้องรื้อพ่วงรางรถไฟในบริเวณนี้ออกไปก่อน

ติดตามฐาน “ทั้งนี้ร.ฟ.ท. ได้ประเมินพื้นที่เวนคืน 850 ไร่ เช่น พื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา 550 ไร่ โดยเป็นพื้นที่เกษตรกรรม อ.บางน้ำเปรี้ยว 116 ไร่ สถานีใหม่ 76 ไร่ ศูนย์ซ่อมบำรุง 358 ไร่ นอกจากนี้ เป็นพื้นที่บริเวณสถานีลาดกระบัง ทางเข้าออกสถานีสุวรรณภูมิ และสถานีอู่ตะเภา กรอบวงเงินการเวนคืน 3,570 ล้านบาท ส่วนรายละเอียดแนวเส้นทางเดินรถไปสิ้นสุดที่ระยองนั้นยังไม่สามารถบอกได้ ต้องรอคณะกรรมการพิจารณาก่อน ส่วนไทม์ไลน์ที่ทางคณะกรรมการกำหนดไว้ว่าจะลงนามสัญญาภายใน31 ม.ค. นั้น หากการเจรจาต่อรองยังไม่สิ้นสุดก็จะต้องบอกรัฐบาลรายงานสถานการณ์ตามความเป็นจริงไป ซึ่งการเจรจาต่อรองใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานนั้นเป็นเรื่องปกติของรูปแบบให้เอกชนร่วมทุนฯอยู่แล้ว”

สำหรับสถานีรถไฟไฮสปีดเทรน จะมีทั้งหมด 15 สถานี ประกอบด้วยในส่วนเมือง คือ สถานีดอนเมือง, บางซื่อ, พญาไท, ราชปรารภ, มักกะสัน, รามคำแหง, หัวหมาก, ทับช้าง, ลาดกระบัง, และสถานีสุวรรณภูมิ ส่วนสถานีรถไฟระหว่างเมือง จะมีสถานีฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ศรีราชา และพัทยา สิ้นสุดที่สถานีอู่ตะเภา มีระยะทาง 220 กม. งบประมาณ 224,544 ล้านบาท บาร์ไลน์ฐาน