กนง.มองเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง

02 ม.ค. 2562 | 06:47 น.
2 ธ.ค.61-ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 8/2561 วันที่ 19 ธันวาคม 2561

กรรมการที่เข้าร่วมประชุม นายวิรไท สันติประภพ (ประธาน) นายเมธี สุภาพงษ์ (รองประธาน) นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาหนฤพุฒิ นายคณิศ แสงสุพรรณ นายสุภัค ศิวะรักษ์ นายสมชัย จิตสุชน

ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ

เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าขยายตัวชะลอลง แต่ส่วนใหญ่ยังขยายตัวได้สูงกว่าระดับศักยภาพ เศรษฐกิจ ประเทศอุตสาหกรรมหลักโดยรวมมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่แตกต่างกันมากขึ้น เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแรงส่ง ที่ดีขึ้นจากการใช้จ่ายภาครัฐหลังร่างงบประมาณรายจ่ายประจําปี 2562 ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา ขณะที่ เศรษฐกิจกลุ่มยูโรมีแรงส่งชะลอลงบ้างจากการส่งออก ตามทิศทางปริมาณการค้าโลกและความเชื่อมั่นของ ภาคเอกชนที่ลดลงจากปัญหาการเมือง ขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวใกล้เคียงที่ประเมินไว้จากการเร่งใช้จ่าย ก่อนการปรับขึ้นภาษีการบริโภค สําหรับเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มขยายตัวขะลอลง อย่างไรก็ดี รัฐบาลจีน ประกาศใช้มาตรการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและพยายามสร้างสมดุลในการดูแลทั้ง ด้านเศรษฐกิจและเสถียรภาพระบบการเงินควบคู่กัน ทําให้ความเชื่อมั่นทยอยปรับเพิ่มขึ้นบ้าง เศรษฐกิจ เอเซียมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง จากผลกระทบของมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ภาวะการเงินที่ทยอยตึงตัวขึ้น รวมถึงแรงกระตุ้นทางการคลังที่ปรับลดลงในบางประเทศ อย่างไรก็ดี การปรับขึ้น ค่าแรงขั้นต่ําในหลายประเทศมีส่วนสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนให้ขยายตัวต่อเนื่อง สําหรับการดําเนิน นโยบายการเงินของประเทศคู่ค้า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังคงทิศทางนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ทยอยลดระดับความผ่อนคลายของนโยบายการเงินโดยจะยุติการเข้าซื้อพันธบัตร (Asset Purchasing Program) ณ สิ้นปีนี้ตามที่ประกาศไว้ ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOI) ยังคงระดับ ความผ่อนคลายของนโยบายการเงินไปอีกระยะหนึ่ง สําหรับธนาคารกลางในประเทศภูมิภาคทยอยปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคา เช่น ฟิลิปปินส์ และเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย

คณะกรรมการฯ ประเมินว่า ในระยะต่อไปเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีโอกาสสูงขึ้นที่อาจขยายตัวได้ต่ํากว่า กรณีฐานตามความเสี่ยงจากนโยบายกีดกันทางการค้า รวมทั้งความไม่แน่นอนของผลกระทบต่อเศรษฐกิจและ ตลาดการเงินโลกจากการเจรจาออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit) คณะกรรมการฯ จึงเห็น ควรให้ติดตามพัฒนาการของความเสี่ยงดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและประเมินผลกระทบต่อแนวโน้ม การขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะเครื่องชี้ต้านตลาดแรงงาน

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว ภาวะตลาดการเงิน

ในช่วงที่ผ่านมา ราคาสินทรัพย์และค่าเงินส่วนใหญ่เคลื่อนไหวผันผวนตามความกังวลที่เพิ่มขึ้นของ นักลงทุนต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ความไม่แน่นอนของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธนาคารกลางสหรัฐฯ นโยบายกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมทั้งข้อตกลง Brexit ที่ยังไม่ชัดเจน ทั้งนี้ ปัจจัยพื้นฐานที่ดีและเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่เข้มแข็งทําให้นักลงทุนยังให้ความสนใจประเทศไทย โดยตลาดพันธบัตรมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิ์อย่างต่อเนื่อง และตลาดทุนมีเงินทุนไหลออกสุทธิน้อยกว่าประเทศใน กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets: EMs) ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินสกุลภูมิภาคส่วนใหญ่ปรับแข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่ได้รับประโยชน์จากราคาน้ํามันที่ปรับสตลง ขณะที่เงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. มีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับเงินสกุลภูมิภาค

คณะกรรมการฯ เห็นว่าในระยะข้างหน้าตลาดการเงินโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยมีสาเหตุหลักจาก (1) ทิศทางการดําเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก (2) มาตรการกีดกันทางการค้าที่ยังมี ความไม่แน่นอนสูง และ (3) ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ Brexit และการเมืองในกลุ่มประเทศยูโรที่อาจ รุนแรงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเงินทุนเคลื่อนย้าย ซึ่งจะกดดันราคาสินทรัพย์และค่าเงิน คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของตลาดการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดต่อไป

ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ

เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในระดับที่สอดคล้องกับศักยภาพตามแรงส่งของอุปสงค์ในประเทศเป็นสําคัญแม้อุปสงค์ต่างประเทศชะลอลง การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวดี ต่อเนื่องในทุกหมวดสินค้า โดยได้รับแรงสนับสนุนจากรายได้ครัวเรือนนอกภาคเกษตรที่ขยายตัวมากขึ้นใน เกือบทุกกลุ่มรายได้ รวมถึงแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐเพิ่มเติม อาทิ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 1 และ 2 รายได้ครัวเรือนภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงบ้างจากราคาสินค้าเกษตรที่สตลงเป็นสําคัญ รวมทั้งยังมีแรงกดดันจากหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ต้านการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น ตามความชัดเจนของการร่วมลงทุนของรัฐบาลและเอกชนในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(Eastern Economic Corridor: EEC) และแผนการลงทุนเพื่อย้ายฐานการผลิตของ บริษัทต่างชาติมาไทยในบางอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออก ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวชะลอ ลงตามการเลื่อนการลงทุนโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 ที่อยู่ระหว่างการทบทวนลําดับความสําคัญของ โครงการ ประกอบกับความล่าช้าในการจัดทําแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติซึ่งทําให้หน่วยงานภาครัฐ ชะลอการก่อหนี้ผูกพันในบางโครงการ รวมถึงความล่าช้าในการอนุมัติค่าเวนคืนที่ดินโครงการมอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี สาหรับแรงส่งจากอุปสงค์ต่างประเทศมีแนวโน้มชะลอลง มูลค่าการส่งออกสินค้า มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงตามปริมาณการค้าโลกและเศรษฐกิจคู่ค้าที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทาง การค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ประกอบกับวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอลง ขณะที่ผลดีจากการย้าย ค้าสั่งซื้อและการย้ายฐานการผลิตมายังไทยจะช่วยลดทอนผลกระทบได้บางส่วน การส่งออกภาคบริการ มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากแนวโน้มนักท่องเที่ยวจีนที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด เนื่องจากได้รับผลกระทบเพิ่มเติม จากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอลงและเงินหยวนที่อ่อนค่า ในระยะข้างหน้า จํานวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยายตัว ต่อเนื่องแต่ยังมีความท้าทายจากความสามารถของสนามบินที่รองรับจํานวนผู้โดยสารได้จํากัด

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก สําหรับประมาณการเศรษฐกิจไทย คณะกรรมการฯ คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2561 และ 2562 มีแนวโน้ม ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงตามอุปสงค์ต่างประเทศ ขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังมีแรงส่งต่อเนื่อง โดย คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.2 และ 4.0 ตามลําดับ ปรับสตลงจากที่ประเมินไว้ครั้งก่อนที่ ร้อยละ 4.4 และ 4.2 ตามลําดับ สาหรับความเสี่ยงต่อประมาณการเศรษฐกิจยังโน้มไปต้านต่ํา โดยโอกาสที่ เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่ํากว่ากรณีฐานมาจากปัจจัยต่างประเทศเป็นสําคัญ ได้แก่ (1) มาตรการกีดกันทาง การค้าของสหรัฐฯ ที่อาจเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น และ (2) ความผันผวนในตลาดการเงินโลกในกรณีที่ สหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปโดยไม่มีข้อตกลง (no-deal Brexit) นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงด้านต่ํา จากปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ (1) การบริโภคภาคเอกชนที่อาจขยายตัวต่ํากว่าที่ประเมินไว้ จากกําลังซื้อใน ประเทศที่ยังขยายตัวไม่ทั่วถึงโดยเฉพาะรายได้ภาคเกษตรที่อาจสตสงมากกว่าคาด และ (2) การใช้จ่ายภาครัฐ ที่อาจต่ํากว่าคาตจากข้อจํากัดในการเบิกจ่ายและการดําเนินโครงการลงทุนของภาครัฐ

คณะกรรมการฯ อภิปรายอย่างกว้างขวางถึงแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าและ ปัจจัยที่อาจส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามที่ประเมินไว้ โดยเห็นว่าแม้เศรษฐกิจมีแนวโน้ม ขยายตัวชะลอลง แต่ในภาพรวมยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับศักยภาพ วัฏจักรของการบริโภคภาคเอกชนและ การลงทุนภาคเอกชนอยู่ในช่วงเริ่มขยายตัว และปัจจัยสนับสนุนรายได้ครัวเรือนยังมีต่อเนื่อง เช่นเดียวกับ การส่งออกสินค้าและบริการที่เริ่มมีสัญญาณปรับดีขึ้น อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตาม ความต่อเนื่องของการจ้างงาน แนวโน้มการบริโภคภาคเอกชน แนวโน้มคําสั่งซื้อของการส่งออกสินค้า รวมทั้ง พัฒนาการของความเสี่ยงจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งจะกระทบต่อแนวโน้ม การขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน 2561 สูงกว่าที่ประเมินไว้เล็กน้อยตามราคาพลังงาน และราคาอาหารสดที่หดตัวน้อยลงเนื่องจากผลผลิตผักที่เสียหายจากโรคระบาด รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาดตามราคาอาหารสําเร็จรูป ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมี แนวโน้มใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ โดยคงประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2561 ไว้ที่ร้อยละ 1.1 และ ปรับลดประมาณการในปี 2562 ลงเล็กน้อยเป็นร้อยละ 1.0 จากเดิมที่ร้อยละ 1.1 ตามราคาน้ํามันดิบโลกที่มี แนวโน้มลดลงเป็นสําคัญ ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยคงประมาณการในปี 2561 ไว้ที่ ร้อยละ 0.7 แต่ปรับเพิ่มประมาณการสําหรับปี 2562 เป็นร้อยละ 0.9 จากเดิมที่ร้อยละ 0.8 ตามแรงกดดัน เงินเฟ้อต้านอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับราคาค่าโดยสารรถประจําทางที่จะปรับเพิ่มขึ้น ตามมติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง สําหรับความเสี่ยงต่อประมาณการอัตราเงินเฟ้อ ทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังโน้มไปด้านดําตามความเสี่ยงของประมาณการเศรษฐกิจ รวมทั้งราคา น้ํามันและราคาอาหารสดที่อาจต่ํากว่าที่ประเมินไว้

การดําเนินนโยบายการเงิน

คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องตามแรงส่งจากอุปสงค์ในประเทศ แม้อุปสงค์ต่างประเทศชะลอลงบ้าง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้เติม แต่มี ความเสี่ยงด้านต่ําเพิ่มขึ้นตามความผันผวนของราคาพลังงานและราคาอาหารสด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมี แนวโน้มสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ภาวะการเงินโดยรวมอยู่ในระดับที่ ผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ เสถียรภาพระบบการเงินโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีและความเสี่ยง บางจุดได้รับการดูแลในระดับหนึ่งด้วยมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน อาทิ มาตรการกํากับดูแลสินเชื่อ บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย รวมทั้งร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ที่แก้ไขเกณฑ์การกํากับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เห็นชอบแล้ว อย่างไรก็ดี กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าความจําเป็นในการพึ่งพานโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับที่ผ่าน มาลดน้อยลง และเห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินในครั้งนี้จะช่วยลดการสะสมความเปราะบาง ในระบบการเงินควบคู่กับมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ได้ดําเนินการไป คณะกรรมการฯ จึงมีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.50 เป็นร้อยละ 1.75 ต่อปี ขณะที่กรรมการ 2 ท่านเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี

595959859 ในการตัดสินนโยบายครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้อภิปรายถึงปัจจัยที่มีผลต่อการพิจารณาดําเนินนโยบาย การเงิน ดังนี้

1) เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง แม้การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มชะลอลงบ้างจาก ผลกระทบของมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน แต่การท่องเที่ยวเริ่มมีสัญญาณปรับตีขึ้นจาก จํานวนนักท่องเที่ยวจีนที่ทยอยเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันแรงส่งจากอุปสงค์ในประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวตามรายได้ครัวเรือนนอกภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้นและกระจายตัวมากขึ้น รวมทั้ง ได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐเพิ่มเติม การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวตามการย้ายฐาน การผลิตมายังไทย และโครงการร่วมลงทุนของรัฐและเอกชนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีความต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงด้านจากปัจจัยต่างประเทศ โดยเฉพาะมาตรการกีดกันทาง การค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน

กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจมีความต่อเนื่องชัดเจนเพียงพอและมีแนวโน้มขยายตัว สอดคล้องกับศักยภาพ สามารถรองรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ได้ โดยประเมินว่าการลด ระดับความผ่อนคลายของนโยบายการเงินลงเล็กน้อยจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจใน ระยะต่อไป แต่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ อย่างยั่งยืนในระยะยาว ความจําเป็นที่ต้องพึ่งพานโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับที่ผ่านมาจึงลดน้อยลง และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้จะช่วยสร้างขีดความสามารถในการดําเนินนโยบายการเงิน (policyspace) สําหรับอนาคตเมื่อมีโอกาส ขณะที่กรรมการอีกส่วนหนึ่งเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ในระดับปัจจุบันยังจําเป็นเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่อเนื่อง เพื่อให้การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเข้มแข็งขึ้น และช่วยเป็นแรงส่งของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าท่ามกลาง ผลกระทบของความไม่แน่นอนด้านต่างประเทศ รวมถึงเพื่อให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีการกระจายผลดี อย่างทั่วถึงมากขึ้น

2) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ แต่มีความเสี่ยงด้านต่ําจากความผันผวนของราคา พลังงานและราคาอาหารสด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามแรงกดต้นเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่ ปรับสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามแนวโน้มเศรษฐกิจ คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ในระดับปัจจุบันได้เอื้อให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเคลื่อนไหวสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อาทิ ผลกระทบจากการขยายตัวของธุรกิจ e-Commerce การแข่งขันด้านราคาที่สูงขึ้น รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่ทําให้ต้นทุนการผลิตลดลง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นช้ากว่าในอดีต แม้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวตีต่อเนื่อง

3) ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ และความเสี่ยงในระบบการเงินบางจุดได้รับการดูแลในระดับหนึ่งด้วย มาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ได้ดําเนินการไปแล้ว อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ เห็นว่าต้อง ติดตามพัฒนาการของตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและการปรับตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในช่วง ก่อนหลักเกณฑ์การค้ากับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเกณฑ์ใหม่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน ปี 2562 นอกจากนี้ ควรต้องติดตามการสะสมความเปราะบางจุดอื่น ๆ ในระบบการเงินที่อาจสร้างความเปราะบางได้ใน อนาคต อาทิ (1) พฤติกรรมการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนที่ทยอยปรับลดลง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับ กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ขณะที่สินเชื่อรถยนต์มีแนวโน้มเร่งตัวต่อเนื่อง อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ํา เป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบต่อฐานเงินออมในอนาคต โดยเฉพาะในภาวะที่ประเทศไทยกําลังเข้าสู่สังคม สูงวัย และ (2) พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ําเป็นเวลานาน ซึ่งอาจนําไปสู่ การประเมินความเสี่ยงต่ํากว่าที่ควร (underpricing of risks) เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ที่ยังให้ผลตอบแทนแก่ สมาชิกในอัตราสูง ทําให้สินทรัพย์ขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่อง และเป็นแรงกดดันให้ต้องแสวงหาผลตอบแทนที่ สูงขึ้น รวมทั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่มีบทบาทในระบบสหกรณ์มากขึ้นผ่านการให้กู้ยืมระหว่างกัน นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่มีการระดมทุนมากขึ้นในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ํา ทั้งจากสินเชื่อและ ตราสารหนี้ เพื่อขยายการลงทุนทั้งในกิจการเติมและกิจการที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลัก รวมถึงกิจการใน ต่างประเทศ จึงควรติดตามและประเมินความเสี่ยงใกล้ชิตมากขึ้น

คณะกรรมการฯ เห็นว่าการใช้เครื่องมือเชิงนโยบายผสมผสานกันทั้งอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการ ดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน (macroprudential measures) จะช่วยให้การดูแลเสถียรภาพระบบ การเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ําเป็นเวลานาน เอื้อให้เกิดการสะสมความเปราะบางในระบบการเงินต่อเนื่อง และเห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายใน ครั้งนี้จะช่วยทยอยปรับสมดุลต่อพฤติกรรมการบริโภค การออม การกู้ยืม และการลงทุน รวมทั้งช่วยสนับสนุน การขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยเฉพาะในภาวะที่ประเทศไทยกําลังเข้าสู่สังคมสูงวัย

คณะกรรมการฯ ได้อภิปรายอย่างกว้างขวางถึงผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มีต่อ ภาคส่วนต่าง ๆ ของระบบเศรษฐกิจไทย ทั้งภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และสถาบันการเงิน รวมทั้งคํานึงถึง แนวนโยบายการคลังในระยะข้างหน้าที่อาจมีแนวโน้มขาตตุลงบประมาณต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี ยังคงอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเติบโตของทุกภาคส่วน ในระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะติดตามการส่งผ่านอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปยังอัตราดอกเบี้ย เงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินภายใต้ภาวะที่สภาพคล่องในระบบการเงินไทยยังอยู่ ในระดับสูง เพิ่มเติมจากการที่อัตราผลตอบแทนในตลาดการเงินโดยเฉพาะพันธบัตรระยะสั้นได้ทยอยปรับตัว ไปก่อนหน้าแล้ว เพื่อให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพโดยไม่กระทบต่อศักยภาพของระบบเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้อภิปรายเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไป โดย เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายจะยังมีความเหมาะสมในระยะข้างหน้า และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบายจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยอาจไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่องตั้งเช่นในอดีต ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะ ประเมินสถานการณ์ตามพัฒนาการของข้อมูลเป็นสําคัญ (data-dependent) ทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อประกอบการดําเนิน นโยบายการเงินที่เหมาะสมในระยะต่อไป

สายนโยบายการเงิน 2 มกราคม 2562

รายละเอียดรายงาน  MPC_Minutes_82561_jr0ijjmq

[caption id="attachment_368633" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]