SMART HR ถ้ำหลวง ก้าวทันยุค Disruptive World

30 ธ.ค. 2561 | 02:00 น.
จากงาน “วันนักบริหารงานบุคคลแห่งประเทศไทย ประจำปี 2561” ของสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) ที่ผ่านมา ภายใต้แนวคิด Disrupt to Design HR "ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร" ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้ถอดบนเรียนผู้นำในภาวะวิกฤติ : The Emergence of the Disruptive Leader สู่การพัฒนาภาวะผู้นำ ในยุค Disruptive World ไว้อย่างน่าสนใจ

"ผู้ว่าฯ ณรงศักดิ์" ได้พูดถึง ยุคแห่งการแข่งขันในปัจจบุัน หากไม่มีการปรับตัวย่อมถูก Disrupt ได้ง่าย เงื่อนไขในการปรับตัวที่ควรคำนึงถึงคือ ความถูกต้อง (accuracy) และ ความเร็ว (speed) ซึ่งทั้ง 2 สิ่งนี้ มีความผกผันซึ่งกันและกัน ถ้าเราทำเร็ว ความถูกต้องจะลดลง แต่ถ้าเราทำถูกต้องความเร็วก็จะไม่ได้ และสำหรับในภาคธุรกิจ การตอบสนองต่อผู้บริโภคต้องเร็ว ไม่เช่นนั้นจังหวะและโอกาสก็อาจจะหายไป เป็นของผู้อื่น

การที่จะทำในเรื่องของความถูกต้อง (accuracy) และ ความเร็ว (speed ) การตัดสินใจของผู้นำองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และการจะเป็นผู้นำที่ทุกคนยอมรับ สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ วิสัยทัศน์ (Vision) ถ้าตัดสินใจแบบนี้จะเป็นแบบนี้ ถ้าไม่ตัดสินใจตอนนี้มันจะหายไป นอกจากนี้ ยังต้องมีการบริหารจัดการที่ดี (POSDCORB) ซึ่งประกอบด้วย Planning (การวางแผน) Organizing (การจัดองค์การ) Staffing (การบรรจุ)
Directing (การสั่งการ) Co-ordinating (การประสานงาน) Reporting (การรายงาน) และ Budgeting (การจัดทำงบประมาณ)

และอีกหนึ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้โดยเด็ดขาด คือ การประเมินผล (Assessment) ประเมินว่าแผนที่เราทำมันดีแค่ไหน ใกล้เป้าหมายแล้วหรือยัง ถ้ายัง ต้องไปดูว่าต้องไปแก้ตรงไหน นอกจากนี้ ผู้นำยังต้องมีการตัดสินใจ (Good Decision) ตัดสินใจอย่างรอบคอบ ทันถ่วงที และถูกต้อง รวมทั้งต้องกล้าตัดสินใจ เพราะในยุคที่ธุรกิจมันถูกดิสรัป เรารอไม่ได้ ต้องตัดสินใจเลย ไม่งั้นปัจจัยรอบข้างจะเปลี่ยน

[caption id="attachment_367778" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

"ผู้ว่าฯ ณงรงค์ศักดิ์" บอกอีกว่า ผู้นำที่ดียังต้องสอน และแนะนำลูกทีมได้ ผู้นำที่ดีต้องไม่ใช่ลงไปทำเองทุกอย่าง แต่ผู้นำมีหน้าที่ต้องสอน ให้เทคนิค แนะนำ กำหนดยุทธศาสตร์ ผู้นำที่เก่งแต่โค้ชหรือสอนไม่ได้ ก็เป็นผู้นำที่ดีไม่ได้ และผู้นำต้องใฝ่เติมเต็มความรู้อยู่เสมอ รวมทั้งมีคุณธรรม โปร่งใส (Morality & Accountability) การตัดสินใจแต่ละครั้งต้องแท็กกลับไปได้ว่า ผลประโยชน์ของใคร ทำไปเพื่ออะไร โดยผลประโยชน์ของบริษัทต้องมาก่อน หารเป็นผู้นำที่ให้เครดิตกับคนบางกลุ่ม ให้กับคนบางคน ไม่สามารถทำให้องค์กรเจริญได้

จากวิกฤติการณ์ที่ถ้ำหลวง คีย์ซัคเซสของภารกิจนี้ มีหัวใจหลักๆ คือ การตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยว (Vision and decisive decision making) การวางแผนที่ดี (well plan) การจัดการที่มีระบบ (Organization) และการมีวินัย (Discipline)

เริ่มจาการตัดสินใจที่ดี คือ การเลือกที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้ชำนาญการในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทีมซีล (SEAL) ทีมงานระดับเวิลด์คลาสจากประเทศต่างๆ ทีมดำน้ำ ทีมสูบน้ำ ทีมเดินป่า โดยในแต่ละวันของการทำงานจะมีการประเมินผลต่อเนื่อง หากเกิดข้อผิดพฃาด หรือไม่เป้นไปตามเป้า ก็ปรับปรุงแก้ไขทันที ทำให้ทุกอย่างเดินสู่เป้าหมายได้เร็วขึ้น โดยทีมงานทุกคนมีวินัย ไม่มีผลประโยช์ส่วนตัว ทุกคนถอดหัวโขนออกหมด และเคารพซึ่งกันและกัน

"เราต้องรู้ภารกิจ ทำแผน แล้วจ่ายงาน การสั่งงานต้องมีหลักวิชา ถ้าไม่รู้ ก็ต้องไปถามคนที่รู้ ทุกคนเคารพบริบทซึ่งกันและกัน เราถกปัญหากันให้จบในห้อง เราต้องเข้าใจบริบทของคน ทุกคนต้องถอดหัวโขนออกให้หมด และอยู่ภายใต้บริบทเดียวกัน ไม่มีใครอยากเป็นใหญ่ ผู้นำต้องให้เครดิต ให้เกียรติกับทุกคน คุยด้วยเหตุผล คุยด้วยหลักวิชา และทำงานเป็นทีม ไม่มีการไปคุยส่วนตัว ไม่มีใครด้อยกว่าใคร เขาคือ หนึ่งในทีม คุณทำคนเดียวไม่ได้ ในฐานะที่เป็นโค้ช ต้องเอาจุดแข็งแต่ละคนมาเล่นให้ได้ และต้องไม่ให้ใครได้เครดิตมากกว่าใคร นี่คึอ คีย์แห่งความสำเร็จ"

ผู้ซ่าฯ นักบริหาร ทิ้งท้ายว่า "อีกสิ่งคือ เครดิตที่ได้ต้องให้กับคนทุกคน ผู้นำพึ่งให้เครดิตกับทีมงานทุกคน และผู้นำไม่พึงแสดงตนว่าเป็นผู้ชนะ" นั่นคือวิธีการที่จะสามารถแข่งขันและชนะได้ใน ยุค Disruptive World

หน้า 26-27 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,430 วันที่ 27 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว