แบงก์รอฟันกำไรหลังโหมลงทุน IT ชี้ AI-Blockchain มาแรง

03 ม.ค. 2562 | 13:02 น.
เทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลต่อการทำธุรกิจแทบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบธุรกิจพฤติกรรมผู้บริโภค ตลาดแรงงาน วิธี

ทำการตลาดและธุรกรรมทางการเงิน นอกจากจะรวดเร็ว ซับซ้อนยังเชื่อมโยงส่วนต่างๆ เกือบจะไร้เส้นโดยเกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับระบบนิเวศ (ecosystem) ซึ่งคนที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงจะอยู่ได้

การเปลี่ยนผ่านธนาคาร ภายใต้ Digital Transformation นั้น แนวโน้มจะเห็นการนำเทคโนโลยีขั้นสูงประยุกต์ใช้มากขึ้นและมีผลกระทบทั้งการดำเนินชีวิต ธุรกิจ และองค์กรกำกับดูแลในอนาคต เช่น การพิมพ์ 3 มิติ (3D printing) ไบโอเทค  (Biotech)บิ๊กดาต้า (Big data) หุ่นยนต์ (Robotics) ปัญญาประดิษฐ์ (Aartificial intelligence:AI) , Blockchain, Clouds & Security, Internet of things , VR และ AR รวมถึง Quantum Computing

[caption id="attachment_367997" align="aligncenter" width="359"] วิรไท สันติประภพ วิรไท สันติประภพ[/caption]

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวในเวทีสัมมนา “SME กับการนำไทยให้ก้าวไกลไปกับโลกยุค 4.0” ว่า ธุรกิจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง 6 ด้านคือ 1.เศรษฐกิจเชิงแบ่งปัน (Sharing Economy) บนแนวคิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร โดยไม่ต้องลงทุนเป็นเจ้าของ เพิ่มโอกาสขยายธุรกิจและเข้าถึงเทคโนโลยี เช่น การใช้โมบายแบงก์ผ่านสมาร์ทโฟนแทนที่ธนาคารจะขยายสาขาเพิ่ม การใช้ที่ทำงาน Co- working space การใช้ Cloud computing แทนที่แต่ละธุรกิจต้องลงทุนเซิร์ฟเวอร์เอง 2.การใช้ประโยชน์จากถังข้อมูลรายธุรกรรมขนาดใหญ่ที่สามารถจัดเก็บในรูป อิเล็กทรอนิกส์และติดตามข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ (Big Data)

3.ธุรกิจจะแข่งขันเรื่องความเร็วโดยเฉพาะการตัดสินใจซื้อใช้เวลาสั้นผ่าน Social, e-commerce,แพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จต้องพร้อมที่จะตอบสนองต่อความคาดหวังของลูกค้า 4.อาชีพ ตำแหน่งงานในอนาคตจะถูกทดแทนด้วยระบบอัตโนมัติ หรือ ใช้หุ่นยนต์แทนคน 5.โครงสร้างประชากรก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงกลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ขยายตัวด้านบริการและการท่องเที่ยว และ 6.กฎเกณฑ์ กติกาหลายเรื่อง ต้องเปลี่ยนตามมาตรฐานของโลกยุคใหม่

นายอนุชิต อนุชิตานุกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ประธานสายพัฒนาระบบงาน ช่องทางขายและผลิตภัณฑ์ ธนาคาร เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์National e-Payment กระทรวงการคลัง และที่ปรึกษาNational Digital Identification Committee เปิดเผย“ฐานเศรษฐกิจ” ว่าปีนี้จะเห็น การพิสูจน์ตัวตนโดยใช้ Biometric และFacial Recognition เพื่อสร้างความรู้จักลูกค้าทั้งในส่วนของธนาคาร กลุ่มธุรกิจประกันและ กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งทั้งหมดมาจากการยกระดับ National ID และแนวโน้มธนาคารพาณิชย์ยังคงทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้บริการทางการเงินใหม่ๆ ด้วยการปรับตัวให้มีประสิทธิภาพและมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นผลดีต่อสังคมโดยรวมที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงเทคโนโลยี

MP14-3432-A

“แบงก์ยังคงทำหน้าที่ให้บริการชำระเงิน เพื่อให้เกิดการไหลเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจ แม้จะมีแพลตฟอร์มใหม่เอื้อต่อบริษัทขนาดใหญ่ระดมทุนได้โดยตรง แต่ยังจำกัดบริษัทรายเล็กกู้ตรงไม่ได้ เพราะปัจจุบันไทยยังอยู่ในขั้นตอนยกระดับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อมีข้อมูลที่ดีจะส่งเสริมธุรกรรม P2P Lendingนอกจากนี้ยังรวมถึงการพัฒนาวิธีเก็บเงินและเรียกเก็บหนี้ด้วย”

นายวีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด(มหาชน)กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า กระแสเทคโนโลยีที่กำลังจะเข้ามา เช่น 5Gหรืออื่นๆ จะทำให้ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ปรับเปลี่ยนไป เช่น จะเห็นการขยายฐานลูกค้าโมบายแบงกิ้ง แต่ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าธนาคารใด จะสามารถเพิ่มฐานลูกค้าใหม่เฉลี่ยปีละไม่เกิน 5-10% ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการเติบโตในอนาคต

บาร์ไลน์ฐาน

ดังนั้นทิศทางจากนี้ จะเห็นการหาพันธมิตรที่มีแพลตฟอร์ม เพื่อเป็น Partnership ขยายฐานลูกค้าที่ไม่ใช่ลูกค้าธนาคารอย่างเดียว เพราะบริษัทที่มีแพลตฟอร์มเองก็ต้องการขยายฐานลูกค้าจากธนาคารด้วย

นางรุ่ง มัลลิกะมาส รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร กรุงไทย จำกัด(มหาชน)กล่าวว่า ทิศทางปี 2562 จะเป็นช่วงเริ่มใช้เทคโนโลยีที่พัฒนามาทำเงินและขยายไปสู่กลุ่มลูกค้าอื่นๆ จากเดิมที่เน้นใช้ในกลุ่มลูกค้ารายย่อย แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเหล่านี้จะมาช่วยให้การเก็บข้อมูลและเข้าถึงข้อมูลง่ายขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกลงทำให้ลูกค้าตัวเล็กตัวน้อยสามารถเข้าถึงสถาบันการเงินได้ง่ายและเยอะขึ้น

หน้า 14 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,432 วันที่  3 - 5 มกราคม พ.ศ. 2562

ติดตามฐาน