ไม่รอ‘disrupt’ธุรกิจชูธง ‘ดิจิตอล’

03 ม.ค. 2562 | 07:42 น.
การเข้ามาของเทคโนโลยีและโลกดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็น AI , IoT ฯลฯ กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ประกอบการธุรกิจให้ความสนใจ และเลือกที่จะเรียนรู้ เพื่อปรับตัวตั้งรับ และนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจสูงสุด เห็นได้จากหลายองค์กรทั้งขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ต่างเลือกที่จะนำมาใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละองค์กร เช่น สตาร์ตอัพเลือกที่จะนำมาสร้างนวัตกรรมสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ที่สะดวก รวดเร็ว ขณะที่นักการตลาด นักโฆษณา เจ้าของกิจการเลือกที่จะนำข้อมูลต่างๆ หรือ Big Data มาวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละช่วงเวลา พร้อมทำโปรโมชันหรือพัฒนาสินค้าให้ตามต้องการ

“ยอมรับว่าการมีแพลต ฟอร์มใหม่ๆ เข้ามาเช่น AI, IoT ฯลฯ แม้จะดูเป็นสิ่งที่น่ากังวลว่าจะดิสรัปต์แต่โดยส่วนตัวยังเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ที่เข้ามาจะเป็นเพียงแค่เครื่องมือให้นักโฆษณา และนักการตลาดที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้แม่นยำ ตรงจุดและรวดเร็วเท่านั้น” นายรติ พันธุ์ทวี นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย และ Director of Associate Communication & Business Link ประจำสำนักงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด กล่าวแสดงความคิดเห็นกับ “ฐานเศรษฐกิจ” พร้อมยํ้าว่า

รติ พันธุ์ทวี.jpg

   รติ พันธุ์ทวี

“วันนี้การใช้คอมพิวเตอร์คิดแทนคนยังฟังดูเป็นเรื่องที่ห่างไกลในบ้านเรา เนื่องจากพฤติกรรมคนไทยที่เสพคอนเทนต์ยังไม่ได้มุ่งไปที่ออนไลน์ทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มคนต่างจังหวัด ดังนั้นนักโฆษณาจึงควรตระหนักเรื่องของแบรนด์และความคิดสร้างสรรค์มากกว่าที่จะกังวลเรื่องดังกล่าว และส่วนตัวเชื่อว่าแม้ในวันนี้ How to say จะเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม What to say ยังคงอยู่ ดังนั้นกลุ่มนักความคิดสร้างสรรค์จะยังไม่ตายทั้งในภาคของประชาชนและกลุ่มเอเยนซี”

ค้าปลีกขยับทัพสู้อี-คอมเมิร์ซ

กลุ่มธุรกิจค้าปลีก กลายเป็นกลุ่มที่ถูกจับตามองว่าจะได้รับผลกระทบจากการเข้ามาของเทคโนโลยีมากที่สุด เห็นได้จากยอดขายทุเรียนในอาลีบาบาที่ทะลุ 8 หมื่นลูกภายในเวลาแค่ 1 นาที หรือ LAZADA กับสถิติยอดขายแบบทะลุทะลวงด้วยยอดขาย 3,000 ออร์เดอร์ต่อนาที และ 1.2 ล้าน ออร์เดอร์ใน 60 นาทีแรก ในวันที่ 11.11 หรือวันที่ 11 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา แสดงถึงความทรงพลังของอี-คอมเมิร์ซที่กำลังมาแรง

แต่วันนี้กลุ่มธุรกิจค้าปลีกต่างลุกขึ้นมาขยับตัว พร้อมประกาศแผนเดินหน้าฝ่าสึนามิดิจิตอลที่กำลังถาโถมเข้ามา เริ่มตั้งแต่ทัพใหญ่ของกลุ่มเซ็นทรัล ที่เปิดยุทธศาสตร์ “นิวเซ็นทรัล นิวอีโคโนมี” ด้วยเทคโนโลยีและผู้นำดิจิ-ไลฟ์สไตล์แพลตฟอร์ม เริ่มตั้งแต่การทรานส์ฟอร์มตัวเองสู่ Tech Company โดยภาพนี้จะชัดเจนสมบูรณ์ใน 2-3 ปีข้างหน้า โดยกลยุทธ์ที่จะมาผลักดันให้กลุ่มเซ็นทรัลก้าวสู่ Tech Company เกิดขึ้นแบบ 360 องศา ไม่ว่าจะเป็นการผนึก Alliance ระดับโลกอย่างเจดีดอทคอม การช็อปปิ้งแบบออน ดีมานด์ รวมถึงการ M&A หรือการควบรวมและซื้อกิจการ เพื่อก้าวสู่ธุรกิจอี-โลจิสติกส์ และอี-ไฟแนนซ์ ก็เป็นหนึ่งในโมเดลธุรกิจที่เซ็นทรัลให้ความสนใจ ฯลฯ

[caption id="attachment_367501" align="alignright" width="342"] ทศ จิราธิวัฒน์ ทศ จิราธิวัฒน์[/caption]

“กลุ่มเซ็นทรัลจะเป็นนิว เซ็นทรัล จะเป็นองค์กรที่มีเทคโนโลยีลํ้าสมัย และเป็นบริษัทออนไลน์ชั้นนำ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแบบไลฟ์สไตล์ ออนดีมานด์” นายทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด กล่าวยํ้าเมื่อครั้งประกาศวิชัน 2018

ขณะที่ “เดอะ มอลล์ กรุ๊ป” ตั้งแผนรับมือกับการถาโถมเข้ามาของโลกอี-คอมเมิร์ซ โดยมุ่งเน้นนำ Big Data เข้ามาวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมนักช็อป ทำให้รู้ว่า สินค้าที่นิยมเลือกซื้อในอี-คอมเมิร์ซคือ เครื่องใช้ไฟฟ้า แฟชั่นเสื้อผ้า เครื่องหนัง รองเท้าและเครื่องสำอาง ขณะที่ธุรกิจร้านอาหาร จะเป็นธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบจากอี-คอมเมิร์ซ เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังนิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน ด้วยเพราะบรรยากาศและรสชาติ การบริการสั่งหรือส่งผ่านอี-คอมเมิร์ซ ยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ดี ดังนั้นค้าปลีกจึงต้องปรับตัว ด้วยการจัดสรรสินค้าและพื้นที่ให้เหมาะสมลงตัว

ในอนาคตภายในพื้นที่ค้าปลีกจึงจะเห็นพื้นที่แฟชั่นเสื้อผ้า เครื่องหนัง เครื่องสำอางตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลง แต่จะไปอยู่ในช่องทางขายผ่านออนไลน์ เว็บไซต์ มาร์เก็ตเพลสต่างๆ มากขึ้น และพื้นที่ในโซนร้านอาหารต่างๆ จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ยังไม่รับรวมกลยุทธ์การทำตลาดแบบ one on one ที่จะเจาะเข้าถึงนักช็อปรายบุคคล ชนิดที่โดนใจ และไม่อาจยับยั้งห้ามใจไม่ให้ช็อปได้

ไทยเบฟยกเครื่องเทคโนโลยีหลังบ้าน

อีกหนึ่งองค์กรใหญ่ที่นำ “เทคโนโลยี” เข้ามาปรับใช้อย่างเห็นได้ชัด คือ บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ หรือเบียร์ช้าง ในปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีการปรับโครง สร้างครั้งใหญ่ พร้อมกับนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหลังบ้าน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือเรื่องของซัพพลายเชน ซึ่งเป็นหน่วยที่ต้องเชื่อมโยงในหลายๆ ฝ่าย และเป็นหัวใจสำคัญของการผลิต ดูแลตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต บรรจุ ขนส่ง จนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ด้วยต้นทุนที่สูงมาก จึงเลือกที่จะนำดิจิตอลมาใช้ผ่านโครงการที่ชื่อ “สมาร์ท โปรเจ็กต์” ที่เน้นการบริหารจัดการคลังสินค้าการขนส่ง กระจายสินค้าให้มีการหมุน เวียนสินค้าให้เร็วขึ้นย่นระยะเวลาเหลือเพียงไม่เกิน 2 สัปดาห์ในการส่งสินค้าจากเดิมที่ใช้เวลา 1 เดือน

MP24-3432-AA นายโฆษิต สุขสิงห์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และผู้บริหารสูงสุดกลุ่มธุรกิจต่อเนื่อง บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บอกว่า นโยบายของบริษัทไทยเบฟฯ มุ่งเน้นการขับเคลื่อนการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการนำระบบเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ การผนึกบริษัทในเครือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในส่วนหลังบ้านมากขึ้น

“วันนี้ไทยเบฟวางแผนจะเปลี่ยนผ่านธุรกิจซัพพลายเชนครั้งใหญ่สู่ดิจิตอล (Digital transformation) และ ทำให้ซัพพลายเชนยกชั้นสู่ระดับโลก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน”

เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอีกกลุ่มที่นำเรื่องของเทคโนโลยีเข้ามาใช้ โดยเฉพาะ ในเซ็กเมนต์ทีวีที่ IoT เข้ามามีผลต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมออกสู่ตลาด ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต การควบคุมและสั่งการด้วยแอพพลิ เคชันผ่านโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น



[caption id="attachment_367502" align="alignleft" width="355"] นิพนธ์ วงษ์แสงอรุณศรี นิพนธ์ วงษ์แสงอรุณศรี[/caption]

นายนิพนธ์ วงษ์แสงอรุณศรี ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แอลจี อีเล็คทรอนิคส์ (ประเทศ ไทย) จำกัด สะท้อนให้ฟังว่า “นวัตกรรม IoT เข้าไปมีส่วนทำให้ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการเติบโตอย่างมาก แม้จะมีสัด ส่วนที่น้อยคือเพียง 3% แต่ส่วนใหญ่เจาะตลาดในระดับกลาง-บน แต่ตัวเลขดัง กล่าวเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีอยู่ไม่ถึง 1%”

แสดงให้เห็นว่ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอินโนเวชัน มีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากในอดีตแบบที่เรียกว่าก้าวกระโดด ขณะที่ราคาที่สูง เหมาะสำหรับผู้บริโภคระดับกลางขึ้นไป ทำให้สัดส่วนตลาด มีการเติบโตและเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว

“แอลจีนำ IoT เข้ามาใช้ในเมืองไทยตั้งแต่ปี 2560 ภายใต้ชื่อ “LG Smart Thinq Q” เริ่มต้นเป็นกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านราว 10 รุ่น แต่ปัจจุบันมีไลน์สินค้า IoT ราว 40 รุ่นทั้งเครื่องซักผ้า ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศ และเครื่องดูดฝุ่น ฯลฯ ซึ่งกระแสตอบรับที่ดี ทำให้วันนี้กลุ่มสินค้า IoT มี พอร์ตสินค้าราว 4-5% จากสินค้าทั้งหมด”

ในปี 2562 แอลจีจะให้ความสำคัญกับการขยายไลน์สินค้าที่เชื่อมต่อกับ  ioT และ AI เข้ามาทำตลาดมากขึ้น ซึ่งถือ เป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์หลัก โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่เทคโนโลยี AI เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นหลังจากปีนี้ได้เห็นเทคโนโลยี AI ในระบบโทรศัพท์มือถือในส่วนของภาษาไทยมาบ้างแล้ว ทั้งนี้เพื่อ เป็นการรองรับความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีอายุตํ่ากว่า 40 ปีลงมา (Gen Y) ที่ชื่นชอบความสะดวก สบายและมีไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย

ทุนไทยเร่งลงสนามค้าออนไลน์

อย่างไรก็ดีแม้การเข้ามาของเทคโนโลยีและดิจิตอลจะไม่ส่งผลต่อธุรกิจรับจ้างผลิต แต่การขายผ่านอิเล็ก ทรอนิกส์หรือ อี-คอมเมิร์ซ กลายเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ด้วยเพราะต้นทุนตํ่า เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในวงกว้าง สะดวก รวดเร็ว และสามารถเลือกซื้อได้ตลอด 24 ชม. ทำให้ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวรับกับกระแสอี-คอมเมิร์ซเช่นกัน

[caption id="attachment_367504" align="alignleft" width="342"] วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล[/caption]

โดยนายวิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเสื้อผ้ากีฬา “วอริกซ์” กล่าวว่า บริษัทไม่เน้นขยายสาขาร้านวอริกซ์เพิ่มขึ้น แต่จะให้ความสำคัญกับอี-คอมเมิร์ซ เป็นช่องทางการขายหลัก พร้อมกับสื่อสารทางการตลาดด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์มากกว่า

“1 ปีที่ผ่านมาบริษัทรุกการทำตลาดในออนไลน์และอี-คอมเมิร์ซบ้างพร้อมกับพัฒนาระบบหลังบ้านเพื่อรองรับอี-คอมเมิร์ซโดยใช้งบลงทุนกว่า 10 ล้านบาทและพบว่ามียอดขายเติบโต 10 เท่าตัว ส่วนในปี 2562 จะเพิ่มงบการทำตลาดและสื่อสารแบรนด์ในช่องทางออนไลน์ ขณะเดียวกันได้วางแผนระยะ 5 ปีนับจากนี้จะสร้างการเติบโตในอี-คอมเมิร์ซ โดยเริ่มต้นจากใช้งบลงทุนราว 10 ล้านบาทในการพัฒนามาร์เก็ตเพลสของบริษัท และเข้าร่วมในเว็บไซต์ออนไลน์อย่าง LAZADA และ SHOPPEE เป็นต้น โดยบริษัทวางเป้าหมายที่จะมีสัดส่วนยอดขายจากช่องทางอี-คอมเมิร์ซราว 50% ภายใน 5 ปีนี้” วันนี้เมื่อ “โลกดิจิตอล” เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง การจะเดินหน้าหนีอย่างไรคงไม่พ้น การเผชิญหน้าและเลือกที่จะต่อยอดให้เกิดประโยชน์ คือทางออกที่ดีที่สุด...

หน้า 24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,432 ระหว่างวันที่ 3-5 มกราคม 2562

595959859