5 เทคโนโลยีเปลี่ยนไทยปี 61

30 ธ.ค. 2561 | 05:17 น.
ผลกระทบจากคลื่นดิจิตอลไล่ล่า ดูจะเป็นแรงผลักดันให้การพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศ โดยเฉพาะเอกชน ต่างตื่นขึ้นมาหาทางทรานส์ฟอร์มธุรกิจเพื่อรับมือ หรือหนี ตาย ส่วนภาครัฐดูเหมือนจะเป็นกลุ่มที่ปรับตัวช้าสุด “ฐานเศรษฐกิจ” ฉบับส่งท้ายปี 2561 ได้เลือกปรากฏ การณ์ของเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในประเทศ ไทย ในห้วงปีที่ผ่านมา มานำเสนอ

ปกการเงินโมบายแบ้งกอ้ง ปรากฏการณ์แรก คือ การเติบโตของโมบายแบงกิ้ง ที่มีจำนวนผู้ใช้ 44 ล้านบัญชี เติบ โตขึ้น 55% มียอดการทำธุรกรรมโอนชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ต และโมบายเพิ่มขึ้น 82.2%  โดยการยกเลิกค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านโมบายแบงกิ้ง เป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้โมบายแบงกิ้งเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่นเดียวกับการเติบโตของพร้อมเพย์ ที่มียอดผู้ลงทะเบียนทั้งประชาชนทั่วไป และธุรกิจรวม 46 ล้านเลขหมาย  มีปริมาณธุรกรรมสะสม 1,002.74 ล้านรายการ และมีมูลค่าสะสม 5.1 ล้านล้านบาท

[caption id="attachment_367289" align="aligncenter" width="503"] Hands of Woman shopping on-line holding credit Card and Telephone making mobile Payment virtual Shop interface on white laptop Hands of Woman shopping on-line holding credit Card and Telephone making mobile Payment virtual Shop interface on white laptop[/caption]

ปรากฏการณ์ที่ 2 คือ อี-มาร์เก็ตเพลสไทย-เทศ ทยอยปิดตัว แม้ว่าธุรกิจค้าออนไลน์จะเติบโตขึ้น  แต่ทว่าท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงจากทุนใหญ่จากจีน ทำให้ผู้ให้บริการอี-มาร์เก็ตเพลสในไทยหลายราย ทยอยปิดตัว หรือพลิกธุรกิจไปเริ่มต้นตลาดดอทคอมเป็นรายแรกที่ออกจากเกมการแข่งขัน อี-มาร์เก็ตเพลส หรือเว็บไซต์สื่อกลางการติดต่อซื้อขายออนไลน์ โดยมี บริษัท ทีสเปซดิจิตอล จำกัด ในเครืออเดลฟอส กลุ่มทีซีซี กรุ๊ป เข้ามาถือหุ้น พร้อมทั้งปรับรูปแบบธุรกิจใหม่ ไปสู่ผู้ให้บริการแพลต ฟอร์มยูคอมเมิร์ซ แพลตฟอร์มกลางที่รวบรวมร้านค้าที่อยู่ตลาดดอทคอม มากกว่า 100,000 ราย เพื่อช่วยร้านค้านำสินค้าขึ้นไปขายบน อี-มาร์เก็ตเพลส ต่างๆ รวมถึงโซเชียลมีเดีย หลังจากนั้นจากอีเลฟเว่นสตรีท ผู้ให้บริการอี-มาร์เก็ตเพลสจากเกาหลีใต้ ที่ไม่สามารถหาผู้ร่วมทุนมาเติมเงินได้จนยุติกิจการไปหลังเปิดให้บริการมา 27 เดือน นอกจากนี้ยังมีโอรามิ ที่วางโพสิชันตัวเองเป็นช็อปปิ้งออนไลน์สำหรับผู้หญิง เข้ามาเปิดให้บริการเมื่อปีที่ผ่านมาก็มีกระแสข่าวปิดตัวลงไป

2121521-696x385 ปรากฏการณ์ที่ 3 คือ ฟองสบู่เงินสกุลดิจิตอลแตก โดยโปรเจ็กต์ที่ออก ICO ระดมทุนทั่วโลกกว่า 95% นั้นประสบความล้มเหลว  ในไทยยังมีข่าวสะเทือนวงการ คือโกงเงินบิตคอยน์หลอกให้ลงทุนในเงินดิจิตอลสกุล “Dragon Coin” (DRG) แลกกับเงินดิจิตอลสกุล “บิตคอยน์” มูลค่า 5,564,446 เหรียญ คิดเป็นเงินไทย กว่า 797 ล้านบาท รวมถึงมาตรการสกัดกั้นจากหน่วยงานภาครัฐ

blockchain ปรากฎการณ์ที่ 4 องค์กรแห่ใช้บล็อกเชน ธนาคารกสิกรไทยร่วมกับไอบีเอ็มในการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนสร้างระบบต้นแบบใช้รับรองเอกสารต้นฉบับ นอกจากนี้ได้ทำการทด สอบบริการบน Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย และจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ ได้แก่  การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

นอกจากนี้ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล และบจก.พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง ร่วมพัฒนาบริการหนังสือคํ้าประกันบนเทคโนโลยีบล็อกเชน (Enterprise Letter of Guarantee on Blockchain) เพื่อยกระดับการจัดการเอกสารหนังสือคํ้าประกันแก่หน่วยงานผู้รับหนังสือคํ้าประกัน และคู่ค้าผู้วางหนังสือคํ้าประกัน

MP23-3289-B ปรากฏการณ์สุดท้าย คือ องค์กรตื่นบิ๊กดาต้า โดยองค์กรธุรกิจต้องการนำบิ๊กดาต้ามาทำให้เข้าใจความต้องการของลูกค้า และกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น รวมทั้งอาจได้ข้อมูลในมิติที่หลากหลาย เห็นทิศทางหรือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่น่าสนใจ ทำให้สามารถวางกลยุทธ์การตลาด หรือการสื่อสารต่างๆ ได้ตรงกลุ่มและตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

โดยข้อมูลการสำรวจของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับบริษัท ไอดีซี รีเสิร์ช (ไทยแลนด์) จำกัด ระบุแนวโน้มอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าในปี 2561 จะมีอัตราการเติบโต 13.7% คิดเป็นมูลค่า 13,642 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 16.4% ในปี 2562 คิดเป็นมูลค่า 15,671 ล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้งานและลงทุนสูงสุดอย่างต่อเนื่องคือ กลุ่มการเงิน/ประกันภัย กลุ่มสื่อสาร/ขนส่ง และกลุ่มก่อสร้าง/ทรัพยากรธรรมชาติ  อย่างไรก็ตามข้อสังเกตในอีกกลุ่มที่กำลังให้ความสำคัญกับบิ๊กดาต้าคือ กลุ่มค้าส่งค้าปลีกที่มีการแข่ง
ขันสูง

หน้า 5 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,431 ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2561 - 2 มกราคม 2562

595959859