"ไอแอลโอ" นัด "บิ๊กอู๋" 30 ม.ค. 62 ลงนามอนุสัญญาฯ 188

26 ธ.ค. 2561 | 08:48 น.
รายงานข่าวจากระทรวงแรงงาน วันที่ 26 ธ.ค. 2561 มีกลุ่มชาวประมง 22 จังหวัดชายทะเล ที่ไม่ต้องการให้รัฐบาลไปรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 188 หรือ ซี 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคการประมง พ.ศ. 2550 เพราะมีหลายข้อเคลือบแคลงใจ ทั้งโครงสร้างเรือ ที่จะทำให้เกิดความยุ่งยากในอนาคตนั้น

ruuprathmntrii_180606_0004
กรณีดังกล่าวนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังจากการประชุมหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมชาวประมง 22 จังหวัด ว่า อนุสัญญาฉบับ 188 หรือ ซี 188 มีทั้งหมด 14 ข้อ โดย 10 ข้อ ได้ออกกฎหมายบังคับใช้หมดแล้ว เหลือเพียง 4 ข้อ ที่เป็นปัญหา มีการตั้งคณะอนุกรรมการฯ ขึ้น โดยจะมีผู้มีส่วนได้เสียเข้ามาเป็นคณะกรรมการ มีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน เพื่อให้ทุกคนได้หายข้องใจ เพราะจากการพิจารณาสัญญาดังกล่าวนี้ไม่มีผลกระทบกับประมงเลย แม้แต่ขนาดเรือ 300 ตันกรอสขึ้นไป ก็ไม่ได้บังคับ ยกเว้นเรือต่อใหม่เท่านั้น ซึ่งหากมีเรือใหม่ออกมา จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาทุกประการ ส่วนเรือประมงเก่าไม่เกี่ยวเลย ไม่ต้องทำอะไร ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 22 ของบทเฉพาะกาล


43880429_733481203680093_2630092359794163712_n

ส่วนที่เหลือที่จะต้องปฏิบัติอีก 4 ข้อ ได้แก่ มาตรา 8 เพิ่มเรื่องการตรวจหู ตรวจตา เพิ่มขึ้น (ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม) มาตรา 9 เรื่องการส่งตัวแรงงานกลับประเทศ กรณีแรงงานไปกลับเรือประมงนอกน่านน้ำ แล้วไปตกค้างยังต่างประเทศ นายจ้างมีหน้าที่ส่งแรงงานกลับประเทศ มาตรา 12 ประกันสังคม ก็ไม่ต้องทำ แต่สามารถทำประกันอื่น ๆ ทดแทนได้ หากมีความสงสัยอะไร ผ่านตัวแทนที่จะเข้ามาเป็นคณะอนุกรรมการฯชุดเล็กเพื่อสร้างความเข้าใจ พร้อมยืนยันว่า กฎหมายฉบับนี้ไม่มีผลกระทบต่อประมงพื้นบ้าน


WIFC@2x

พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าว ทางองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ "ไอแอลโอ" ได้นัดรัฐบาลไทยจะไปลงนามอนุสัญญาฯ 188 ในวันที่ 30 ม.ค. 2562 ยืนยันว่า กฎหมายฉบับนี้ได้ดำเนินการออกกฎหมายโดยผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ด้วยความชอบธรรม ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นทางเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน เว็บไซต์กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มีผู้ดาวน์โหลดเอกสาร 253 ครั้ง แสดงความคิดเห็น 5 คน การประชุมรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นายจ้าง ลูกจ้าง องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชนทั่วไป จำนวน 6 ครั้ง


โปรโมทแทรกอีบุ๊ก

นอกจากนั้น ยังได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานทั้ง 22 จังหวัดชายทะเล ไปสร้างการรับรู้ในประเด็นดังกล่าวให้กับผู้ประกอบการและแรงงานประมงได้รับทราบและเข้าใจ รวมทั้งการเชิญผู้แทนสมาคมประมงในพื้นที่จังหวัดชายทะเลมาพูดคุยหารือที่กระทรวงแรงงานอีกด้วย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ถือว่าเป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง สามารถแก้ไขปัญหาของผู้ประกอบการในการใช้แรงงานประมงได้อย่างยั่งยืน ที่สำคัญจะเป็นประโยชน์กับตัวแรงงานเองมากที่สุด รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน การใช้แรงงานบังคับและแรงงานผิดกฎหมาย โดยเฉลี่ยไทยมีการส่งออกสินค้าประมงไปทั่วโลกปีละกว่า 2 แสนล้านบาท


34600412_2125578100795067_6457214619202093056_n

อนึ่ง สาระสำคัญของอนุสัญญาฯ (ILO) ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานภาคการประมง ค.ศ. 2007 จะทำให้คนงานประมงมีสภาพการทำงานที่มีคุณค่าตามข้อกำหนดขั้นต่ำในการทำงานบนเรือประมง อาทิ มีข้อกำหนดขั้นต่ำในการทำงานที่ชัดเจน ทั้งในเรื่องอายุขั้นต่ำ มีใบรับรองแพทย์ก่อนลงเรือ มีเวลาพักขั้นต่ำ 10 ชั่วโมง จาก 24 ชั่วโมง และ 77 ชั่วโมง ใน 1 สัปดาห์ มีทะเบียนลูกจ้าง สัญญาจ้าง การจ่ายค่าตอบแทนผ่านระบบบัญชีธนาคาร มีที่พัก อาหาร น้ำดื่มที่เพียงพอเหมาะสม มียารักษาโรคเบื้องต้นกรณีเจ็บป่วย มีช่องทางการติดต่อสื่อสารกับบนฝั่ง มีอุปกรณ์ป้องกันเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ได้รับสิทธิความคุ้มครองด้านการประกันสังคม และเข้าถึงการดูแลรักษาทางการแพทย์ เป็นต้น เป็นเจตนารมณ์ความมุ่งมั่นที่จะสร้างหลักประกันการทำงานบนเรือประมงให้เกิดสภาพการทำงานที่มีคุณค่า (Decent Work) ซึ่งเป็นสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานที่ต้องได้รับการปกป้องดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงานอย่างเหมาะสมตามหลักปฏิบัติสากล

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว