เอ็มพีไอขยายตัวสูงสุดรอบ 5 ปี คาดทั้งปีจีดีพีภาคอุตฯ ทะยาน 2.8%

25 ธ.ค. 2561 | 10:13 น.
สศอ. เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) พ.ย. 2561 ขยายตัว 0.98% ได้รับแรงหนุนจากยอดการผลิตรถยนต์ น้ำตาลทราย น้ำมันปิโตรเลียม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และแผ่นวงจร รวมทั้งกระเป๋าเพิ่มขึ้น รวมทั้งยอดนักท่องเที่ยวแห่ทะลักเข้าได้ 3.17 ล้านคน คาดทั้งปีขยายตัว 3% สูงสุดในรอบ 5 ปี

นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) 11 เดือนแรก ปี 2561 ขยายตัว 2.99% มีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 68.61% โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมประจำเดือน พ.ย. 2561 ขยายตัว 0.98% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 69.37% โดยเอ็มพีไอทั้งปี 2561 คาดว่าจะอยู่ที่ 3% ซึ่งถือว่าสูงสุดในรอบ 5 ปี ส่งผลให้การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ภาคอุตสาหกรรมจะอยู่ที่ 2.8%

 

[caption id="attachment_366185" align="aligncenter" width="503"] นายณัฐพล รังสิตพล นายณัฐพล รังสิตพล[/caption]

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวกในเดือน พ.ย. 2561 ได้แก่ รถยนต์ น้ำตาลทราย น้ำมันปิโตรเลียม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และแผ่นวงจร รวมทั้งกระเป๋า มียอดการผลิตเพิ่มขึ้น รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน พ.ย. 2561 มีจำนวน 3.17 ล้านคน เพิ่มขึ้น 4.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยยอดการผลิตรถยนต์ขยายตัว 7.13% จากเครื่องยนต์ดีเซล รถปิกอัพ และเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ตามการขยายตัวของตลาดในประเทศเป็นหลัก จากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่และกิจกรรมส่งเสริมการขาย รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มสูง อย่างไรก็ตาม การส่งออกที่มีการชะลอตัวในประเทศแถบโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง ยุโรป อเมริกาเหนือ เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัว การผลิตรถยนต์เดือน พ.ย. 2561 มีจำนวน 197,020 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.49% แบ่งเป็น การผลิตรถยนต์นั่ง 40%, รถกระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ 59% และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ 1%


S-Curve อุตสาหกรรมยานยนต์

น้ำตาลทรายขยายตัว 236.44% จากการเปิดหีบเร็วกว่าปีก่อน 10 วัน (20 พ.ย. 61) ตามปริมาณผลผลิตอ้อยที่มีมาก เพื่อป้องกันปัญหาอ้อยตกค้างเหมือนปีก่อน น้ำมันปิโตรเลียมขยายตัว 11.24% จากแก๊สโซฮอล 95 และน้ำมันดีเซลเป็นหลัก ตามความต้องการใช้น้ำมันเพื่อการคมนาคมและการขนส่งในประเทศที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตต่อเนื่อง

ส่วนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และแผ่นวงจรขยายตัว 6.45% จาก Other IC และ PCBA ตามการขยายตัวของตลาดชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์ทั้งในประเทศและตลาดโลก กระเป๋าขยายตัว 125.03% เพื่อจำหน่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งปีนี้ลูกค้าสั่งผลิตกระเป๋าขนาดเล็กราคาถูกจำนวนมาก โดยเป็นลูกค้าจากตลาดในประเทศเป็นหลัก

นอกจากนี้ ในส่วนของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัว 0.2% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือน พ.ย. หดตัว 6.2% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวลดลง ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน อาเซียน และสหภาพยุโรป ในขณะที่ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขยายตัว 0.3% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากตลาดหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน


IMG_25590429_115419

อุตสาหกรรมสาขาอาหาร การผลิตในภาพรวม เดือน พ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.8% เพื่อรองรับผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตน้ำตาลทรายดิบ เนื่องจากปีนี้เข้าสู่ฤดูการเปิดหีบอ้อยเร็วกว่าปีก่อน ที่ด้วยปริมาณผลผลิตอ้อยที่คาดว่าจะอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง รวมทั้งการผลิตน้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์เพื่อทดแทนน้ำมันปาล์ม ประกอบกับการผลิตทูน่ากระป๋อง ซาร์ดีนกระป๋อง และแป้งมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความต้องการของตลาดส่งออก เศรษฐกิจโลกเริ่มโตเต็มศักยภาพและเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็เริ่มชะลอลง มูลค่าการส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารในภาพรวมปรับตัวลดลงในช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.4% จากการชะลอตัวในกลุ่มสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำตาล ข้าวขาว ลำไย กุ้งสดแช่เย็น-แช่แข็ง และสับปะรดกระป๋อง ส่วนสินค้าที่ส่งออกขยายตัว อาทิ แป้งมันสำปะหลัง ไก่แปรรูป ทูน่ากระป๋อง ซาร์ดีนกระป๋อง ข้าวหอมมะลิ และเครื่องดื่ม

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ในประเทศ หดตัวลดลง 9.74% และ 4.78% ตามลำดับ ในส่วนของการผลิตและจำหน่ายยางรถจักรยานยนต์/จักรยานในประเทศเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัว 12.53% และ 9.94% ตามลำดับ ตามการชะลอตัวลงของตลาด Replacement สำหรับถุงมือยาง/ถุงมือตรวจ หดตัว 33.15% ตามการขยายตัวของการส่งออก ในขณะที่ ปริมาณการจำหน่ายถุงมือยาง/ถุงมือตรวจในประเทศ หดตัว 14.16% ในภาพรวมอุตสาหกรรมถุงมือยาง/ถุงมือตรวจยังขยายตัวได้ โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศ การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออกยางรถยนต์และถุงมือยาง/ถุงมือตรวจเพิ่มขึ้น 8.53% และ 9.74% ตามลำดับ เนื่องจากตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยในสินค้ายางรถยนต์และถุงมือยาง/ถุงมือตรวจ มีการขยายตัวที่ดี


Template Info ดัชนี MPI (พ.ย

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตเดือน พ.ย. 2561 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า การผลิตเส้นใยสิ่งทอขยายตัว 7.89% ในกลุ่มเส้นใยสังเคราะห์และเส้นใยสมบัติพิเศษต่าง ๆ เช่น เส้นใยคอลาเจน เส้นใยอาระมิด สำหรับผ้าผืนหดตัว 1.95% โดยลดลงในกลุ่มผ้าทอฝ้าย เนื่องจากมีผู้ประกอบการโรงงานทอผ้ายกเลิกสายการผลิตผ้าฝ้าย ซึ่งความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและตลาดต่างประเทศลดลง อย่างไรก็ตาม การผลิตผ้าทอใยสังเคราะห์ยังคงขยายตัวตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ในส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูปหดตัว 2.40% ในกลุ่มชุดชั้นในสตรี

อย่างไรก็ตาม การผลิตเสื้อผ้าบุรุษและสตรียังคงขยายตัวการจำหน่ายในประเทศ เดือน พ.ย. ปี 2561 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า การจำหน่ายเส้นใยสิ่งทอหดตัว 3.48% เนื่องจากมีการนำเข้าเส้นใยยาวคุณภาพสูงจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาใช้ในการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก ในส่วนผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัว 8.64% และ 5.38% ตามลำดับ การส่งออกเดือน พ.ย. 2561 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า กลุ่มเส้นใยสิ่งทอและผ้าผืนหดตัว 8.30% และ 1.49% โดยลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกาและจีน สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัว 6.44% จากการที่ไทยได้รับความไว้วางใจในการผลิตเสื้อผ้าให้กับแบรนด์ต่างประเทศ


_MG_5810

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย. หดตัว 3.2% และเมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ เหล็กทรงแบนและเหล็กทรงยาว พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ โดยเหล็กทรงแบนหดตัว 3.3% เป็นการลดลงในผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เหล็กแผ่นรัดร้อนชนิดม้วน สำหรับเหล็กทรงยาวมีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัว 1.9% เป็นการลดลงในผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นกลม เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดเย็น และเหล็กเส้นข้ออ้อย การบริโภคในประเทศขยายตัว 1.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงแบนขยายตัว 14.8% สำหรับการบริโภคเหล็กทรงยาวหดตัว 20.1% จากการบริโภคเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ การส่งออกขยายตัว 34.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกเหล็กทรงยาวขยายตัว 69.6% แต่การส่งออกเหล็กทรงแบนหดตัว 0.6%

595959859