ครม. ผ่านร่าง "พ.ร.บ.อากาศยาน" ฉบับใหม่ ปลดล็อกให้สิทธิ์ต่างชาติถือหุ้นเกิน 51%

25 ธ.ค. 2561 | 09:58 น.
ครม. ไฟเขียว! ร่าง พ.ร.บ.อากาศยาน ฉบับใหม่ ปลดล็อกให้สิทธิ์ต่างชาติถือหุ้นเกิน 51% ขึ้นไป ไม่จำเป็นต้องมีคนไทยถือหุ้นใหญ่

ณัฐพร-1
นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติ ครม. ว่า ครม. มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการปรับปรุงด้านของความเป็นเจ้าของ เพราะปัจจุบันประเทศไทยมุ่งสู่ 10 S-Curv ใหม่ เรื่องการซ่อมบำรุงอากาศยาน คือ หนึ่งในนั้น จึงต้องการให้มีบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้เข้ามาทำธุรกิจให้มากขึ้น แต่ที่ผ่านมาติดปัญหาเรื่องบริษัทเหล่านี้ต้องต้องการเป็นเจ้าของส่วนใหญ่ แต่ พ.ร.บ.เดินอากาศ พ.ศ. 2497 ฉบับเดิม กำหนดว่าจะต้องเป็นคนไทยถือหุ้นใหญ่เท่านั้น ก็คือ 51% ขึ้นไป ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ.การเดินอากาศฉบับนี้ จึงเป็นการปลดล็อกเรื่องนี้ ไม่จำเป็นต้องมีคนไทยถือหุ้นใหญ่เท่านั้น ซึ่งเป็นสำหรับกรณีของที่เขาเรียกว่า ใบรับรองหน่วยซ่อมประเภทที่ 1 คือ การซ่อมอากาศยานทั้งลำ

"เรื่องที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้แก้ไข พ.ร.บ.การเดินอากาศ ฉบับเดิม คือ มิให้นำบทบัญญัติเรื่องทุนจดทะเบียนที่ต้องของผู้มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 และอำนาจการบริหารกิจการซึ่งจะต้องมีสัญชาติไทย มาบังคับใช้แก่คุณสมบัติและลักษณะขอผู้รับใบอนุญาตผลิตอากาศยาน ผู้ขอใบอนุญาตผลิตส่วนประกอบสำคัญของอากาศยาน และผู้ขอใบรับรองของหน่วยวซ่อมประเภทที่ 1 สำหรับอากาศยานที่มีมวลวิ่งขึ้นสูงสุดตั้งแต่ 5,700 กิโลกรัมขึ้นไป สำหรับผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ดังนั้น ต้องได้รับบีโอไอถึงจะถือหุ้นไม่ต้องถึง 51% ได้ สำหรับกรณีของต่างชาติ เพราะที่ผ่านมาจะมี พ.ร.บ.ต่างด้าว ที่จะควบคุมกิจการที่คนต่างด้าวทำได้หรือไม่ได้ แต่พอมีร่าง พ.ร.บ.การเดินอากาศ ฉบับใหม่ ก็จะช่วยปลดล็อกอีกชั้น เพราะเดิมทีการได้สิทธิบีโอไอไม่เพียงพอ"

เมื่อถามว่าจะช่วยให้ถือหุ้นได้ 100% ใช่หรือไม่ นายณัฐพร กล่าวว่า ใช่ สามารถได้ 100% แต่จะต้องได้รับการอนุมัติจากบีโอไอก่อน ที่จะมีเงื่อนไขอย่างเช่น เรื่องของการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ ด้วย ไม่ใช่ว่าอยู่ดีดีใครอยากจะเข้ามาตั้งบริษัทก็ตั้งได้

แอดฐานฯ