'สมคิด' ยังไม่เคาะแผนนำเข้ามะพร้าว ปี 62

24 ธ.ค. 2561 | 08:58 น.
บอร์ดพืชน้ำมันฯ เห็นชอบชะลอการนำเข้ามะพร้าวตามความตกลงของ WTO และ AFTA 62 ออกไปก่อน โดยจะมีการพิจารณาใหม่กลางเดือน ม.ค. อีกด้านเคาะเปิดตลาดเมล็ดถั่วเหลือง เพื่อใช้ในการบริโภคทั้งภาคอุตสาหกรรมหรือการผลิตอาหารสัตว์

c9bb4c7f0c9866b0e2f71540286cacd3f_15943642_๑๘๑๒๒๔_0048
นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า วันที่ 24 ธ.ค. 2561 ผลจากการหารือในที่ประชุม โดยมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ได้มีมติให้ชะลอการนำเข้ามะพร้าวตามความตกลงของ WTO และ AFTA ปี 2562 ออกไปก่อน จนกว่าจะมีข้อมูลจากคณะทำงานระดับจังหวัด โดยในช่วงกลางเดือน ม.ค. 2562 โดยจะนำข้อมูลจากทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกร ที่จะเสนอข้อมูลปริมาณมะพร้าวที่ผลิตได้ภายในประเทศ มาประกอบการพิจารณา


coconut-1125_1920

เพื่อให้การบริหารจัดการมะพร้าวในปี 2562 มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น คือ 1) การกำหนดสัดส่วนการซื้อมะพร้าว โดยมีแนวคิดว่าจะต้องมีการซื้อภายในประเทศให้หมดก่อน แล้วค่อยมีการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งสัดส่วนจะมีการพิจารณาร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง และ 2) การใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard Measure : SSG) ภายใต้ความตกลงเกษตรขององค์การการค้าโลก (WTO) มีการกำหนดให้นำเข้ามะพร้าวได้ และถ้าเป็นมะพร้าวแปรรูปและส่งออกไป ผู้ประกอบการสามารถที่จะขอคืนภาษีได้ โดยในปีที่ผ่านมาไม่ได้มีการกำหนดปริมาณ แต่ในปี 2562 กระทรวงเกษตรฯ เสนอว่า ถ้าไม่กำหนดปริมาณเลยและมีการนำเข้าเป็นจำนวนมาก จะมีผลกระทบต่อราคาเหมือนในอดีตที่ผ่านมา


TP8-3380-A-476x503

ดังนั้น จึงใช้มาตรการปกป้องพิเศษ โดยพิจารณาจากข้อมูลตัวเลขในช่วง 3 ปีย้อนหลัง ว่า มีปริมาณการนำเข้าเท่าไหร่ โดยเฉลี่ย 3 ปี อยู่ที่ 1.56 แสนตัน เพราะะนั้นในกรอบของการนำเข้า หากนำเข้ามาเพื่อแปรรูปแล้วส่งออกออกไปในรูปผลิตภัณฑ์ ถ้าไม่เกิน 1.56 แสนตัน จะสามารถขอภาษีคืนได้ แต่ถ้าเกินกว่า 1.56 แสนตัน จะต้องเสียภาษีในอัตราเพิ่มขึ้นเป็น 72% ถือเป็นมาตรการที่เข้ามาช่วยรักษาเสถียรภาพของราคามะพร้าว


soybean-1831703_1920

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการเปิดตลาดเมล็ดถั่วเหลือง ปี 2562 เนื่องจากมีปริมาณไม่เพียงพอ ซึ่งประเทศไทยผลิตได้เพียงประมาณ 4 หมื่นกว่าตัน ในขณะที่ ไทยมีความต้องการบริโภคทั้งภาคอุตสาหกรรมหรือการผลิตอาหารสัตว์เกือบ 3 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม การนำเข้าจะเป็นไปตามกรอบการเปิดตลาดในปี 2562 มีผู้ประกอบการที่สามารถนำเข้าได้ จำนวน 6 สมาคม และ 20 บริษัท และได้กำหนดให้ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือกับทางภาครัฐในการดูแลพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลือง


soybeans-2039641_1920

โดยได้กำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำตามชั้นคุณภาพ คือ เกรดถั่วเหลืองเพื่อสกัดน้ำมัน ราคา ณ หน้าฟาร์ม 17.50 บาท/กก. ราคา ณ หน้าโรงงาน กทม. 18.25 บาท/กก., เกรดถั่วเหลืองเพื่ออาหารสัตว์ ราคา ณ หน้าฟาร์ม 17.75 บาท/กก. ราคา ณ หน้าโรงงาน กทม. 18.50 บาท/กก. และเกรดถั่วเหลืองเพื่อแปรรูปอาหาร ราคา ณ หน้าฟาร์ม 19.75 บาท/กก. ราคา ณ หน้าโรงงาน กทม. 20.50 บาท/กก. ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดกรอบการบริหารการจัดการการนำเข้า จำนวน 3 ปี ซึ่งจะต้องมีการพิจารณากันปีต่อปี เพื่อพิจารณาการการเปิดตลาดต่อไป


4D383ABC-32F8-4C31-91C7-FBA41816C354

ด้าน นายพงษ์ศักดิ์ บุตรรักษ์ ประธานเครือข่ายผู้ปลูกมะพร้าวอินทรีย์และแกนนำเกษตรกรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เผยว่า ก็ดีใจ แต่เกรงว่าจะเป็นแค่โปรยยาหอม ไม่เชื่อใจรัฐบาลชุดนี้แล้ว มองว่า เอื้อกลุ่มทุนมากกว่าเกษตรกร หลายครั้งที่ถูกหลอกมาโดยตลอด ดังนั้น หลังปีใหม่หากไม่มีความคืบหน้าชัดเจนจำเป็นที่จะต้องมาทวงถาม เพราะชาวสวนต้องการความชัดเจนจากรัฐบาล เพื่อชะลอนำเข้าเพื่อยกระดับราคามะพร้าวในประเทศ

595959859