'อลงกรณ์' ข้องใจ! ถามจุดยืน ครม. ปฏิรูปภาษีเพื่อความเป็นธรรม หรือ "เอื้อนายทุน"

23 ธ.ค. 2561 | 07:47 น.
'อลงกรณ์' ข้องใจ! ถามจุดยืน ครม. จะปฏิรูปภาษีเพื่อความเป็นธรรม หรือ "เอื้อกลุ่มทุนใหญ่อสังหาริมทรัพย์" หลังคลังกลับลำกลางคัน "ร่างภาษีลาภลอย"

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และอดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ กล่าววันนี้ (23 ธ.ค. 61) ว่า ตามที่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ยืนยันจะไม่ผลักดันกฎหมาย "ภาษีลาภลอย" (Windfall Gain Tax) ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ทำให้แปลกใจว่า "เหตุใด สศค. จึงกลับลำกลางคันเหมือนโดนยาสั่ง" ทั้งที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2561 อนุมัติในหลักการร่างพระราชบัญญัติภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ พ.ศ. .... หรือ "ภาษีลาภลอย" โดยให้เหตุผลว่า ต้องการสร้างความเป็นธรรมระหว่างผู้ได้รับประโยชน์กับรัฐที่ต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และรายได้จากภาษีตรงนี้ทำให้รัฐสามารถนำไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติมได้ จึงขอถามรัฐบาลว่า "จะเดินหน้าออกกฎหมายภาษีลาภลอยต่อไปหรือไม่" และถ้ากลับลำ "ด้วยเหตุผลอะไร"


 

[caption id="attachment_365198" align="aligncenter" width="503"] อลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และอดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ อลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และอดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ[/caption]

"การยกเลิกการตรากฎหมายภาษีลาภลอยกลางคัน จะถูกตั้งข้อสงสัยว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับทุนใหญ่ด้านอสังหาริมทรัพย์และนักการเมือง หรือ เจ้าหน้าที่รัฐที่กว้านซื้อที่ดินล่วงหน้าในราคาถูกและขายต่อในราคาแพง หรือ ทำโครงการอสังหาริมทรัพย์ขายได้ราคาสูงและได้เปรียบผู้ประกอบการรายอื่น เพราะต้นทุนต่ำกว่าและยังได้เปรียบประเทศ คือ ไม่ต้องเสียภาษีลาภลอย ทั้งที่รัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด"

นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่า "ภาษีลาภลอย" (Windfall Gain Tax) เป็นการจัดเก็บภาษีจากเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการลงทุนของรัฐ เช่น การก่อสร้างรถไฟฟ้า รถไฟ ทางหลวง ท่าเรือ สนามบิน และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ทำให้ที่ดินหรือโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่รอบข้างมีมูลค่าสูงขึ้น เปรียบเสมือน "ลาภลอย" จากการลงทุนของรัฐที่ใช้งบประมาณจากภาษีประชาชน

 

[caption id="attachment_365200" align="aligncenter" width="503"] **หมายเหตุ : ภาพใช้เพื่อการประกอบข่าว **หมายเหตุ : ภาพใช้เพื่อการประกอบข่าว[/caption]

การจัดเก็บภาษีลาภลอยมีบังคับใช้ในต่างประเทศนานแล้ว ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส โปแลนด์ ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา เพื่อนำเงินส่วนนี้มาพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ที่ต้องใช้เงินในการลงทุนเป็นจำนวนมาก เป็นการขยายฐานภาษีที่เป็นธรรมต่อคนไทยทั้งประเทศ และเป็นการปฏิรูประบบภาษีให้ทันสมัย

สำหรับร่างกฎหมายภาษีลาภลอยที่ผ่าน ครม. กำหนดให้ผู้ที่เข้าข่ายต้องเสียภาษี ได้แก่ ผู้ขายที่ดินหรือห้องชุดที่ใช้ประโยชน์ในที่ดินเชิงพาณิชย์ มูลค่าสูงกว่า 50 ล้านบาท และผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นเจ้าของห้องชุดรอจำหน่าย ซึ่งอยู่รอบพื้นที่ที่มีโครงการพัฒนาของรัฐ โดยมีการจัดเก็บภาษีลาภลอย 3 รูปแบบ

1.เก็บระหว่างดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยกรมที่ดินจัดเก็บจากการขายหรือเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือห้องชุดทุกครั้ง ทั้งนี้ การเปลี่ยนมือไม่ใช่เป็นลักษณะการโอนมรดก ซึ่งกรณีการโอนมรดกนั้นจะเข้าข่ายการเสียภาษีมรดกแทน

2.เก็บเมื่อดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแล้วเสร็จแล้ว ซึ่งจะเก็บจากที่ดินหรือห้องชุดที่ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูงกว่า 50 ล้านบาท ส่วนนี้ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เจ้าของพื้นที่เป็นผู้จัดเก็บ

3.การจัดเก็บภาษีจะมีผลเฉพาะกับโครงการที่เกิดขึ้นใหม่เท่านั้น

ทั้งนี้ ยกเว้นให้กับที่ดินที่ใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยและที่ดินทำเกษตรกรรม

 

[caption id="attachment_365195" align="aligncenter" width="246"] บาร์ไลน์ฐาน เพิ่มเพื่อน [/caption]