ศิลปะ สร้างความงาม ความเชื่อและการปลุกเร้าอันสะเทือนจิตใจ ในมายาแห่งสัมผัส

22 ธ.ค. 2561 | 14:44 น.
S__11362405 ก่อนที่ผมจะนำเอาความเชื่อมาสร้างสรรค์เป็นผลงาน ผมมักจะนึกย้อนกลับไปถึงวัยเด็กอยู่บ่อยครั้ง วัยเด็กที่เวลาดูหนังยอดมนุษย์เรื่องหนึ่ง หรือ การ์ตูนบางเรื่องเรามักจะรู้สึกอยากที่จะเป็นแบบตัวละครที่เราชื่นชอบ เราจะพยายามแต่งตัวหรือแสดงออกด้วยท่าทางที่เหมือนกับตัวละครนั้น ๆ สำหรับตัวผมเองผมมีทัศนคติกับสิ่งนั้นว่ามันคงเป็นความศรัทธาบางอย่างที่ ณ เวลานั้นตัวเรามีให้กับสิ่งที่เราอยากจะเป็น หรืออยากให้มันเกิดขึ้น ด้วยวุฒิภาวะในวัยนั้นมันคงเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นและพบเห็นได้กับเด็กทั่วไป ผมจึงตั้งคำถามต่อไปว่า และถ้าหากตัวเราในปัจจุบันยังเป็นแบบนั้น สิ่งนั้นจะถูกเรียกว่าเป็นความงมงายในรูปแบบหนึ่งได้หรือไม่
S__11362412 S__11362413 เพราะหากเปรียบความเชื่อให้เป็นดั่งบทละครแล้วนั้นคงจะเป็นละครที่สามารถทำให้ผู้ชมทั้งหลายในโรงมหรสพเคลิบเคลิ้ม หลุดลอยไปกับจินตนาการที่ผู้แต่งและเหล่านักแสดงได้รังสรรค์สิ่งปรุงแต่งนั้นขึ้นมา บทละครที่เข้าไปเกาะติดกับจิตใจจนทำให้คนที่ชมละครเหล่านั้น ซึมซับเรื่องราวต่างๆลงไปในสามัญสำนึกครั้งแล้วครั้งเล่าและคล้อยตามจนประหนึ่งราวกับว่ามันเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ก่อเกิดเป็นความศรัทธาจากสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เชื่อหรือสิ่งที่ตนเองนั้นอยากเชื่อ ความศรัทธาจึงเปรียบเสมือนดามสองคมที่เป็นอาวุธอันทรงพลัง สร้างทั้งความหวัง ความฝันและความรัก สร้างสิ่งงดงามและอารยธรรม ในขณะเดียวกันหากมีศรัทธาอย่างขาดสติดาบที่ทรงพลังอาจย้อนกลับมาทำลายตนเองให้จมอยู่กับมายาภาพแห่งจิตปรุงแต่งของตน กลายเป็นความงมงาย หลงลืมสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุดของตัวตน นั่นคือ สติอันตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความเป็นจริง

[caption id="attachment_365021" align="aligncenter" width="320"] พัฒน์ดนู เตมีกุล /ศิลปิน พัฒน์ดนู เตมีกุล /ศิลปิน[/caption]

จุดประสงค์ที่ผมต้องการสื่อออกมาผ่านงานจิตรกรรมนั้นไม่ใช่การให้คำตอบหรือสร้างจุดจบของสิ่งที่สงใสว่าความเชื่อหรือความศรัทธานั้นเป็นสิ่งที่ถูกหรือผิด แต่เป็นการสร้างมุมมองอีกแบบหนึ่งขึ้น เนื้อหาในงานจึงสื่อถึง ความเชื่อที่ถูกปะปนกันของสิ่งสักการะรวมไปถึงศาสนาของบ้านเรา โดยผมได้หยิบเอาหุ่นแทนของความเชื่อต่างศาสนา เช่น ฮก ลก ซิ่ว กุมารทอง หรือพระภูมิเจ้าที่ ซึ่งในแต่ละวัตถุที่เราให้การสักการะก็มีความเชื่อ ต่างที่มา ต่างศาสนากันไปและมีความย้อนแย้งในตัวของมันเอง เช่น ความเชื่อในเรื่องของตัวเลข ในความเชื่อของจีนบอกว่าเลข 8 เป็นเลขมงคล แต่ในความเชื่อของไทยเลข 8 เป็นเลขไม่ดี สิ่งเหล่านี้จึงเป็นจุดที่ผมให้ความสนใจและนำมารวมกัน แสดงภาพแทนนั้นให้ออกมาเป็นรูปธรรมที่มีความจริงชัดเจน ซึ่งจับต้องได้

รูปแบบของงานจิตรกรรมจึงใส่ใจมากที่สุดและจำเป็นจนขาดไปไม่ได้ในงานของผมคือเรื่องของความงาม โดยจะใช้เทคนิคสร้างแสงเงา พื้นผิว ลวงตาให้เกิดความสมจริง ในขณะเดียวกันก็แสดงออกถึงความเพ้อฝัน ที่ (ไม่เหนือจริงจนเกินไป) ถ่ายทอดถึงความก้ำกึ่งระหว่างความจริกับสิ่งที่จิตปรุงแต่งขึ้น และนำเอาวัตถุที่สื่อถึงสัญลักษณ์ของเทพเจ้าหรือเหล่าเทวดา ภูตผีต่างๆมาใช้เพื่อสื่อสารให้เกิดความชัดเจนของเนื้อหาภายในผลงานมากยิ่งขึ้น
S__11362411 S__11362410 S__11362409 S__11362408 ประวัติศิลปิน
นายพัฒน์ดนู เตมีกุล
เกิดวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2534
E-mail [email protected]
Facebook nobbie rullet
Instagram Patdanu_nobbie

ประวัติการศึกษา
- ประถมศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญ เซ็นหลุยส์ Elementary school : Assumption College school
- มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก Middle school : Assumption College school
- ปวช. ช่างศิลปะ ลาดกระบัง High school : College of fine arts
- การศึกษานอกโรงเรียน เขตบางนา Non-Formal Education Centre
- มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์

ประวัติการแสดงผลงาน
- ประกวดศิลปกรรมนานาชาติ รางวัลที่ Children's art Biennale Bangladesh 2009 3rd prize
- วิทยาลัยช่างศิลปะ ลาดกระบัง รางวัลที่ 3 วาดเส้นหุ่นนิ่ง, ร่วมแสดงภาพหุ่นนิ่งสีน้ำมัน College of fine arts 3rd
Prize in still life drawings, Co exhibited still life oil painting.
- ร่วมแสดง ศิลปกรรมโตชิบ้า ปี 2558 Toshiba "Brings Good Things to Life" Art Competition 2015 , Co
Exhibited
- ร่วมแสดงศิลปกรรม UOB ปี 2558 UOB painting of the year 2015, Co exhibited
- ร่วมแสดงศิลปกรรมวาดเส้น หอศิลป์ มหาลัยศิลปากร ปี 2556 Silpakorn University Drawing Exhibition 2015,
Co Exhibited
- Transformation exhibition 2015 at bridge art space
- ผลงานร่วมแสดงในหนังสือ Drawing มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี 2556 Drawing displayed in Silpakorn university’s drawing book 2015
- ลงผลงานในนิตยสาร day beds (day beds magazine) ปี 2559 Art column in day bed magazine 2016
- ลงผลงานในนิตยสาร a day (a day magazine) ปี 2559 Art column in a day magazine 2016
- ผลงานแสดงภาพ รัชกาลที่ 9 Pacific City Club ปี 2559 The exhibition in remembrance of His Majesty King
Bhumibol Adulyadej "Father of the Land" 2016, Co exhibited
- นิทัศการ “ลุกยัง” มหาวิทยาลัยศิลปากร หอศิลป์ กรุงเทพฯ ปี 2559 Silpakorn Art Thesis exhibition 2016, Co exhibited
- แสดงเดี่ยวนิทรรศการ Dissecting-Desire ปี 2017 The exhibition Dissecting-Desire 2017 at S.A.C. Subhashok the arts centre
- ร่วมแสดงศิลปกรรม UOB ( ภาพดิจิตอล ) ปี 2561 UOB painting of the year 2018, Co exhibited
-แสดงเดี่ยวนิทรรศการ The play of faith ปี 2018 The exhibition The play of faith 2018 at So Gallery Changcui

[caption id="attachment_364936" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

595959859