รุมต้านการันตีกำไร 'ซีพี' หวั่น! รัฐเสียค่าโง่ไฮสปีด

20 ธ.ค. 2561 | 08:40 น.
201261-1531

องค์กรต้านคอร์รัปชันเตือนรัฐเสียค่าโง่! หากการันตีกำไรรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ด้าน คมนาคมค้านแหลกรับไม่ได้เงื่อนไขนี้ ไม่เคยมีธรรมเนียมปฏิบัติ อาจส่งผลกระทบ กลุ่มบีทีเอสเสียเปรียบ

การประมูลรถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน 2 กลุ่มทุนใหญ่ซีพีและบีเอสอาร์ ชิงดำกันสูสีจนไม่มีใครกล้าฟันธงว่า กลุ่มไหนเข้าวิน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีเสียงค้านจากองค์กรภาคประชาชนถึงความไม่เหมาะสม กรณีที่รัฐต้องเข้าไปอุดหนุนภาคเอกชน

 

[caption id="attachment_363855" align="aligncenter" width="503"] มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)[/caption]

นายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ให้สัมภาษณ์ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า โดยปกติในการที่เอกชนประมูลโครงการของรัฐ รัฐไม่จำเป็นต้องการันตีกำไรให้กับเอกชน เพราะการทำธุรกิจต้องถือว่า เอกชนเขาเก่งกว่าภาครัฐ และการทำธุรกิจเป็นเรื่องของการบริหารความเสี่ยง เพราะฉะนั้น เอกชนเขารู้ดีว่าเมื่อเขาจะลงทุนอะไร มันมีความเสี่ยงที่ทำให้เอกชนต้องศึกษาให้รอบคอบเสียก่อน ก่อนที่จะลงทุน

ส่วนกรณีที่มีข้อมูลว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน บริษัทซีพีฯ ที่ชนะการประมูล ขอให้รัฐการันตีกำไร 6% นายมานะ กล่าวว่า ถ้าไปการันตีวันข้างหน้ารัฐบาลก็อาจจะไปเสียค่าโง่ให้เอกชน

"ถามว่า ทำไมรัฐบาลจะต้องทำแบบนั้น ถ้าเขาไม่แน่ใจก็ไม่ต้องมาลงทุน รัฐบาลซับซิไดซ์สามารถทำได้เพื่อให้ต้นทุนมันต่ำ โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค เพื่อลดภาระของประชาชน อย่างบางโครงการเป็นโครงการที่ต้องลงทุนมหาศาลและยากต่อการคุ้มทุน สมัยก่อนมีโครงการสร้างโรงไฟฟ้า หรือ สร้างเขื่อน เอกชนก็ไม่กล้าลงทุน ถ้าเป็นแบบนั้นรัฐก็ต้องให้การสนับสนุน ดังนั้น การสนับสนุนของรัฐมีหลายอย่าง แต่ไม่มีที่ไหนหรอกที่จะมาการันตีว่า คุณจะได้กำไรเท่านั้นเท่านี้กี่เปอร์เซ็นต์"


TP06-3345-1

"โครงการนี้เข้าอยู่ในข้อตกลงคุณธรรม เพียงแต่ว่า เข้ามาอยู่ในข้อตกลงคุณธรรมหลังจากที่มีการเขียนทีโออาร์เสร็จแล้วและกำลังเข้าสู่การประมูล ซึ่งช้าเกินไป ทั้งที่องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันบอกกับรัฐบาลตลอดมาว่า โครงการไหนจะเข้าข้อตกลงคุณธรรมจะต้องให้ผู้สังเกตการณ์เข้าไปมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น ตั้งแต่การร่างทีโออาร์"

สอดคล้องกับแหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงคมนาคม ตอกย้ำว่า กรณีกลุ่มซีพีมีเงื่อนไขให้การรถไฟฯ การันตีผลกำไร 6% ตลอดการให้บริการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ออกมายืนยันว่า ที่ผ่านมา หน่วยงานรัฐไม่เคยการันตีกำไรให้เอกชนที่เข้ามารับงาน ดังนั้น จึงไม่สามารถรับข้อเสนอนี้ได้ เนื่องจากอยู่นอกเหนือจากทีโออาร์ สมมติเอกชนประสบปัญหาขาดทุน รัฐต้องควักจ่ายจุดนี้ที่ทำเกิดความกังวล ที่สำคัญคู่แข่งขันอีกฝ่าย คือ กลุ่มบีทีเอส ไมไ่ด้ยื่นข้อเสนอนี้มา หากทราบว่ามีการการันตีผลกำไร กลุ่มนี้อาจจะดัมพ์ราคาลงได้อีก เหมือนกับกลุ่มซีพี

 

[caption id="attachment_363851" align="aligncenter" width="347"] วรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน ในฐานะรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) วรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน ในฐานะรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)[/caption]

ด้าน นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน ในฐานะรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ไม่ทราบว่า เอาข้อมูลมาจากไหน ยืนยันว่า เป็นไปไม่ได้ ยังไม่รู้ว่าเงื่อนไขนี้อยู่ที่ซองไหน เนื่องจากซองข้อเสนอที่ 4 ยังไม่ได้เปิดทั้ง 2 กลุ่ม และยืนยันว่า ซองที่ 3 ถึงมีก็ไม่สามารถบอกได้ เนื่องจากขณะนี้ยังจัดทำตัวเลขกันไม่เรียบร้อย

ทั้งนี้ ไม่อยากบอกว่าเป็นข่าวเพื่อการเกทับอีกฝ่ายหรือไม่ ซึ่งได้บอกสื่อมวลชนไปแล้วว่า ในส่วนที่เป็นตัวเลขยังไม่สามารถบอกได้ในขณะนี้ ส่วนจะเอาข้อมูลข่าวมาจากไหน ระบุแค่เพียงแหล่งข่าว ต้องดูด้วยว่าจะเกิดความเสียหายขึ้นมาหรือไม่ ส่วนในทางปฏิบัติจะต้องมีการแพ้กันไปข้างใดข้างหนึ่ง ยกตัวอย่างว่าจะให้การรถไฟไปการันตีว่า แอร์พอร์ตลิงค์ว่าจะมีผู้โดยสาร 5 หมื่นคน ในปีแรกที่เปิดให้บริการ ย่อมเป็นไปไม่ได้แน่

"ต้องถามสื่อมวลชนที่นำเสนอว่า เอาข้อมูลมาจากไหนและจะเกิดความเสียหายตามมาหรือไม่ จะส่งเสริมให้เป็นการเกทับระหว่างซีพีและบีทีเอสหรือไม่ ประการสำคัญ ช่วงที่ผ่านมาจะพบว่า มีรัฐบาลการันตีโครงการอะไรบ้าง ถ้าการันตี รัฐจะทำเองไม่ดีกว่าเหรอ"


appMAP-3193-1

ส่วนกรณีโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินนั้น คณะกรรมการรถไฟ (บอร์ด) เพียงเสนอความเห็นภายหลังจากที่คณะกรรมการอีอีซีดำเนินการแล้วเสร็จ เป็นการรับทราบผลการดำเนินการเท่านั้น ทุกขั้นตอนเป็นการดำเนินการตามอำนาจที่คณะกรรมการอีอีซีรับผิดชอบ

"โครงการนี้ได้รับการออกแบบรูปแบบที่จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ คือ ไม่ต้องการให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเข้ามาใช้อำนาจแทรกแซง ชี้ทิศทางการดำเนินการ เป็นเพียงเสนอเพื่อทราบเท่านั้น หากมีข้อสังเกตความเห็นต่างก็นำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เท่านั้นเอง"

ด้าน นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า เงื่อนไขการพิจารณาร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชนในพื้นที่โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) อยู่ภายใต้กฎหมายของอีอีซี ซึ่งตามมาตรา 12 กำหนดไว้เลยว่า เมื่อได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ให้ถือว่าเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน โดยไม่ต้องมาผ่านกฎหมายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (พีพีพี) ของ สคร. แต่อย่างใด


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,428 วันที่ 20 - 22 ธ.ค. 2561 หน้า 01+15

บทความน่าสนใจ :
ขนส่งฯ เร่งจัดฟีดเดอร์ ป้อน "ไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-โคราช"
ร.ฟ.ท. ชง ครม. อนุมัติผลประมูล "ไฮสปีด" ม.ค. 62


เพิ่มเพื่อน
บาร์ไลน์ฐาน