กกต. เคาะห้ามติดภาพ "คนนอก" คู่ผู้สมัคร ส.ส. หาเสียง

19 ธ.ค. 2561 | 10:44 น.
กกต. ถกพรรคการเมือง กรณีติดรูปบุคคลอื่นร่วมกับผู้สมัครต้องเป็นสมาชิกพรรคเท่านั้น ชง กกต. ตั้งวอร์รูมสกัดป่วนหาเสียงโซเชียล ให้ "อำนาจ-ลบ-แก้ไข" ยังไร้ข้อสรุป เผย เสนอค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 200,000-2,000,000 บาท พร้อมไฟเขียวสังเกตการณ์เลือกตั้ง ยัน! ไม่มีเหตุผลต้องยุติ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข

 

[caption id="attachment_363581" align="aligncenter" width="503"] กกต.1 นายอิทธิพร บุญประคอง[/caption]

วันที่ 19 ธ.ค. 2561 นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต. แถลงภายหลังการหารือร่วมระหว่าง กกต. กับพรรคการเมือง ว่า เรื่องค่าใช้ในการหาเสียง ส.ส.แบบแบ่งเขต มีข้อเสนอตั้งแต่ขั้นต่ำ 2 แสนบาท ถึง 2 ล้านบาท เป็นการปรับขึ้นจากที่เดิม 1.5 ล้านบาท เพราะค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป บางพรรคบอกว่าควรจะน้อยกว่านี้

ส่วนค่าใช้จ่ายของพรรคมีข้อเสนอที่หลากหลาย แต่เบื้องต้น กกต. คำนึงถึงจำนวนผู้สมัครที่แต่ละพรรคจะส่งสมัครในแต่ละเขต เรื่องสถานที่ ขนาดของประกาศ ป้ายหาเสียงและจำนวน มีทั้งเสนอว่า เพียงพอ น้อยเกินไป และควรมีมากกว่าที่กำหนด เพราะเขตเลือกตั้งใหญ่ขึ้นและลดลง และอยากให้เร่งประกาศสถานที่ติดป้ายโดยเร็ว เนื้อหาในป้ายนอกจากที่ กกต. กำหนดเป็นตุ๊กตาว่า ให้มีรูปผู้สมัคร หัวหน้าพรรค และผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯของพรรค มีการเสนอว่า สามารถมีรูปคู่กับผู้สมัครบัญชีรายชื่อได้หรือไม่ ซึ่งอีกหลักการที่ต้องคำนึง คือ บุคคลนั้นเป็นสมาชิกพรรคหรือไม่ ขนาดประกาศหาเสียง A3 เล็กเกินไป การติดที่ศูนย์ประสานงานพรรคในแต่ละเขตนอกจากพื้นที่ กกต. กำหนด สามารถทำได้หรือไม่ รถแห่หาเสียง การใช้รถบรรทุกขนาดใหญ่ รถสี่ล้อเล็ก จักรยานยนต์ ติดป้ายเคลื่อนที่ ทำได้หรือไม่

ส่วนการรับฟังหลักเกณฑ์การหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ มีการหารือว่า นิยามการหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์มีกรอบแค่ไหน การนำหุ่นยนต์และป้ายแอลอีดีมาใช้หาเสียงได้หรือไม่ ซึ่ง กกต. ตีความว่า เป็นการหาเสียงแบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น การหาเสียงอาจจะเป็นสีสันการเลือกตั้งที่หุ่นยนต์จะเดินมาคุยกับประชาชน การกำหนดให้พรรคแจ้งรายละเอียดช่องทางหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรการควบคุมตรวจสอบเพื่อมีคำสั่งแก้ไข ลบให้ทันเวลา กรณีมีแอคเคาต์ปลอมชื่อผู้สมัครจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งมีการเสนอให้ กกต. ตั้งคณะทำงานวอร์รูม เพื่อให้พรรคการเมืองแจ้งเข้ามาโดยตรง และให้ กกต. แก้ข่าวเมื่อมีการหาเสียงที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงเสนอให้ กกต. จัดสรรงบในการหาเสียงผ่านอิเล็กทรอนิกส์ให้กับพรรคการเมือง

 

[caption id="attachment_363582" align="aligncenter" width="503"] กกต.2 นายอิทธิพร บุญประคอง[/caption]

"การหาเสียงผ่านอิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่การให้พรรคการเมืองขออนุญาต แต่ให้แจ้งชื่อว่าจะใช้ช่องทางไหน เมื่อไหร่ เพื่อทำให้มั่นใจว่าจะไม่มีการใส่ร้ายป้ายสี และหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดช่องทางการใช้ให้แจ้งเพียงครั้งเดียว"

ส่วนเรื่องการเสนอซื้อสื่อทางโซเชียลมีเดียเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดจะนำกลับไปพิจารณา ส่วนการตั้งวอร์รูมจะแล้วเสร็จในอีกไม่นาน เพราะมีการหารือกันทุกระยะ ซึ่งจะดูทั้งการหาเสียงและเรื่องทุจริตเลือกตั้งด้วย

อย่างไรก็ตาม การประชุมวันนี้เป็นการรับฟังความคิดเห็นจึงไม่ได้มีข้อสรุป แต่ กกต. จะมีการนำความคิดเห็นทั้งหมดไปพิจารณา เพื่อทำร่างระเบียบต่าง ๆ ให้เสร็จก่อนปีใหม่ ซึ่งขณะนี้เหลือร่างระเบียบที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ที่ กกต. ต้องพิจารณาอีก 8 ฉบับ

นายอิทธิพร กล่าวว่า ในที่ประชุมไม่มีพรรคการเมืองใดเสนอให้ใช้เบอร์เดียวทั่วประเทศ ส่วนที่มีการเสนอให้แก้ไขกฎหมาย หรือ ให้รัฐบาลใช้มาตรา 44 เพื่อให้การเลือกตั้งสะดวกขึ้น คงไม่ใช่หน้าที่ กกต. การที่ กกต. มีมติให้บัตรเลือกตั้งมีชื่อ โลโก้พรรคก็เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว

ส่วนการมีผู้สังเกตการณ์เลือกตั้งจากต่างประเทศนั้น นายอิทธิพร ระบุว่า เป็นประเด็นที่ กกต. ชุดก่อนดำเนินการมาตั้งแต่มี 2546 ให้มีผู้สังเกตการณ์เข้ามา กกต. เราเปิดให้ผู้สังเกตการณ์ที่ประสงค์เข้ามาสามารถเข้ามาได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และกฎหมายกำหนด เท่าที่หารือกับ กกต. ทั้ง 7 คน ทุกคนเห็นด้วยในหลักการที่จะให้เข้ามาสังเกตการณ์ได้ ไม่มีเหตุผลที่จะไปยุติ อะไรที่เคยทำก็ทำต่อไป อย่างกรณีของสหภาพยุโรป หรือ อียู ยังเป็นเพียงการแสดงความสนใจเข้ามา แต่ยังไม่ได้ขอเข้ามาอย่างเป็นทางการ เพราะว่ายังไม่มี พ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งเราจะประชุมเพื่อกำหนดท่าทีที่ชัดเจนเร็ว ๆ นี้ เมื่อถามว่า ท่าทีของ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.การต่างประเทศ มีผลต่อเรื่องนี้หรือไม่ นายอิทธิพร กล่าวว่า ไม่มีผลต่อการตัดสินใจของ กกต. ถ้าอ่านคำให้สัมภาษณ์ของนายดอน คิดว่าเป็นส่วนเสริมข้อมูลกันมากกว่าที่จะเป็นความเห็นที่ขัดกัน

ประธาน กกต. กล่าวอีกด้วยว่า ส่วนประเทศที่เคยเชิญเราไปสังเกตการณ์ ตามหลักเราก็จะเชิญให้เขาเข้ามา หรือ อย่างที่เป็นหน่วยงาน เช่น อันเฟรล ก็เป็นขาประจำที่เข้ามาดูอยู่แล้ว และ กกต. ก็ให้ทุกครั้ง ซึ่งเขาจะรู้ทุกครั้งอยู่แล้วว่า เขาจะต้องปฏิบัติอย่างไร เงื่อนไขและหลักเกณฑ์การขอเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งในไทยเราไม่ได้เปลี่ยน โดยหลักทั่วไป เมื่อถามว่า ขณะนี้ภาวะทางการเมืองไม่ปกติ จำเป็นต้องพิจารณาหรือไม่ นายอิทธิพร กล่าวว่า ภาวะทางการเมืองไม่ใช่เรื่องอยู่ในความรับผิดชอบของ กกต. สิ่งที่เราจะดู คือ ถ้าเขามาแล้วพร้อมจะปฏิบัติตามกฎระเบียบของเราหรือไม่ แต่อะไรที่มากกว่านั้นจะพิจารณาเป็นรายกรณี

595959859-6-503x60