สงครามการค้ากดดันตลาดเงิน-ทุนปีหน้า

19 ธ.ค. 2561 | 00:43 น.
กรุงศรีคาดเงินบาทสิ้นปี 62 อยู่ที่32.50/70ขณะครึ่งปีหลังแข็งค่าสุด 30.75 เตือนผู้ประกอบการป้องเสี่ยงเหตุตลาดเงิน-เศรษฐกิจโลกผันผวน/ชี้กนง.จะขึ้นดอกเบี้ยสู่ระดับ1.75%ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 ปี

[caption id="attachment_363206" align="aligncenter" width="503"] นายตรรก บุนนาค นายตรรก บุนนาค[/caption]

นายตรรก บุนนาค ประธานเจ้าหน้าที่ด้านโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) กล่าวว่า สภาวะความผันผวน ยังมีมากขึ้นและมีความไม่แน่นอนต่อเนื่องจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะสงครามการค้าที่ยังกดดันภาวะตลาดเงิน ประกอบด้วยภาวะเศรษฐกิจการค้าโลกที่ชะลอตัว ส่งให้ภาคส่งออกและท่องเที่ยวไทย ต้องเผชิญความท้าทาย แต่อุปสงค์ในประเทศยังเป็นความหวังจะฟื้นตัวเร่งการนำเข้า ช่วยลดแรงกดดันต่อการแข็งค่าของเงินบาทได้บ้างและกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายที่อาจกลับทิศอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ จะต้องติดตามนโยบายทางการค้า และการเจรจาเบร็กซิทที่ไม่แน่นอน

"ภาพรวมปีหน้าไม่หมู เพราะมีความเสี่ยงและหลายปัจจัยที่สำคัญคือ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนที่กดดันภาวะตลาด รวมถึงความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกซึ่งในส่วนของแบงค์ได้มีการพูดคุยกับลูกค้าที่ทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับต่างประเทศเพื่อประเมินผลกระทบหรือการเจรจา เบร็กซิท ที่เจอโรคเลื่อนระหว่างทาง ดูยังไม่มีความแน่นอน จึงแนะนำนักลงทุนทุกคนต้องประเมินสถานการณ์เพื่อเตรียมแผนสำรอง ไว้รองรับและต้องประเมินทางออกที่ดีขณะที่การป้องกันความเสี่ยงค่าเงินก็ยังจำเป็นต้องดูแลอย่างสมเหตุสมผลด้วย"

[caption id="attachment_363205" align="aligncenter" width="503"] นางสาวรุ่ง สงวนเรือง นางสาวรุ่ง สงวนเรือง[/caption]

นางสาวรุ่ง สงวนเรือง ผู้บริหารฝ่ายส่งเสริมธุรกิจ กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรี ระบุว่า ทิศทางสกุลเงินของประเทศเกิดใหม่(EM) มีแนวโน้มแข็งค่าจากปัจจัยการปรับนโยบายของธนาคารกลางแต่ละประเทศ และการเคลื่อนไหวของเงินทุนเคลื่อนย้ายโดยทิศทางค่าเงินบาทในปี 62 ยังมีความผันผวน โดยไตรมาสแรกคาดว่าจะเห็นเงินบาทที่31.00บาท/ดอลลาร์สหรัฐซึ่งแข็งค่ามากที่สุดในรอบ4ปีโดยเคลื่อนไหวในกรอบ 31.00-33.00บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ และครึ่งปีหลังเคลื่อนไหวในกรอบ 30.75-32.50บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทในสิ้นปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่เฉลี่ย 32.50-32.70บาท/ดอลลาร์

สำหรับเงินบาทที่ผันผวน ยังคงดำเนินต่อไป และครึ่งปีที่ผ่านมาอุปสงค์ภายในประเทศฟื้นตัวขึ้น น่าจะสนับสนุนกำลังซื้อภายในประเทศ ขยายตัวได้ตามคาด และเห็นยอดนำเข้าฟื้นตัวเพิ่ม เหล่านี้ น่าจะช่วยลดแรงกดดันการแข็งค่าของเงินบาทได้บ้างในปีหน้า ขณะที่เงินทุนเคลื่อนย้าย มีโอกาสที่จะกลับทิศในภาวะที่สภาพคล่องของโลกเริ่มตึงตัวบ้าง
ส่วนท่าทีของธนาคารกลางหลักนำโดยเฟดซึ่งธนาคารมองว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในวันพฤหัสนี้ อีก 1 ครั้งนับเป็น 4 รอบและปีหน้าตลาดคาดอย่างเก่งเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งจากนั้นกลางปีหน้าจะเป็นสัญญาณหยุดวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้น ขณะที่ตลาดปรับมุมมองจากเดิมที่สหรัฐจะรับมือข้อพิพาททางการค้าได้ดีกว่า น่าจะกำลังเปลี่ยนไปเพราะปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แผ่วลง

"ขณะนี้ดอกเบี้ยเฟดอยู่ที่ 2.25%ถ้าในวันพฤหัสเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งซึ่งตรงนี้จะเป็นปัจจัยที่จะเปลี่ยนเกมสกุลเงินดอลลาร์ที่เคยแข็งค่ามาต่อเนื่องในปีนี้และปีหน้ามีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงด้วยอัพไซด์ดอลลาร์สหรัฐจำกัด และเริ่มต้นวัฏจักรการคุมเข้มนโยบายการเงิน"

ด้านธนาคารกลางอังกฤษ(บีโออี) ธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ) คาดว่าจะคงดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์นี้ส่วนในประเทศไทยมีโอกาสสูงที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จาก 1.5 0% สู่ระดับ 1.75% ต่อปีซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 ปีโดยเชื่อว่าไม่กระทบตลาด เพราะอัตราปรับไม่สูงและได้รับสัญญาณจากธปท.มาตลอด โปรโมทแทรกอีบุ๊ก