ม็อบต้านบุกกรุง! ค้านสร้าง 3 เขื่อนใต้

17 ธ.ค. 2561 | 03:26 น.
S__164159501
วันนี้ (17 ธ.ค. 61) รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า มีกลุ่มชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบจากการสร้างเขื่อนภาคใต้ 3 เขื่อน ได้แก่ 1.โครงการวังหีบ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช 2.โครงการเก็บน้ำคลองสังข์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช และ 3.โครงการอ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่ว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ป่าบอน จ.พัทลุง ได้เดินทางมายื่นหนังสือผ่าน นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แล พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบดังกล่าวไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้เลย และยังไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ไม่ได้รับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการเลย


S__164159503

จากข้อสรุปความคิดเห็นของกลุ่มชาวบ้านใน 3 โครงการ คิดเห็นว่า ไม่สอดคล้องกับความต้องการของชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ได้เปลี่ยนไปจากเดิมและไม่มีความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ รวมไปถึงการก่อสร้างดังกล่าวส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ ทำลายวิถีชีวิตชุมชนดั้งเดิม โดยเฉพาะในพื้นที่อ่างเก็บน้ำคลองสังข์ ที่ชาวบ้านเคยได้รับผลกระทบจากอุทกภัยดินโคลนถล่ม และการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำกะทูน อ่างเก็บน้ำดินแดน และต้องอพยพย้ายมาอยู่ที่คลองสังข์


S__164159504

ดังนั้น เพื่อลดความขัดแย้ง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อเท็จจริงในพื้นที่ มีการร่วมกันหาทางออก ข้อเสนอของชาวบ้านเห็นว่า การจัดการน้ำในพื้นที่ไม่จำเป็นจะต้องสร้างอ่างเก็บน้ำที่ส่งผลกระทบมากเป็นวงกว้าง เปลี่ยนเป็นการจัดการน้ำขนาดเล็ก อาทิ เช่น การทำฝายมีชีวิต น่าจะเป็นรูปแบบการจัดการน้ำที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับข้อสรุปของคณะทำงานที่แต่งตั้งโดย นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่สำคัญจะได้ศึกษาถึงแนวทางเลือกอื่นที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของชาวบ้าน


สิ่งที่ชาวบ้านคัดค้าน มีดังนี้

1.วัตถุประสงค์ของโครงการไม่สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เช่น กรณีเขื่อนวังหีบ มีการเสนอให้จัดการน้ำ ตั้งแต่ปี 2523 เพื่อนำน้ำมาใช้ในการทำนา แต่ปัจจุบันไม่มีนาแล้ว กรณีเขื่อนคลองสังข์ ปี 2519 มีชาวบ้านถวายฎีกาขอพระราชทานอยากได้น้ำทำนาและเลี้ยงสัตว์ ส่วนเขื่อนเหมืองตะกั่วมีประธานสภาจังหวัดนำเสนอปี 2533 จะเห็นว่าแต่ละโครงการได้ทำการศึกษามานานและปัจจุบันความต้องการของพื้นที่เหตุการณ์ปัจจุบันเปลี่ยนหมดแล้ว


090861-1927-9-335x503-335x503-2-335x503

2.พื้นที่วังหีบและเหมืองตะกั่ว บริเวณที่จะดำเนินการโครงการเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและมีน้ำตกสวยงาม ซึ่งถือว่าชุมชนมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่สมบูรณ์อยู่แล้ว ส่วนที่คลองสังข์มีพื้นที่โพรงน้ำใต้ดิน ยังไม่มีการสำรวจให้ชัดเจนว่า เมื่อมีโครงการมีผลต่อโพรงน้ำใต้ดินอย่างไร สรุปขอยกเลิกโครงการก่อสร้าง 3 เขื่อน ด้วยเหตุลผลต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น


บาร์ไลน์ฐาน-16