ข้าพระบาท ทาสประชาชน : ปัญหาที่ใหญ่กว่าวิกฤติการเมือง ที่ คสช.ไม่ควรมองข้าม

14 ธ.ค. 2561 | 13:38 น.
คสช.2 ภป-45ปี14ตุลา ช่วงชีวิตในวัยนักศึกษามหาวิทยาลัย นับตั้งแต่ปี 2516 ตราบจนถึงในวัยปัจจุบันร่วม 45 ปี ซึ่งเป็นช่วงชีวิตแห่งเวลาและประสบการณ์ ทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ กับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและต่างประเทศ ที่คนร่วมยุคสมัยกับผู้เขียนคือ “คนยุค 14 ตุลา” ได้เคยเห็นและสัมผัสมา ต่างได้เคยเห็นปัญหาวิกฤติทางการเมืองครั้งสำคัญในบ้านเมืองของเรามาแล้ว

ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์วิกฤติเหล่านั้นแทบทุกเหตุการณ์ จึงขอแชร์ประสบการณ์และสนับสนุนต่อความคิดและความห่วงกังวลที่ อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี ได้เสนอต่อสังคมและต่อรัฐบาล คสช. กลุ่มและพรรคการเมืองต่างๆ ในการปาฐกถา 45 ปี 14 ตุลา ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ “มองประเทศไทยหลังการเลือกตั้ง ปัญหาที่ใหญ่กว่าวิกฤติการเมือง”

จะเข้าใจปัจจุบันก็ต้องเรียนรู้อดีต ประเทศไทยบ้านเมืองของเรา เคยผ่านเหตุการณ์วิกฤติทางการเมืองครั้งสำคัญๆ ที่ร้ายแรงมาแล้วถึง 6 ครั้งในช่วงระยะเวลา 45 ปีมานี้ คือ

1. เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งบางตำราถึงขนาดเรียกว่า “14 ตุลาวันมหาวิปโยค” ซึ่งเป็นเหตุการณ์วิกฤติทางการเมือง อันมีสาเหตุจากประชาชนทั่วประเทศ โดยมีขบวนการของนักเรียน นิสิต นักศึกษา เป็นหัวหอกนำ เรียกร้องต้องการรัฐธรรมนูญ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่รัฐบาลทหารจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร ที่ครองอำนาจปกครองมาโดยต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี 2500 ไม่ยอมตามข้อเรียกร้องประชาชน ปรับตัวไม่ทันต่อสถานการณ์บ้านเมืองและโลกในยุคสมัย
ee49a84253465771a0f941e74b2e8fe63c17447a61a3c68ea8f2a0005617c996 จึงเกิดการชุมนุมประชาชนเรือนแสนเรือนล้าน มีการปะทะด้วยอาวุธระหว่างรัฐบาลทหารกับประชาชนเกิดการบาดเจ็บล้มตาย เกิดเป็นวิกฤติจลาจล ที่สุดก็ยุติได้ด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 ดังเป็นที่ชาวไทยทราบกันดีโดยทั่วไป

2. เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เป็นเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่ร้ายแรงที่สุด โหดร้ายอำมหิตป่าเถื่อนที่สุดในประวัติศาสตร์ นี่ก็เป็นวิกฤติที่เกิดจากฝ่ายอำนาจรัฐใช้กำลังปราบปรามประชาชน นิสิตนักศึกษา อันเกิดจากความขัดแย้งทางการเมือง จนเป็นเหตุให้นักศึกษาประชาชน บาดเจ็บล้มตายอย่างโหดเหี้ยมอำมหิต จำนวนมากที่รอดชีวิต จึงหนีตายและหนีการจับกุม เข้าร่วมการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยหลายหมื่นคน เป็นความผิดพลาดของฝ่ายอำนาจรัฐ ที่ผลักประชาชนไปเป็นมิตรกับศัตรูรัฐบาล จนประเทศตกอยู่ในภาวะสงครามภายในประเทศรุนแรงที่สุด ในช่วงปี 2519-2523 เหตุการณ์จึงค่อยๆ ยุติความรุนแรงลงเมื่อรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้ประกาศคำสั่งที่ 662523 นั่นเอง

[caption id="attachment_361267" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

3. เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลที่มี พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ยอม “เสียสัตย์เพื่อชาติ” การต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 17-24 พฤษภาคม 2535 เหตุการณ์ดังกล่าวได้เกิดความรุนแรงจลาจลขึ้นทั่วกรุงเทพมหานครและในต่างจังหวัด จากการที่รัฐบาลใช้กำลังทหารปราบปรามประชาชน มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ พิการ และสูญหายจำนวนมาก โดยรัฐบาลแถลงว่ามีผู้เสียชีวิต 40 คน บาดเจ็บ 600 คน อันเป็นบาดแผลทางสังคมและรอยด่างในประวัติศาสตร์ตราบเท่าทุกวันนี้ ความรุนแรงดังกล่าวได้ยุติและสงบลงก็ด้วยพระบารมีของในหลวงรัชกาลที่ 9 เช่นเดียวกัน

4. จากเหตุวิกฤติการเมืองต่อเนื่องกัน 3 ครั้ง ปี 2540 ก็เกิดเหตุวิกฤติทางเศรษฐกิจครั้งร้ายแรง ที่เรียกว่า “วิกฤติต้มยำกุ้ง” อันเป็นผลจากการบริหารประเทศที่ผิดพลาดของฝ่ายการเมืองรัฐบาล พล.อ.ชวลิตยงใจยุทธ จนประเทศแทบล้มละลาย เศรษฐกิจล่มสลาย ไทยต้องขอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ คนไทยจนกันทั้งประเทศ ยกเว้นนักธุรกิจการเมืองบางคน ได้กำไรจากการล่มสลายของประเทศ จนมีเงินรํ่ารวยมาตั้งพรรค การเมืองในยุคต่อมา เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 และมีการเลือกตั้งทั่วไป นี่ก็เป็นผลจากการเมือง

5.วิกฤติการเมืองอันเกิดจากระบอบทักษิณ เมื่อระบอบทุนใหญ่เข้ามามีอิทธิพลในทางการเมือง สามารถใช้กำลังเงินทุนขนาดใหญ่เข้ายึดกุมอำนาจทางการเมือง ผ่านกระบวนการการเลือกตั้งที่เปิดช่อง การเข้ามาของอำนาจทุนขนาดใหญ่ที่รวมตัวกัน ที่เรียกว่า “สัมปทานทางการเมือง” ผ่านการเลือกตั้ง การยึดกุมอำนาจทางการเมืองดังกล่าว ทำให้การเมืองกลายเป็น “ระบอบธนาธิปไตย” อำนาจการเมืองของกลุ่มทุนได้ครอบงำกลไกราชการ แทรกแซงองค์กรอิสระ ทำลายกระบวนการยุติธรรม
Untitled-1-Recovered-1 มีการทุจริตคอร์รัปชันอย่างหนัก มีการใช้อำนาจทางการเมืองเอื้อประโยชน์กับตนเอง พรรคพวก และญาติพี่น้อง ด้วยนโยบายผลประโยชน์ทับซ้อน จนรัฐบาลขณะนั้นได้รับฉายาว่า “รัฐบาลโคตรโกงและโกงกันทั้งโคตร” และยังใช้อำนาจคุกคามสื่อ ปราบปรามประชาชนที่คัดค้าน จึงเกิดการต่อต้านจากประชาชนทั่วประเทศ โดยการนำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

รัฐบาลทักษิณทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาอำนาจจึงใช้วิธีจัดตั้งประชาชนมาต้านประชาชน จนนำไปสู่การเกิดวิกฤติ บ้านเมืองเกิดความขัดแย้งแบ่งฝ่ายต่อเนื่องยาวนานนับ 10 ปี ภาวะบ้านเมืองขณะนั้นจึง “วิกฤติที่สุดในโลก” รัฐบาลทักษิณจบลงด้วยการรัฐประหาร ที่นำโดยพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

6. วิกฤติสุดท้ายก่อนเกิด คสช. ก็คือวิกฤติการเมืองอันเกิดจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่สืบทอดอำนาจต่อจากรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่นอกจากใช้อำนาจทุนผูกขาดอำนาจทางการเมือง ที่มีพี่ชายคอยกำกับ ยังคงเดินหน้าบริหารประเทศเช่นเดียวกับรัฐบาลทักษิณ ที่ต้องคำพิพากษาและหลบหนีคดี โดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ถูกกล่าวหาเรื่องการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวที่ทำให้รัฐเสียหายหลายแสนล้านบาทแล้ว ยังออกกฎหมายลักหลับเพื่อนิรโทษกรรมให้กับทักษิณและพวก

จึงถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากประชาชน โดยการนำของ กปปส.ที่มีกำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นแกนนำ มีประชาชนเข้าร่วมนับสิบล้านทั่วประเทศ แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังดื้อรั้นที่จะอยู่ในอำนาจต่อไปโดยไม่ฟังเสียงมหาชน ในที่สุดก็เกิดวิกฤติทางการเมือง มีการใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม จนนำมาซึ่งการรัฐประหารวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เพื่อยุติวิกฤติการเมือง และนำบ้านเมืองกลับคืนสู่ความสงบเรียบร้อย ทำให้มีรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างที่เห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบัน
2cb407cf517be188787a2ab86c87c2a5 ภารกิจที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของรัฐบาล คสช. ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการนำบ้านเมืองกลับคืนสู่ความเป็นประชาธิปไตย เพื่อจัดการเลือกตั้งที่โปร่งใสและเป็นธรรม พร้อมกับแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ลดความเหลื่อมลํ้าในสังคม และนำพาประเทศก้าวเดินไปข้างหน้า เพื่อก้าวข้ามวิกฤติทั้งหลายในอดีตที่ผ่านมา

จึงเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่ง ที่ผู้เขียนทบทวนอดีต กล่าวถึงวิกฤติทางการเมืองที่ผ่านมา ก็เพื่อเป็นบทเรียนในอนาคตการเมืองที่กำลังเป็นอยู่ รวมถึงภายหลังการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง รัฐบาลปัจจุบันจึงต้องระมัดระวังและตระหนักให้จงหนักว่า จะหลีกเลี่ยงวิกฤติร้ายแรงทางการเมือง ไม่ให้เกิดขึ้นซํ้ารอยอดีตได้อย่างไร

คำเตือนของนักวิชาการผู้ผ่านประสบการณ์ทางการเมืองอย่าง คุณธีรยุทธ บุญมี จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่ควรมองข้าม การจะหลีกเลี่ยงวิกฤติการเมืองดังกล่าวได้อย่างไรนั้น เป็นปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าที่สำคัญยิ่ง นายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และทีมการเมือง จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจภูมิทัศน์การเมือง ในสภาพแวดล้อมใหม่และสถานการณ์ปัจจุบันให้ถ่องแท้ ศึกษาบทเรียนในอดีตเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในปัจจุบัน และระวังเหตุการณ์ในอนาคตเอาไว้ก็ไม่เสียหลาย

ถ่อมตัวศึกษารับฟังความคิดเห็นที่ดีจากผู้รู้ผู้มีประสบการณ์บ้างเถอะครับ อย่าให้บ้านเมืองต้องซํ้ารอยอดีตอีกเลย เพราะวิกฤติครั้งนี้หากเกิดขึ้นอีก จะเป็นวิกฤติทั้งการเมืองและเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน ดูบทเรียนจากฝรั่งเศสเถอะครับ ก่อนจะสายเกินแก้

|คอลัมน์ : ข้าพระบาท ทาสประชาชน 
| โดย : ประพันธุ์ คูณมี
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3426 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 13-15 ธ.ค.2561
595959859