พ่อค้าพล่าน 'ยาง' ขยับ 3 บาท! ผวาขาดแคลน เร่งซื้อ ยาหอมรัฐเดินถูกทางทำถนนแสนตัน

16 ธ.ค. 2561 | 10:40 น.
'กฤษฎา' ทุบพ่อค้า! กดราคายางอยู่หมัด หลังดึง อปท. ซับยางออกจากระบบ 2 สัปดาห์ ดันราคายางขยับแล้ว 3 บาท/กก. สมาคมนํ้ายางข้นฯ ยกนิ้วมาถูกทาง ชี้! แค่ใช้สร้างถนนพาราซอยล์ทั่วประเทศ 1 แสนตัน ก็วิ่งกันพล่านแล้ว ขณะวงใน กนย. อัพเดต 8 โครงการยางคืบหน้า

นายชัยพจน์ เรืองวรุณวัฒนา นายกสมาคมนํ้ายางข้นไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า นับตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย. ที่มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) มาตรการต่าง ๆ ที่ออกมา ทำให้นํ้ายางสดปรับขึ้นจากเดิมแล้ว 3 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) โดยจาก 33 บาท/กก. เป็น 36 บาท/กก.

ยาง

ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร สร้างถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ (ถนนดินซีเมนต์ที่มีการนำยางพารามาเป็นส่วนผสม) ที่ใช้งบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 9.2 หมื่นล้านบาทนั้น ล่าสุด นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการประสานงานกับกระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลัง เพื่อขอให้แก้ไขคู่มือและประกาศใช้แบบรายการก่อสร้างถนนยางพาราผสมซีเมนต์ (Para Soil Cement) สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถใช้เป็นคู่มือดำเนินการก่อสร้างด้วยตนเอง หรือจ้างเหมาก่อสร้าง ได้ตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยใช้วัสดุนํ้ายางพาราสดจากเกษตรกรชาวสวนยางผ่านสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) รับรองได้โดยตรงนั้น มีการประกาศราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง "หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง" ฉบับที่ 4 เรียบร้อยแล้วนั้น S__17481739 "ตามเป้าหมายนำนํ้ายางพาราไปใช้สร้างถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ทั่วประเทศ จำนวน 7.5 หมื่นหมู่บ้าน รวมระยะทาง 7.5 หมื่นกิโลเมตร แค่ 1 แสนตันเท่านั้น (ตามเป้าที่วางไว้นํ้ายางสด 1.44 ล้านตัน หรือ คิดเป็นนํ้ายางข้น 7.2 แสนตัน) พ่อค้า-เอเยนต์ต่างประเทศก็วิ่งพล่านแล้ว เพราะวิธีนี้จะทำให้การดูดซับนํ้ายางออกจากตลาดในปริมาณมากและจะทำให้ราคายางมีเสถียรภาพ เป็นโอกาสของชาวสวนภาคใต้ที่เหลือเวลาอีก 3 เดือน ที่จะปิดกรีดยาง เช่นเดียวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือเหลือระยะเวลาเพียง 1 เดือน จะปิดกรีด จะทำให้ขายยางได้ราคาดีขึ้น"

TP8-3427-A

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เผยถึงผลการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาราคายางพาราใน 8 มาตรการ/โครงการ ได้แก่ 1.โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกร เพื่อใช้ในการรวบรวมยาง (วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรยื่นกู้ 510 แห่ง ได้รับอนุมัติ 371 แห่ง เบิกเงินกู้แล้วกว่า 8,503 ล้านบาท 2.โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรเพื่อแปรรูปยางพารา วงเงิน 5,000 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวนี้ แบ่งเป็น สินเชื่อวงเงิน 3,500 ล้านบาท (ลงทุน/ก่อสร้าง/ปรับปรุงโรงงาน) ซึ่งสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ยื่นขอกู้ 209 แห่ง ได้รับอนุมัติ 82 แห่ง จำนวน 1,150.86 ล้านบาท และสินเชื่อวงเงิน 1,500 ล้านบาท (เงินทุนหมุนเวียน) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ได้รับอนุมัติ 81 แห่ง วงเงิน 784.70 ล้านบาท

3.โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง (นํ้ายางข้น) วงเงิน 10,000 ล้านบาท มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 33 บริษัท 53 โรงงาน ครบกรอบวงเงินแล้ว ผลการดำเนินงานอยู่ระหว่างตรวจสอบสต๊อกนํ้ายางข้นตั้งแต่เดือน ส.ค. 2560 ถึง ก.ค. 2561 เพื่อสรุปวงเงินชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการผ่านธนาคารออมสิน ภายในเดือน ม.ค. 2562

4.โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) 2 หมื่นล้านบาท มีผู้สมัครเข้าร่วมจำนวน 15 ราย มีความประสงค์จะเก็บยาง จำนวน 1.2 แสนตัน ยังไม่มีการอนุมัติเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากยังไม่มีบริษัทที่จะดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการ

หน้า 8 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับ 3427 วันที่ 16-19 ธันวาคม 2561

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว