SCBเตือนภัยไซเบอร์ความเสี่ยงใหม่ธุรกิจแบงก์ ไม่ใช่ปัญหาหนี้เสีย

14 ธ.ค. 2561 | 13:00 น.
 

ไทยพาณิชย์ชี้กระแสดิจิตอล นำความเสี่ยงใหม่สู่ธุรกิจธนาคาร ที่อาจรุนแรงถึงขั้นเจ๊ง ทั้ง “ข้อมูลส่วนบุคคล-ภัยไซเบอร์” ไม่ใช่ปัญหาหนี้เสียอีกต่อไป ระบุต้องปรับสมดุลให้ได้ พร้อมปรับแผนธุรกิจรับรายได้ดอกเบี้ยลดลง รุกปล่อยกู้ออนไลน์และบริหารความมั่งคั่ง
ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศยกระดับ ขีดความสามารถในการทำธุรกิจรูปแบบใหม่ ทั้งด้านดิจิตอลและข้อมูลควบคู่กับการลงทุนสำหรับอนาคต ผ่าน Disruptive Business Model
มุ่งสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดด พร้อมตั้งโจทย์ย้ายฐานลูกค้าไปอยู่บนมือถือ ด้วยการดึงให้ลูกค้าเข้ามาใช้ SCB easy ทุกวัน หลังใช้เวลาเพียง 1 ปี สามารถพาลูกค้าจากสาขาขึ้นมาอยู่บน Digital platform ผ่านแอพพลิเคชัน SCB easy เพิ่มเป็น 8.9 ล้านรายแล้ว มีจำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้น 70 ล้านธุรกรรม จากเคยมีเพียง 3 ล้านราย ซึ่งนอกจากนำดิจิตอลแพลตฟอร์มมาสร้างสิ่งที่อุตสาห กรรมธนาคารไม่เคยทำมาก่อนแล้ว ยังเปลี่ยนบทบาทธนาคารให้ทำหน้าที่มากกว่าการเป็นแหล่งระดมทุนหรือเงินกู้ซึ่งภายใต้ยุทธ
ศาสตร์ Transformation แบบตีลังกาที่เดินทางมาเกือบ 3 ปี ไทยพาณิชย์ใช้เม็ดเงินกว่า 60% ของงบลงทุนด้านเทคโนโลยีที่มี 4 หมื่นล้านบาทเพื่อปูทางสร้างฐาน สำหรับการต่อยอดองค์กรที่เข้มแข็ง เพื่อไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต

[caption id="attachment_360223" align="aligncenter" width="335"] อาทิตย์ นันทวิทยา อาทิตย์ นันทวิทยา[/caption]

นายอาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ความเสี่ยงในระบบธนาคารพาณิชย์ระยะต่อไป จะไม่ใช่ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อีกต่อไป เพราะในกระบวนการสร้างวัฒนธรรมดิจิตอลหรือ Culture Digital ยังมีความเสี่ยง อื่นๆ ที่ดิจิตอลทำแล้วอาจผิดพลาดเช่น เรื่องข้อมูลส่วนบุคคลหรือ Data privacy ความปลอดภัยไซเบอร์หรือ Cyber Security ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่อองค์กรทั้งรูปแบบและชนิดใหม่

ทั้งนี้ เพราะหากเกิดข้อมูลรั่วไหลออกไป เช่น สมมติเป็นข้อมูลของนักเดินทางชาวยุโรป ซึ่งมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (GDPR) มีบทลงโทษที่รุนแรง หากโดนปรับเพียงครั้งเดียว ธนาคารเจ๊งได้ หรือหากกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยออกมา จะไม่ใช่แค่โทษปรับ แต่คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร ต้องรับโทษทั้งจำคุกและมีความผิดทางอาญาด้วย ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่องค์กรต้องดูว่า จะรักษาสมดุลอย่างไร

“แม้เราจะพาคนขึ้นมาอยู่บนแพลตฟอร์มของ SCB easy ได้ แต่ยังไม่ถือว่าชนะ ไม่ว่าจะ 8 หรือ 10 ล้านคน ก็ยังลำพองใจไม่ได้ เพราะธนาคารจะอยู่ได้ด้วยความพึงพอใจของลูกค้าที่จะมาใช้บริการ จึงขึ้นกับว่า ธนาคารจะดึงลูกค้าเข้ามาใช้บริการได้อย่างไรโดยเฉพาะการเชื่อมต่อ ทุกความจำเป็นของลูกค้า ให้มี SCB Easy อยู่ในใจคน ถ้าทำตรงนี้สำเร็จ SCB easy ก็จะเป็นแค่บทแรกที่สามารถจะต่อยอดในบทต่อๆไปได้ เพราะเป้าหมายสุดท้ายของธนาคารคือแพลตฟอร์ม และทุกบริษัทต้องเปลี่ยนทั้งวิธีคิด วิธีทำและกลยุทธ์ เพื่อสร้างความสามารถการแข่งขัน ซึ่งเป็นสินทรัพย์ขององค์กร”

MP24-3426-A

ส่วนการปรับแนวทางการทำธุรกิจนั้น ด้วยตลาดทุนที่มีความแข็งแรงและการแข่งขันอัตราดอกเบี้ยในกลุ่มธุรกิจและสินเชื่อบ้าน ทำให้แนวโน้ม 2 กลุ่มนี้จะใช้สินเชื่อธนาคารน้อยลงเรื่อยๆไทยพาณิชย์จึงต้องยืนเรื่องราคาไว้ และสร้างธุรกิจทั้งการปล่อยกู้ออนไลน์(Digital lending) และบริหารความมั่งคั่ง (Wealth management) เข้ามาเป็นธุรกิจหลัก เพื่อเปลี่ยนความสามารถขององค์กร ซึ่งขณะนี้มีความก้าวหน้าอย่างมากหลังจากได้ร่วมกับ จูเลียร์ แบร์ แม้จะยังไม่ทำตลาด แต่มีลูกค้าสมัครเข้ามารอหลายรายแล้ว ดังนั้นถ้าผู้บริหารระดับสูงสุดทุกคน ซึ่งเป็นมืออาชีพมาแล้วเหล่านี้ ให้โอกาสและสนับสนุนคนรุ่นใหม่เข้ามารับไม้ต่อ พอคนรุ่นใหม่แข็งแรง จะทำให้ผู้บริหารพัฒนาและองค์กรมีคนมารับไม้ต่อ ซึ่งหากทำให้ผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กรมีความคิดเช่นนั้น มีวัฒนธรรมไม่หวงอำนาจ ไม่หวงตำแหน่งหรือสร้างอาณาจักร ซึ่งถือเป็นเป้าหมายระยะไกลที่จะไปด้วยกัน

“ไทยพาณิชย์มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาอย่างต่อเนื่อง ปีหน้าก็จะเป็นอีกปีที่น่าตื่นเต้น โดยจะเห็นทั้งรูปแบบธุรกิจที่ปรับใหม่ ผมจะทำในสิ่งที่ทุกคนคาดไม่ถึง และผมคิดว่าในอนาคต ความสามารถขององค์กรไม่ใช่อยู่ที่คนใดคนหนึ่ง แต่แบรนด์สำหรับผมสำคัญมาก ผมเชื่อว่า ถ้าเรายึดลูกค้าเป็นตัวตั้งแล้วคิดไปด้วยกัน สำรวจและทดสอบ แล้วสะท้อนกลับ ถ้าทำตรงนี้ให้เร็ว สั้น มีประสิทธิภาพ และบริการที่ทำแล้วให้บริการลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ เพราะการแข่งขันจริงๆคือ การสร้างความแตกต่างที่ตรงกับใจของลูกค้ามากกว่าเหล่านี้จะเป็นดัชนีวัดความ พึงพอใจที่เริ่มเป็นกระบวนการ”

ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ ต้องเปลี่ยนมุมมอง(Mind set) ไม่เช่นนั้นการ Transformation จะไม่สำเร็จ และต้องเปลี่ยนวิธีทำงาน ใช้วิธีแบบใหม่ เพื่อทำให้คนรุ่นใหม่อยากทำงานด้วย ด้วยการประสานการทำงานร่วมกันระหว่าง Digital Ventures , SCB Abacus และ SCB 10X ทั้ง 3 หน่วยงานนี้กำลังทดลองทำให้องค์กรสร้างสิ่งที่แตกต่าง เพราะการแข่งขันไม่ใช่การลงทุน แต่คือการสร้างความแตกต่างที่ตรงใจลูกค้าได้มากกว่า

หน้า 23-24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ  ฉบับที่ 3,426 วันที่  13 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561

e-book-1-503x62-7-1-503x62