'สภาพัฒน์' ยัน! "ไทยไม่ได้เหลื่อมล้ำสุดในโลก" ชี้เกณฑ์ CS Global Report ไร้มาตรฐาน

07 ธ.ค. 2561 | 06:07 น.
สภาพัฒน์ยัน! ไทยไม่ได้เหลื่อมล้ำที่สุดในโลก งัดข้อมูล "เวิลด์แบงก์" โต้ ชี้! เกณฑ์ CS Global Report ไร้มาตรฐาน ใช้ข้อมูลเก่าปี 49

วันนี้ (7 ธ.ค. 61) นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะโฆษก สศช. แถลงชี้แจงเรื่อง "สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย" ว่า ตามที่สื่อสังคมออนไลน์มีการให้ข้อมูลสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงที่สุดในโลก โดยอ้างอิงข้อมูลจาก CS Global Report 2018 นั้น สศช. ในฐานะหน่วยงานที่ดําเนินการติดตามสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของไทยมาอย่างต่อเนื่อง ขอเรียนข้อเท็จจริงเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันว่า รายงานดังกล่าวจัดทำโดยองค์กรเอกชนแห่งหนึ่ง ส่วนหนึ่งเป็นงานวิชาการ แต่ถ้าดูตามข้อมูล ไม่ได้มีการจัดอันดับ เพียงแต่เรียงประเทศตามตัวอักษร A-Z แต่การดูข้อมูลอาจจะเห็นตัวเลขมากกว่าคนอื่น แต่เรียนว่าการดูต้องดูให้ชัดเจนมากขึ้นกว่านี้ โดยดูที่มาที่ไป ดูชุดข้อมูลในการคำนวณด้วย เพราะชุดข้อมูลการถือครองความมั่งคั่ง หรือ Wealth Ownership ประเทศไทยไม่ได้มีการจัดเก็บ แต่เอกชนดังกล่าวใช้ข้อมูลอื่นที่คิดว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กันมาเข้าเศรษฐนิติ แล้วคำนวณออกมา

 

[caption id="attachment_358172" align="aligncenter" width="503"] ดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะโฆษก สศช. ดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะโฆษก สศช.[/caption]

โฆษก สศช. กล่าวว่า การวัดความเหลื่อมล้ำของรายงาน CS Global Wealth Report 2018 นั้น เป็นการวัดการกระจายความมั่งคั่ง (Wealth Distribution) รายงานดังกล่าวประเทศที่มีข้อมูลสมบูรณ์มีเพียง 35 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ฝรั่งเศส อิตาลี สวีเดน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงค์โปร์ และจีน ส่วนของประเทศไทยนั้น ข้อมูลด้านนี้ไม่มีการจัดเก็บ เนื่องจากในการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวจําเป็นต้องมีความชัดเจนของคําจํากัดความและข้อมูลข้อเท็จจริงของสินทรัพย์ที่มีความชัดเจน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ในส่วนของประเทศไทย ผู้จัดทํารายงานใช้การประมาณการทางเศรษฐมิติ บนสมมติฐานว่า การกระจายความมั่งคั่งมีความสัมพันธ์กับการกระจายรายได้ (Income Distribution) ซึ่งการคํานวณในลักษณะดังกล่าวในรายงานระบุไว้ชัดเจนว่า การประมาณการ Wealth Distribution ของ 133 ประเทศ ที่นอกเหนือจาก 35 ประเทศ ที่มีข้อมูลสมบูรณ์เป็นการประมาณการอย่างหยาบ (Rough Estimate) สําหรับประเทศที่มีข้อมูลการกระจายรายได้ (Income Distribution) แต่ไม่มีข้อมูลการถือครองความมั่งคั่งในกรณีของประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่ม 133 ประเทศที่ไม่มีข้อมูลการถือครองความมั่งคั่ง แต่มีข้อมูลการกระจายรายได้

"การวัดแบบนี้ไม่ใช่มาตรฐานของเรา เราใช้มาตรฐานตามธนาคารโลก ที่ใช้กันกว่า 100 ประเทศทั่วโลก แต่ CS Global Wealth Report 2018 เขายังใช้การประมาณการ Wealth Distribution ของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลในปี 2549 ในขณะที่ข้อมูลของประเทศอื่น ๆ เป็นข้อมูลของปีที่มีความแตกต่าง-หลากหลายกันไป ซึ่งต่างจากชุดข้อมูลของธนาคารโลก ที่ส่วนใหญ่จะเปรียบเทียบในช่วงปีเดียวกัน ดังนั้น การวัดการกระจายความมั่งคั่งตามที่ปรากฏในรายงานดังกล่าวอาจไม่สามารถสะท้อนสถานการณ์ของประเทศไทยได้อย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับการวัดจากข้อมูลสํารวจจริงตามมาตรฐานของธนาคารโลกที่ประเทศไทยดําเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2531"

 

[caption id="attachment_358174" align="aligncenter" width="503"] ดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะโฆษก สศช. ดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะโฆษก สศช.[/caption]

โฆษก สศช. อธิบายอีกว่า ที่ผ่านมา การวัดสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของไทยจะใช้วิธีการวัดตามมาตรฐานของ ธนาคารโลก หรือ เวิลด์แบงก์ โดยวัดจากดัชนี "ค่าสัมปสิทธิ์ความไม่เสมอภาค" หรือ GINI Coefficient Index ซึ่งธนาคารโลกใช้ในการวัดความเหลื่อมล้ำในประเทศต่าง ๆ ประมาณ 110 ประเทศ 2 ลักษณะ ได้แก่ 1.GINI ด้านรายได้ และ 2.GINI ด้านรายจ่าย โดยค่าดัชนีดังกล่าวจะมีค่าระหว่าง 0-1 โดยหากค่าดัชนี GINI มีระดับต่ำ จะแสดงถึงการกระจายรายได้และรายจ่ายอยู่ในระดับดีกว่าค่า GINI ที่มีค่าสูง ในกรณีของประเทศไทย การคํานวณค่าดัชนี GINI ทั้ง 2 ลักษณะ จะใช้ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน โดยสํานักงานสถิติแห่งชาติเป็นข้อมูลสํารวจจากกลุ่มตัวอย่างในระดับฐานรายได้ต่าง ๆ กัน จํานวนประมาณ 52,010 ครัวเรือน ซึ่งการสํารวจรายได้จะดําเนินการทุก 2 ปี ในขณะที่การสํารวจรายจ่ายจะดําเนินการทุกปี

จากข้อมูลล่าสุดในปี 2560 พบว่า ค่า GINI ด้านรายได้ของไทย คิดเป็น 0.453 หรือ 45.3% และค่า GINI ด้านรายจ่าย คิดเป็น 0.364 หรือ 36.4% หากเปรียบเทียบแนวโน้มของสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยค่า GINI ด้านรายได้ ลดลงจาก 0.499 ในปี 2550 เป็น 0.453 ในปี 2560 และค่า GINI ด้านรายจ่าย ลดลงจาก 0.398 ในปี 2550 เป็น 0.364 ในปี 2560

โฆษก สศช. กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ สถานการณ์ด้านความแตกต่างของรายได้ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงที่สุดและกลุ่มประชากรที่มีรายได้น้อยที่สุดมีแนวโน้มแคบลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงจาก 25.1 เท่า ในปี 2550 เป็น 19.29 เท่า ในปี 2560 และความแตกต่างของรายจ่ายระหว่างกลุ่มประชากรที่มีรายจ่ายสูงที่สุดและกลุ่มประชากรที่มีรายจ่ายน้อยที่สุด มีแนวโน้มแคบลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงจาก 11.7 เท่า ในปี 2551 เป็น 9.32 เท่า ในปี 2560

 

[caption id="attachment_358176" align="aligncenter" width="503"] ดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะโฆษก สศช. ดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะโฆษก สศช.[/caption]

"จากข้อมูลทั้ง 2 ส่วนข้างต้น แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทั้งในส่วนของรายได้และรายจ่ายระหว่างประชากรกลุ่มต่าง ๆ ของไทยมีแนวโน้มดีขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในประเทศยังมีความจําเป็นต้องให้ความสําคัญในการดําเนินการผ่านมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ เพื่อให้ประชากรในกลุ่มที่มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลางมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีการกระจายรายได้จากกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงไปสู่ประชากรกลุ่มต่าง ๆ ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน"

นายดนุชา กล่าวอีกว่า การจัดอันดับความเหลื่อมล้ำของประเทศต่าง ๆ ที่ดําเนินการโดยธนาคารโลก ใช้ค่าดัชนี GINI coefficient เป็นตัวชี้วัดที่ผ่านมา ประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2556 ประเทศไทยมีค่าดัชนี GINI Coefficient ด้านรายจ่าย อยู่ในอันดับที่ 46 จาก 73 ประเทศ และปรับตัวดีขึ้นเป็นอันดับที่ 40 จาก 67 ประเทศในปี 2558 ส่วนที่จํานวนประเทศในแต่ละปีจะไม่เท่ากัน เนื่องจากข้อจํากัดด้านข้อมูลของประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กําลังพัฒนาในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก อย่างไรก็ดี จากข้อมูลล่าสุดของธนาคารโลก ค่า GINI ของไทยอยู่ที่ 0.36 และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ สหราชอาณาจักร มีค่า GINI อยู่ที่ 0.33 และสหรัฐอเมริกา มีค่า GINI อยู่ที่ 0.41 ซึ่งจะเห็นได้ว่าสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของไทยอยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างกันมากกับประเทศที่พัฒนาแล้ว

"สศช. เรียนว่า สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของไทยจากการสํารวจข้อมูลจริงและใช้วิธีการวัดที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลโดยธนาคารโลก ประเทศไทยไม่ได้มีความเหลื่อมล้ำสูงที่สุดอย่างที่ปรากฏข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์แต่อย่างใด ในทางกลับกันสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทั้งในด้านรายได้และรายจ่ายของไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นลําดับ อย่างไรก็ดี การลดความเหลื่อมล้ำและความแตกต่างของรายได้เป็นเรื่องสําคัญที่ภาครัฐให้ความสําคัญและมีการดําเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมมากขึ้น ผ่านกลไกของภาครัฐและความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างอาชีพและรายได้ การจัดสวัสดิการทางสังคม ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข และที่อยู่อาศัย"

 

[caption id="attachment_358178" align="aligncenter" width="503"] ดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะโฆษก สศช. ดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะโฆษก สศช.[/caption]

รองเลขาธิการ สศช. กล่าวด้วยว่า ในอนาคต ในส่วนของยุทธศาสตร์ชาติจะมีการาพัฒนาเศรษฐกิจศูนย์กลางในพื้นที่ทั้งเมืองหลักและเมืองรองในการสร้างโอกาสและรายได้ให้กับชุมชนต่าง ๆ สศช. ตั้งเป้าหมายในปี 2580 สถานการณ์ความเหลือมล้ำของประเทศไทยจะต้องปรับตัวดีขึ้นอยู่ในระดับที่น่าพอใจมาก โดยช่องว่างระหว่างรายได้ ตอนนี้อยู่ที่ 19.29 เท่า ก็ควรลดลงเหลือ 15 เท่า และ GINI ในส่วนของรายได้จะต้องลดลง จาก 0.4 ควรจะลดลงเหลือ 0.36 ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมมากขึ้น รวมทั้แนวโน้มประมาณการการลดความเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหลังจากรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยอย่างต่อเนื่อง อาจจะช่วยให้ช่องว่างของรายได้ลดลง การกระจายรายได้มีความเป็นธรรมมากขึ้น

"ส่วนสำนักงานลดความเหลื่อมล้ำที่แผนปฏิรูปประเทศให้มีการตั้งขึ้นมา ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดเตรียมในการจัดตั้ง ซึ่งสำนักงานลดความเหลื่อมล้ำก็จะมีบทบาทในเชิงนโยบาย ติดตาม กำกับ สถานการณ์การแก้ไขปัญหาลดความเหลื่อมล้ำ คงต้องดูตั้งแต่การาจัดสรรงบประมาณด้วยว่าจัดสรรแล้วจะลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างไรบ้าง" นายดนุชา กล่าว


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว