'อู่ตะเภา' ยกเลิกสัดส่วนผู้บริหารสนามบินถือหุ้น 15% เปิดกว้างเอกชนยื่นซองประกวดราคา

30 พ.ย. 2561 | 07:33 น.
'อู่ตะเภา' ยกเลิกสัดส่วนผู้บริหารสนามบินถือหุ้น 15% เปิดกว้างเอกชนยื่นซองประกวดราคา สามารถยื่นข้อเสนอได้ดีขึ้น ทั้งเปิดทางดึง ทอท. ร่วมบริหารสนามบิน

 

[caption id="attachment_355378" align="aligncenter" width="503"] นายโชคชัย ปัญญายงค์ นายโชคชัย ปัญญายงค์[/caption]

นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองเลขาธิการสายงานโครงสร้างพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เผยว่า คณะกรรมการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาได้ประกาศแก้ไขสัดส่วนการถือหุ้นสำหรับเอกชน ที่จะยื่นเปิดประมูลสนามบิน โดยได้ยกเลิกสัดส่วนการถือหุ้นในส่วนของผู้บริหารสนามบิน ที่ไม่จำเป็นต้องถือหุ้น 15% เหมือนที่เคยระบุไว้ก่อนหน้านี้ แต่จะคงไว้เฉพาะผู้ประมูลต้องมีสัดส่วนการถือหุ้นที่เป็นคนไทย 51% โดยต้องมีบริษัทไทยอย่างน้อย 1 บริษัท ถือครองหุ้นส่วนนี้ไม่น้อยกว่า 25%


513903

การยกเลิกสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว เป็นการเปิดกว้างให้ผู้มาซื้อซองที่จะมายื่นซองประกวดราคาสามารถยื่นข้อเสนอได้ดีขึ้นและเกิดความโปร่งใส ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับการเปิดประมูลในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินก่อนหน้านี้

รวมถึงยังเป็นการเปิดโอกาสให้เอกชนที่มาซื้อซองประมูลโครงการนี้ จำนวน 42 บริษัท ที่จะมายื่นประมูล สามารถหาผู้บริหารแอร์พอร์ตที่ไม่ได้มาซื้อซองเข้ามาเป็นซับคอนแทร็กซ์ รวมถึงสามารถเชิญ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เข้ามาร่วมบริหารและพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาได้

เนื่องจากคุณสมบัติผู้บริหารสนามบิน ระบุชัดเจนว่า ต้องมีประสบการณ์ในการบริหารสนามบินที่มีผู้โดยสารใช้บริการเกิน 10 ล้านคน ไม่น้อยกว่า 3 ปี ซึ่งผู้ชนะการประมูลจะต้องหาซับคอนแทร็กซ์ที่เป็นผู้บริหารสนามบินอู่ตะเภา ภายใต้นโยบาย 1 Airport 1 Operator


513904

ทั้งนี้ เอกชนที่ได้มาซื้อซองประกวดราคาจะต้องมายื่นซองประมูล ในวันที่ 28 ก.พ. 2562 ก่อนที่จะมีการเปิดซองประมูลในวันที่ 1 มี.ค. 2562

โครงการนี้มีมูลค่าการลงทุนในโครงการนี้อยู่ที่ราว 2.9 แสนล้านบาท ประกอบไปด้วย การลงทุนในส่วนของเอกชน 2.7 แสนล้านบาท ขณะที่ การลงทุนของภาครัฐ 1.7 หมื่นล้านบาท ในการสร้างรันเวย์ 2 และการลงทุนสร้างหอบังคับการบิน ของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.) ราว 4 พันล้านบาท โครงการนี้อายุสัญญา 50 ปี และสามารถต่อได้ตามกฏหมายอีก 49 ปี ซึ่งคาดว่าเอกชนที่ชนะประมูลจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2564 แล้วเสร็จเปิดให้บริการในปี 2567

เอกชนที่ชนะการประกวดราคาจะต้องจ่ายค่าเช่า 3% ต่อปี และปรับเพิ่มเป็น 9% ทุก 3 ปี และต้องยื่นข้อเสนอส่วนแบ่งรายได้ไม่น้อยกว่า 5% หรือไม่ต่ำกว่า 5.9 หมื่นล้านบาท จากการที่เอกชนจะสามารถหารายได้จากธุรกิจการบินและกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ภายใน 4 โครงการที่เอกชนลงทุน ได้แก่ อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3, ศูนย์ธุรกิจการค้า (คอมเมอเชียล เกตเวย์), พื้นที่เขตประกอบการค้าเสรี (พื้นที่ฟรีเทรดโซน), อาคารคลังสินค้า (แอร์คาร์โก้)


090861-1927-9-335x503-335x503