กลุ่มปตท.เต็งมาบตาพุดเฟส 3 กัลฟ์ฯส่อแววชวดขาดประสบการณ์บริหารท่าเรือ

05 ธ.ค. 2561 | 03:20 น.
กลุ่มปตท.ผนึก 3 บริษัท ชิงประมูลท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 ยันมีความพร้อมไม่กังวลจุดคุ้มทุนในระยะสั้น แต่มองความมั่นคงพลังงานของประเทศเป็นหลัก ลุ้น 3 บริษัทไฟฟ้า กัลฟ์ เอ็กโก และราชบุรีโฮลดิ้ง อาจตกคุณสมบัติด้านมีประสบการณ์บริหารท่าเรืออุตสาหกรรมและพาณิชย์

แหล่งข่าวจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากจำนวนเอกชนที่ซื้อซองเอกสารการประมูลโครงการท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) จำนวน 18 ราย แบ่งเป็น เอกชนไทย 10 รายเอกชนจีน 4 ราย เอกชนญี่ปุ่น 2รายและเอกชนเนเธอร์แลนด์ 2รายนั้น หากประเมินจากด้านประสบการณ์ของผู้ยื่นข้อเสนอการประมูลที่กำหนดไว้ในทีโออาร์ว่าจะต้องมีประสบ การณ์ด้านการบริหารจัดการท่าเรืออุตสาหกรรม ต้องมีปริมาณสินค้าผ่านท่าเรือไม่น้อยกว่า 1 ล้านตันต่อปี หรือต้องมีประสบการณ์การบริหารจัดการท่าเรือพาณิชย์ มีปริมาณสินค้าผ่านท่าเรือไม่น้อยกว่า 1 แสนทีอียูต่อปี จะทำให้เหลือผู้มีสิทธิ์ยื่นข้อเสนอประมูลเพียง 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมีคอล จำกัด(มหาชน)หรือจีซี บริษัท พีทีทีแทงค์เทอร์มินัล จำกัด และบริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด ซึ่งทั้ง 3บริษัทนี้ดำเนินงานอยู่ในท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 1-2 อยู่แล้ว TP11-3423-A

กลุ่มที่ 2 จะเป็นของนักลงทุนจากจีน 4 ราย ได้แก่ บริษัท China Railway Construction Corporation Limite บริษัท China Harbour Engineering Co.,Ltd. บริษัท ชิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ดฯและ บริษัท ไชน่า คอมมูนิเคชั่น คอนสตรัคชั่น จำกัด เนื่องจากเป็นกลุ่มบริษัทที่มีความใกล้ชิดกัน กลุ่มที่ 3 จะเป็นบริษัท โตเกียว แก๊ส จากญี่ปุ่น กลุ่มที่ 4 เป็นบริษัท มิตซุย จากญี่ปุ่น และกลุ่มที่ 5 เป็นบริษัท Vopak LNG Holding B.V. จากเนเธอร์แลนด์

ขณะที่กลุ่มโรงไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วย บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)หรือเอ็กโก และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ที่อาจจะตกคุณสมบัติด้านประสบ การณ์การบริหารจัดการท่าเรืออุตสาหกรรมหรือท่าเรือพาณิชย์ ซึ่งหากจะมีสิทธิ์ยื่นข้อเสนอประมูล ทั้ง 3รายนี้ จะต้องไปเจรจากับพันธมิตรที่มีประสบการณ์ดังกล่าว และมีเงื่อนไขว่าพันธมิตรที่จะมาร่วมด้วยนั้นจะต้องซื้อซองเอกสารการประมูลครั้งนี้ด้วยรวมถึงระยะเวลาที่เหลืออยู่เพียง2เดือน การเจรจาให้ได้ข้อยุติจะสามารถดำเนินการได้ทันหรือไม่

ม.ล.ปีกทอง ทองใหญ่ รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด กล่าวว่า กลุ่มปตท.จะยื่นข้อเสนอการประมูลในโครงการนี้อย่างแน่นอน เพราะมีคุณสมบัติครบตามทีโออาร์ที่ระบุ และไม่ได้กังวลกับข้อห่วงใยเหมือนกับผู้ซื้อซองรายอื่นๆ ที่ต้องการทราบความชัดเจนในการเปิดเสรีในการจัดหาและนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจี รวมถึงการอนุมัติให้ใบอนุญาตประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากกลุ่มปตท.มองถึงการมีหน้าที่ตอบสนองความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศเป็นหลัก

090861-1927-9-335x503-335x503-2-335x503

“โครงการนี้ ในระยะเริ่มแรกการนำเข้าแอลเอ็นจีอาจจะยังไม่มากนัก เนื่องจากผลการศึกษาของกนอ.พบว่า ปริมาณแอลเอ็นจีที่เข้ามาจะเริ่มในปี 2574 ที่ปริมาณ 1.77 ล้านตันต่อปี และค่อยๆ ขยับขึ้นไปจนถึง 10.8 ล้านตันในปีที่ 30 ในขณะที่คลังก๊าซแอลเอ็นจีที่มีอยู่ 2 แห่ง ที่มาบตาพุด ขนาดความจุรวม 12.5ล้านตันต่อปี จะสามารถรองรับการนำเข้าแอลเอ็นจีไปได้อีก 15 ปี จึงทำให้ผู้ร่วมประมูลกังวลถึงความเสี่ยงจากความต้องการก๊าซที่จะเกิดขึ้น และไม่คุ้มกับการเข้ามาร่วมลงทุน ดังนั้น จึงพยายามเรียกร้องที่จะให้ภาครัฐเร่งออกใบอนุญาตประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถไปหาลูกค้าเข้ามาใช้ก๊าซจากโครงการนี้ได้”

หน้า 11 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,423 ระหว่างวันที่ 2-5 ธันวาคม 2561 ติดตามฐาน