42 บริษัท จาก 8 ประเทศ ซื้อซอง "อู่ตะเภา"

29 พ.ย. 2561 | 12:11 น.
ปิดขายซองประกวดราคาโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มี "บิ๊ก 42 บริษัท จาก 8 ประเทศ" ซื้อซอง โดยเปิดให้เอกชนมายื่นซองประมูล วันที่ 28 ก.พ. 2562 ซองประมูล 1 มี.ค. 2562 กระบวนการเชิญชวนคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โดยมองถึงการขยายศักยภาพสนามบินให้รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 60 ล้านคน ซึ่งกองทัพเรือ (ทร.) ได้ประกาศเชิญชวนให้เอกชนที่สนใจเข้ามาซื้อซองประกวด ระหว่างวันที่ 16-29 พ.ย. 2561

ทั้งนี้ หลังปิดการขายซองประกวดราคา เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมา พบว่า มีผู้สนใจเข้าซื้อซองประกวดราคา 42 บริษัท จาก 8 ประเทศ ประเทศจีนมี 6 บริษัท ได้แก่ บริษัทไชน่า คอมมูนิเคชั่นส์ คอนสตรัคชั่น จำกัด, บริษัท China GeZhouBa Group จำกัด, บริษัท China Harbour Engineering จำกัด, บริษัท ไชน่า เรียลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท ไชน่า สเตท คอนสรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด

บริษัทจากประเทศฝรั่งเศส 2 บริษัท คือ เอดีพี อินเตอร์เนชั่นแนล, VINCI AIRPORTS / บริษัทจากเยอรมนี 2 บริษัท ได้แก่ AviAlliance Gmbh, Fraport AG Frankfurt Airport Service Worldwide / บริษัทจากอินเดีย 1 บริษัท คือ GMR Group  Airport / บริษัทจากญี่ปุ่น 5 บริษัท ได้แก่ AGP Corporation, JALUX Inc., Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport and Urban Development, MITSUI & CO.,LTD. และ Sojitz Corporation / บริษัทจากมาเลเซีย คือ Malaysia Airports Holding Berhad / บริษัทจากตรุกี คือ TAV TEPE AKFEN INVESTMENT AND CONSTRUCTION AND OPERATION CO.LTD.

ส่วนบริษัทในไทยมีทั้งหมด 24 บริษัท ได้แก่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน), บริษัท คริสเตียนีและนีสเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท คิงเพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, บริษัท จี.วาย.ที. เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด, บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด, บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด, บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด

บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด, บริษัท แปซิฟิก ภูเก็ต จำกัด, บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่นส์ จำกัด, บริษัท เพาเวอร์ ๆ ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน), บริษัท ยูนีค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด, บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน), บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย กรุ๊ป จำกัด, บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และบริษัท Orient Success international LTD.


115579

ทั้งนี้ เอกชนที่ได้มาซื้อซองประกวดราคาจะต้องมายื่นซองประมูล ในวันที่ 28 ก.พ. 2562 ก่อนที่จะมีการเปิดซองประมูล ในวันที่ 1 มี.ค. 2562

โครงการนี้มีมูลค่าการลงทุนในโครงการอยู่ที่ราว 2.9 แสนล้านบาท ประกอบไปด้วย การลงทุนในส่วนของเอกชน 2.7 แสนล้านบาท ขณะที่ การลงทุนของภาครัฐ 1.7 หมื่นล้านบาท ในการสร้างรันเวย์ 2 และการลงทุนสร้างหอบังคับการบินของ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.) ราว 4 พันล้านบาท โครงการนี้อายุสัญญา 50 ปี และสามารถต่อได้ตามกฏหมายอีก 49 ปี

โดยเอกชนสามารถจับกลุ่มเป็นคอนซอเตียมเพื่อยื่นประมูลในโครงการนี้ ซึ่งจะเอกชนจะลงทุนใน 4 กิจกรรม ในสนามบินอู่ตะเภา ได้แก่ 1.อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 / 2.ศูนย์ธุรกิจการค้า (คอมเมอเชียล เกตเวย์) / 3.พื้นที่เขตประกอบการค้าเสรี (คาร์โก้ วิลเลจ หรือ พื้นที่ฟรีเทรดโซน) และ 4.กลุ่มอาคารคลังสินค้า และดำเนินการและบำรุงรักษาตลอดอายุสัญญาที่รัฐบาลจะให้เป็นเวลา 50 ปี  ซึ่งในทีโออาร์ประกวดราคาครั้งนี้ไม่รวมอีก 2 กิจกรรม คือ ธุรกิจซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) และศูนย์ฝึกอบรมบุคคลากรทางการบิน ที่จะเป็น PPP อีกส่วนหนึ่งที่แยกออกไปไม่เกี่ยวกับการทำ PPP ในครั้งนี้

ตามทีโออาร์เอกชนจะต้องนำเสนอ Conceptual Airport เพื่อการบริหารจัดการและพัฒนาให้สนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสมาร์ท แอร์พอร์ต และจากการลงทุนของเอกชนกว่า 2.7 แสนล้านบาท ในทีโออาร์จึงกำหนดว่า เอกชนจะสามารถหารายได้จากการดำเนินธุรกิจการบินและรายได้ในส่วนเชิงพาณิชย์ตลอดอายุสัญญา แลกกับการจ่ายค่าเช่า ตามข้อกำหนดของกรมธนารักษ์ ซึ่งอยู่ที่ 3% และผลตอบแทนขั้นต่ำที่ไม่ต่ำกว่า 4.2 หมื่นล้านบาทต่อปี

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก