เปิดร่างกฎหมายข้าวฉบับ สนช. "ชาวนา" ได้หรือ "เสีย"

30 พ.ย. 2561 | 04:04 น.
16313


ร่างพระราชบัญญัติข้าว พ.ศ. .... นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
ในฐานะผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติข้าว พ.ศ. .... เขียนหลักการและเหตุผล ว่า "ข้าว" เป็นพืชที่สำคัญของประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง แต่ในปัจจุบัน การทำนากำลังประสบปัญหาทั้งระบบจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม มีความเสี่ยงต่อการขาดทุนจากราคาปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้น รวมทั้งประสิทธิภาพและคุณภาพผลผลิตที่มีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ชาวนามีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต มีหนี้สินในอัตราที่สูง ขาดแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่เข้าสู่อาชีพการทำนา หรือ เกษตรกรรมต่อจากบรรพบุรุษ สร้างผลกระทบที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความมั่นคงทางอาหาร ระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาว สมควรปรับปรุงและพัฒนา เพื่อให้กระบวนการผลิตข้าว ตลอดห่วงโซ่การผลิต และการพัฒนาอาชีพทำนา มีความมั่นคง ยั่งยืน เป็นเอกภาพ

ตลอดจนให้มีการสนับสนุนการรวมกลุ่มของชาวนา เพื่อสร้างความเข้มแข็งตามยุทธศาสตร์ชาติ มีกลไกการควบคุมการผลิตและจำหน่ายข้าวเปลือกอย่างเป็นระบบ สร้างความเป็นธรรมระหว่างชาวนาและผู้รับซื้อ โดยมีคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ที่มีองค์ประกอบทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ข้าวของประเทศ เพื่อให้ไปสู่การปฎิบัติที่มีประสิทธิภาพ มีความต่อเนื่องและยั่งยืน มีการกำกับติดตาม ควบคุมและพัฒนาตลอดห่วงโซ่การผลิต การตลาด และการส่งออกข้าว เพื่อให้เกิดความสมดุล ให้สินค้าข้าวมีปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอต่อการบริโภค สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ตลอดจนมีระบบที่สามารถให้ความคุ้มครองชาวนาให้ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม จึงจำเป็นที่จะต้องตราพระราชบัญญัตินี้ แบ่งเป็น 6 หมวด มี 37 มาตรา


rice



ยอมรับจำกัด "สิทธิ" และ "เสรีภาพ" ของบุคคล
สำหรับร่างพระราชบัญญัติข้าว พ.ศ. .... นี้ มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามความบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งมีเหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อการพัฒนาและการสร้างเสถียรภาพให้แก่กระบวนการผลิตข้าว ตลอดห่วงโซ่การผลิต และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของชาวนา ให้เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันจะเกิดประโยชน์ต่อระบบการผลิตข้าวของประเทศ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว


TP8-3422-A-503x329

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ เรียกว่า "พระราชบัญญัติข้าว พ.ศ. ...."

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

"ข้าว" หมายความว่า พืชที่ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza sativa L.

"ข้าวเปลือก" หมายความว่า เมล็ดข้าวที่ยังไม่ผ่านการกะเทาะเปลือกออก

"ข้าวสาร" หมายความว่า เมล็ดข้าวที่ผ่านการกะเทาะเปลือกออกแล้ว

"สีข้าว" หมายความว่า การกะเทาะเปลือกออกจากเมล็ดข้าว หรือ การแปรสภาพข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร โดยใช้เครื่องจักร

"ผลพลอยได้" หมายความว่า ปลายข้าว รา แกลบ และสิ่งอื่นใดที่ได้จากการสีข้าว

"พันธุ์ข้าว" หมายความว่า พันธุ์ หรือ กลุ่มของข้าวที่มีพันธุกรรมและลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน และมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างจากกลุ่มอื่นของข้าวที่สามารถตรวจสอบได้


เงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

"เมล็ดพันธุ์ข้าว" หมายความว่า ข้าวเปลือก หรือ ข้าวกล้อง ที่สามารถใช้เพาะปลูกหรือใช้ทำพันธุ์ได้


020



"จำหน่าย"
 หมายความว่า ขาย จำหน่าย จ่าย แจก หรือ แลกเปลี่ยน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ทางการค้า

"ชาวนา" หมายความว่า ผู้ปลูกข้าวที่ได้จดทะเบียนกับกรมการข้าว ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

"เครือข่ายชาวนา" หมายความว่า สหกรณ์การเกษตร หรือ กลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน หรือ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งศูนย์ข้าวชุมชน สมาคม มูลนิธิ หรือ องค์กรชาวนาอื่นใดที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและได้ขึ้นทะเบียนกับกรมการข้าว ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

"ผู้ให้บริการรับจ้างทำนา" หมายความว่า บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลที่ให้บริการรับจ้างในกระบวนการปลูกข้าว หรือที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษา เช่น ผู้ดำเนินการรับจ้างฉีด พ่น หรือ หว่าน วัตถุอันตรายทางการเกษตร ปุ๋ย สารชีวภัณฑ์ หรือสารปรับปรุงดินให้แก่ชาวนา และให้หมายความรวมถึงผู้ให้บริการเครื่องจักรกลการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าว


TP8-3397-A



"โรงสีข้าว"
 หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการสีข้าว หรือ แปรสภาพข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารด้วยเครื่องจักร และให้หมายความรวมถึงสมาคมและนิติบุคคลที่ประกอบกิจการสีข้าวหรือแปรสภาพข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารที่ได้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย และได้ขึ้นทะเบียนกับกรมการข้าว ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

"ผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือก" หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจ หรือ บุคคลที่ได้จดทะเบียนกับกรมการข้าวตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกาหนด เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือกเกี่ยวกับความชื้น เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวและสิ่งเจือปนอื่น เพื่อประโยชน์ในการจาหน่ายข้าวเปลือก

"แหล่งผลิตข้าว" หมายความว่า นาที่ชาวนามีกรรมสิทธิ์หรือมีเอกสารสิทธิและได้ใช้ปลูกข้าว หรือ นาที่ชาวนาเช่าจากผู้ซึ่งมีกรรมสิทธิ์หรือมีเอกสารสิทธิที่มีสิทธิให้เช่าตามกฎหมายและได้ใช้ปลูกข้าว

"แหล่งรวบรวมข้าว" หมายความว่า สถานที่รวบรวมข้าวเปลือก ข้าวสาร หรือ เมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อคัดเลือกหรือบรรจุในภาชนะบรรจุ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ทางการค้า และให้หมายความรวมถึงคลังสินค้าข้าวหรือโกดังข้าว ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนกับกรมการข้าวตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

"ผู้รับซื้อข้าวเปลือก" หมายความว่า บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ที่รวบรวมหรือรับซื้อข้าวเปลือกหรือเมล็ดพันธุ์ข้าวจากชาวนาหรือแหล่งรวบรวมข้าว


20181022014917



"คณะกรรมการ"
 หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.)

"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์


ยันสร้างความเข้มแข็งให้อาชีพชาวนา




A farmer carries bundles of rice stems to transplant in Baan Fah Luem village, 560 km northeast of Bangkok, August 15, 2007. Former Thai Prime Minister Thaksin Shinawatra, ousted in a bloodless coup last year, remains a hero among the rural poor. Picture taken August 15, 2007. REUTERS/Sukree Sukplang (THAILAND)



นายกิตติศักดิ์
กล่าวว่า มาตรการสร้างความเข้มแข็งของชาวนา เมื่อมีกฎหมายบังคับใช้แล้ว จะต้องมีการสำรวจเขตศักยภาพการผลิตข้าวใน 2 ปี ส่วนเมล็ดพันธุ์จะต้องแก้ไขประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของร่างกฎหมายเดิม 2 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.พันธุ์พืช 2518 และ พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช 2535 ให้ยกเว้นกรณีเมล็ดพันธุ์ข้าว มอบให้กรมการข้าวมีอำนาจดูแลด้านเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยตรง ส่วน พ.ร.บ.ปุ๋ย 2518 และ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ไม่มีการกำหนดใดใดขึ้นใหม่ มีเพียงให้กรมการข้าวต้องรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอต่อ นบข.

เช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ค้าข้าว พ.ศ. 2489, พ.ร.บ.ว่าด้วยสินค้าและบริการ 2542 และการส่งออกข้าวสาร พ.ร.บ.ศุลกากร 2560 และ พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าส่งออก 2503 ไม่มีการกำหนดประเด็น "การค้าข้าว" ไว้ในร่าง พ.ร.บ. มีเพียงเฉพาะการกำหนดให้ออก "ใบรับซื้อข้าวเปลือก" ด้วยวัตถุประสงค์ในการสร้างฐานข้อมูลของภาครัฐในการส่งเสริมและสนับสนุนได้อย่างถูกต้องในแต่ละฤดูกาล รวมถึง "กำหนดพยากรณ์ราคาแนะนำข้าวเปลือก" เพื่อสร้างความโปร่งใส เป็นธรรม ของการซื้อข้าวเปลือกอ้างอิงตามกลไกตลาด


DSC04077

ส่วน "การควบคุมและการกำกับจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว" (ร่างมาตรา 22-27) โดยกำหนดมิให้บังคับแก่ชาวนาซึ่งขายหรือแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เป็นผลผลิตในที่นาของตนเอง (ร่างมาตรา 26 วรรคสอง) กำหนดโทษสำหรับผู้ใดฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัตินี้กำหนด ในเรื่องการรับซื้อข้าวเปลือก การฝ่าฝืนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้รับการรับรอง เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เสื่อมคุณภาพ หรือ ปลอมปน และการโฆษณาเมล็ดพันธุ์อันเป็นเท็จ (ร่างมาตรา 29-32) เพื่อคุ้มครองให้เกษตรกรได้ใช่เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี อนึ่ง พระราชบัญญัตินี้ไม่มีการกำหนดโทษใด ๆ เกี่ยวกับชาวนาไว้

แต่มี "บทบัญญัติในการป้องกันลักลอบนำเข้าข้าวและข้าวเปลือก" เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม "กฎหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที ยึด และทำลายข้าว" เพื่อเป็นการป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมี โรค แมลงที่จะเข้ามาระบาดในประเทศ ตลอดจนป้องกันการสวมสิทธิ์การผลิตข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อประโยชน์ในการขอรับความช่วยเหลือจากนโยบายรัฐบาล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพข้าวและบริหารจัดการข้าวของประเทศ (ร่างมาตรา 28) ทั้งนี้ ให้ออกกำหนดให้มีกฎระเบียบประกาศ รวมทั้งหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขต่าง ภายใน 220 วัน


"อาชีพชาวนา" ทำไมต้องมีกรอบ




2E3C3E9B-C8E6-461C-A289-202771A718C7

ขณะที่ นายสุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาและข้าวไทย กล่าวว่า ชาวนาเป็นอาชีพที่สำคัญของชาติและของโลก การดูแลพัฒนาข้าวและชาวนาจะมีแค่องค์กรหนึ่งเดียวคงเป็นไปไม่ได้ วันนี้ที่การจัดการข้าวและชาวนาที่เริ่มดีขึ้น เพราะกระบวนการมีส่วนร่วมในการคิด การจัดการ แผนผลิตข้าวครบวงจร เชิญทุกภาคส่วน หลายกระทรวง หลายกรม หลายองค์กร เข้ามาร่วมคิดร่วมให้ข้อมูลลงพื้นที่พบชาวนาตัวจริงเกือบทุกพื้นที่ มีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ มาทำงานวิจัยพัฒนาเรื่องข้าวและชาวนา ที่สำคัญ ปัจจุบันตัวชาวนาเองพัฒนาตัวเองอาชีพของตัวเอง มีชาวนารุ่นใหม่เกิดขึ้นมากมาย เรื่องงบประมาณให้ชาวนา รัฐบาลนี้จ่ายตรงถึงชาวนาเข้าบัญชีให้ทุกครอบครัว

"ตามความคิดเห็นส่วนตัว อยากเห็นข้าวและชาวนาเป็นอาชีพที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยดูแลพัฒนา ซึ่งขณะนี้ทำอยู่แล้ว หลายคนยังคิดเข้าใจว่า ชาวนาเรายังถูกเอาเปรียบ "การตลาดนำการผลิต" เดินไปได้ด้วยดี "ห่วงโซ่คุณธรรม" ได้เกิดขึ้นแล้วจริง ๆ "คนข้าว" ที่เข้าใจข้าวจริง ๆ รับรู้ได้ โดยเฉพาะปีนี้ที่ราคาข้าวเปลือกดีขึ้นทุกชนิดข้าว เป็นเรื่องการจัดการวางแผนครบวงจรจริง ๆ พัฒนาการขายโดยกระทรวงพาณิชย์ และผู้ส่งออกทำตลาดต่างประเทศการจัดงานกิจกรรม หรือ อีเวนท์ (Event) เชื่อมโยงตลาดแต่ล่ะครั้ง ไม่ว่าในหรือต่างประเทศ มีผู้ที่ต้องการชื้อข้าวจากประเทศไทยเรามากมาย (ไม่ใช่โชคช่วย) อยากให้กลุ่มคนที่รักและหวังดีกับเรื่องข้าวและชาวนาพยายามเสนอร่างกฎหมายข้าว อยากให้ชาวนาลองศึกษาให้ละเอียด อดีต ปัจจุบัน อนาคต มองให้ครบ แล้วจะรู้ว่าข้าวและชาวนา ไม่ใช่ใช้กฎหมายฉบับเดียวมาจัดการได้ องค์กรเดียว กรมเดียว กระทรวงเดียว มารับผิดชอบได้ ข้าวและชาวนาต้องบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ที่สำคัญ อย่าเอาเรื่องข้าวและชาวนามาเป็นเครื่องมือทางการเมืองอีกต่อไป


วิพากษ์กฎหมายข้าว




609257466

เช่นเดียวกับ นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย เผยว่า มองว่าเป็นความยุ่งยากมาก โดยเฉพาะใบรับซื้อ และง่ายที่จะเกิดข้อผิดพลาดในทางปฏิบัติของผู้ประกอบการค้าข้าวเปลือก ในมาตรา 20 เพื่อประโยชน์ในการจัดทำฐานข้อมูลและเพื่อประโยชน์ในการขอรับการส่งเสริมจากภาครัฐ ให้ผู้รับซื้อข้าวเปลือกออกใบรับซื้อข้าวเปลือกทุกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐานในการรับซื้อข้าวเปลือก ทั้งนี้ ใบรับซื้อข้าวเปลือกต้องมีรายละเอียดตามที่อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีประกาศกำหนด ผู้รับซื้อข้าวเปลือกต้องเก็บรักษาหลักฐานการออกใบรับซื้อข้าวเปลือกที่ได้ออกไปแล้ว ตามเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการบัญชี มาตรา 33 ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ออกใบรับซื้อข้าวเปลือกให้ชาวนามาตรา 20 หรือ จัดทำใบรับซื้อข้าวเปลือกด้วยการแสดงข้อความที่เป็นเท็จ หรือ ไม่ตรงกับความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


conclusion-of-the-contract-3100563_1920

ปัจจุบัน เป็นที่เข้าใจดีว่า ทุกหน่วยงานได้พยายามมองและมุ่งเน้นไปที่ความเป็นอยู่ของเกษตรกรเป็นหลัก โดยเฉพาะเรื่องราคาข้าวเปลือกและการถูกเอารัดเอาเปรียบทุกฝ่าย จึงพยายามที่จะสร้างกรอบและแบบแผน เช่น กฎหมายหรือร่าง พ.ร.บ. หรือ มาตรการต่าง ๆ มากำหนดใช้ โดยหวังว่า กรอบเหล่านี้จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ทั้งนี้ ท่าน ๆ อาจลืมหรือมองข้ามไปว่า ปัจจุบันเรามีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องข้าวโดยตรง ทั้งเรื่องพัฒนาพันธุ์ข้าว การเพาะปลูก การตรวจสอบดูแลพื้นที่เพาะปลูก ตลอดไปจนถึงเรื่องระบบการค้าและการส่งออก (ในทุกขั้นตอนถูกดำเนินการไปตามข้อกำหนดอย่างชัดเจน ดูจะไม่ขาดตกบกพร่อง และกระทั่งบางครั้งอาจมีข้อกำหนดและขั้นตอนมากเกินจนทำให้การปฏิบัติงานจริงขาดความคล่องตัวในบางส่วนด้วยซ้ำไป หรืออาจยังคงมีบางส่วนที่ทำแล้วแต่ยังทำไม่ครบถ้วนสมบูรณ์บ้างก็เป็นได้)


TP8-3247-d

ที่สำคัญ การช่วยเหลือที่เป็นเงินก้อนจำนวนมากจากองค์กรของภาครัฐ เพื่อเข้ามาใช้ลงทุนเพิ่มเพื่อยกระดับราคา หรือ ทำการแทรกแซงตลาด หรือ เพื่อนำมาจัดการด้านการบริหารงาน ต้องวิเคราะห์ถึงความจำเป็นและผลที่จะตามมาด้วย (ทั้งนี้ ภาคเอกชน เช่น ผู้ประกอบการโรงสีได้ลงทุนในส่วนเครื่องจักรไปมากเกินผลผลิตแล้ว การลงทุนเพิ่มจนเกิดความซ้ำซ้อนอาจใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่าการลงทุนในด้านอื่น ๆ จึงควรพิจารณาใช้ความสามารถที่ภาคเอกชนในประเทศมีอยู่ เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเปล่าหากลงทุนเพิ่ม) ส่วนเงินกองทุนต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ปัจจุบัน ก็ได้มีกองทุนเกษตรกรดูแลและรัฐบาลก็ดูแลในรูปแบบต่าง ๆ ในเรื่องนี้อยู่แล้วด้วยเช่นกัน ภายใต้กระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ในพื้นที่เพื่อเข้ามาดูแลเรื่องการบริหารจัดการ ไม่แน่ใจว่ายังจะขาดอะไรอยู่อีก

"ควรศึกษาวิจัยตลาดให้ละเอียด เพราะไทยไม่ได้เป็นผู้ผลผลิตและผู้ส่งออกข้าวรายเดียวของโลก ซึ่งการค้าข้าว (ตลาดข้าวซึ่งเป็นสินค้าคอมโมดิตี้เป็นสินค้าที่ราคาและตลาดเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั้น จะต้องใช้การบริหารเชิงรุกในเชิงนโยบาย ซึ่งน่าจะส่งผลดีและได้ผลมากกว่าการตรากฎระเบียบและมาตรการตายตัวขึ้นมาบังคับใช้ที่จะก่อให้เกิดความยากลำบากในการบริหารงาน)"


กข77ทรงกอตั้ง-1-503x283

โดยพื้นฐานโครงสร้างของวงจรข้าวที่ประกอบด้วย "การตลาด การผลิต และการเพราะปลูก" หรือ จากกฎหมายฉบับนี้ มองว่า "เกษตรกรชาวนา" ยังยากจนอยู่ ขายสินค้าไม่คุ้มทุน ถูกเอารัดเอาเปรียบ เพราะใครเป็นต้นเหตุ จึงพยายามแก้ปัญหาโดยหาผู้มาเป็นจำเลยอยู่หรือไม่ ผู้ที่ถูกมอง "ผู้ประกอบการค้าข้าว (โรงสี)" คนพวกนี้เป็นผู้เอาเปรียบ จึงส่งผลทำให้เกษตรกรยังยากจน จนกลายว่าเป็นเรื่องที่คอยจ้องจับผิดมากกว่าการแก้ปัญหาทั้งระบบ โครงสร้างของการค้าข้าวอย่างแท้จริง ซึ่งถ้าผู้ที่จะเข้ามาแก้ไขและบริหารระบบยังคงมีมุมมองลักษณะแบบนี้ ก็จะวิเคราะห์ไม่เห็นระบบโครงสร้างและมองข้ามโครงสร้างการค้าการตลาดทั้งระบบอย่างครบถ้วน ไม่ครอบคลุมทุกมิติ และก็จะเป็นเรื่องยากมากที่จะนำพาทุกส่วนไปสู่การแก้ไขปัญหาได้


090861-1927-9-335x503-335x503-2-335x503



สมาคมผู้รวบรวมฯ ผิดหวังหลัง "อธิบดีกรมการข้าว" ชี้ข้อดีเพียบ
นายเกษม ผลจันทร์ นายกสมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว กล่าวว่า เมื่อได้เห็นร่างกฎหมาย รู้สึกไม่สบายใจ ขอเข้าพบ นายกฤษณพงศ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล อธิบดีกรมการข้าว (วันที่ 28 พ.ย. 61) ทันที ได้อธิบายข้อกังวลใจต่าง ๆ แต่อธิบดีกลับบอกว่า หากมีกฎหมายออกมา เชื่อว่าจะมีประโยชน์ อย่างไรก็ดี จะกลับไปปรึกษา 2 สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย และสมาคมโรงสีข้าวไทยจะดำเนินการอย่างไรต่อไป


ดาวน์โหลด

ด้าน นายกฤษณพงศ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล อธิบดีกรมการข้าว กล่าวสั้น ๆ ว่า รอให้ร่างกฎหมายมีความชัดเจนกว่านี้ก่อน

595959859