'ฉัตรเฉลิม' ตื่น! โทรสายตรง มท. สั่งผู้ว่าฯเมืองคอน เบรกยึดที่ กยท.

25 พ.ย. 2561 | 08:46 น.
87669
"ฐานเศรษฐกิจ" ยังคงเกาะติดพื้นที่ที่องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เข้าทำประโยชน์ หรือ อยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ในพื้นที่เขตป่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2516 ให้รักษาไว้เป็นป่าไม้ถาวรของชาติป่าคลองกรุงหยัน ท้องที่ อ.ทุ่งใหญ่ และทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช เนื้อที่ 4,600 ไร่ เพื่อใช้พื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพันธุ์ดีเป็นการชั่วคราว มีกำหนดระยะเวลา 30 ปี ตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค. 2525 ครบกำหนด 30 ปี เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2555 ที่ผ่านมา

ล่าสุด เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2561 ทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการตรวจสอบคำขอใช้พื้นที่ไม่ครบถ้วน กล่าวคือ หลักฐานรายงานการประชุมที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกุแหระ และบันทึกยินยอมแก้ไขปัญหาราษฎร ภายใน 15 วัน ปรากฎว่า กยท. ได้ส่งหนังสือขอขยายระยะเวลาออกไป ส่วนอีกด้านหนึ่งทาง สภาองค์การบริหารส่วนตำบลกุแหระได้มีการประชุมว่าจะยินยอมให้ กยท. เช่าต่อหรือไม่ (วันที่ 19 พ.ย. 61) จำนวน 15 คน มีมติเห็นชอบให้ กยท. เข้าทำประโยชน์ หรือ อยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นการชั่วคราว จำนวน 5 เสียง และไม่เห็นชอบจำนวน 10 เสียง เป็นอันยุติว่า ไม่ให้ กยท. เช่าที่ต่อ จึงเป็นที่มาของการลงรายชื่อที่จะมีการจัดสรรแบ่งที่ทำกินให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างอ่างเก็บน้ำคลองสังข์ ปรากฎว่า ในขณะนี้มีผู้มาลงรายชื่อในระบบกว่า 700 คนแล้ว โดยมีนายอำเภอทุ่งใหญ่เป็นประธานอนุกรรมการกลั่นกรองผู้เข้าทำประโยชน์ที่ดิน 4,600 ไร่ ของป่ากรุงหยัน อ.ทุ่งใหญ่ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบกลั่นกรองผู้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ปัจจุบัน หลุดจากการครอบครองของ กยท. แล้ว คาดว่าจะจัดสรรให้เสร็จสิ้นภายใน 45 วัน


87665

แหล่งข่าวจากการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ที่ผ่านมา ทางกลุ่มแกนนำลูกจ้าง กยท. ขึ้นมาจาก จ.นครศรีธรรมราช ขึ้นมายื่นหนังสือกับ พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (ประธานบอร์ด) และนายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการ กยท. เพื่อให้ผู้บริหารส่วนกลางช่วยปกป้องเรื่องรักษาพื้นที่ 4,600 ไร่ กรุงหยัน เพื่อให้เป็นที่กรีดยางของลูกจ้าง ที่กรีดยางอยู่ในพื้นที่สร้างอ่างเก็บน้ำคลองสังข์ เนื่องจากในขณะนี้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งดำเนินการจะแบ่งปันพื้นที่ 4600 ไร่ ให้กับผู้กระทบจากการสร้างอ่าง มองว่า ไม่ยุติธรรม เนื่องจากกลุ่มบุคคลเหล่านี้เยียวยาเป็นตัวเงินไปแล้ว แต่ทำไมยังจะให้ที่ทำกินและที่อยู่อาศัยรายละ 11 ไร่


S__5382229

ปัจจุบัน พื้นที่ดังกล่าวนี้ปลูกสร้างสวนยางพาราพันธุ์ RRIM600 ปาล์มน้ำมันและแปลงยางทดลองพันธุ์ยางอื่น ๆ อายุประมาณ 4-15 ปี จำนวน 322,000 ต้น คิดเป็นผลผลิตยางเฉลี่ยของยางพาราพันธุ์ RRIM600 ประมาณ 289 กก.ต่อไร่ต่อปี คิดเป็นรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายเบื้องต้นแล้วประมาณ 39 ล้านบาทต่อปี และมีมูลค่าไม้ยางพาราเฉลี่ยต้นละ 500 บาท จำนวน 322,000 ต้น คิดเป็นมูลค่าไม้ยางพาราจำนวนกว่า 150 ล้านบาท ดังนั้น พืชเศรษฐกิจและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินดังกล่าวนั้น อ.ส.ย. และ กยท. บริหารจัดการจากงบประมาณแผ่นดิน พื้นที่ดังกล่าวจึงเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ ซึ่งมีมูลค่าทางธุรกิจเป็นทรัพย์สินของรัฐนับพันล้านบาท


โดนยึดแล้ว

45635546_2132360630128121_3442507431244988416_n

โดยรายได้ดังกล่าวการยางแห่งประเทศไทยนำมาเป็นรายได้เพื่อปฏิบัติงานตามภารกิจและนำรายได้ส่งรัฐ หากมีการนำพื้นที่ไปจัดสรรดังกล่าวจะทำให้รัฐได้รับความเสียหายและทำให้พนักงาน ลูกจ้าง ลูกจ้างกรีดยาง และครอบครัวของบุคคลดังกล่าวในพื้นที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยไม่มีส่วนงานใดดูแลรับผิดชอบ ในขณะเดียวกันราษฎรได้รับค่าชดเชยการเวนคืนที่ดินทดแทนแล้ว หากยังได้รับจัดสรรที่ดินซ้ำอีก เห็นว่าเป็นการไม่ชอบด้วยเหตุผล ในทางกลับกัน กยท. ได้มอบพื้นที่กว่า 3,950 ไร่ ให้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำแล้ว แต่ซ้ำต้องเสียพื้นที่ใช้ประโยชน์ 4,600 ไร่ อันมีทรัพย์สินของรัฐอยู่เต็มพื้นที่ เพื่อจัดสรรให้ชาวบ้านเพียงกลุ่มเดียว ทำให้ภารกิจของ กยท. ที่ต้องดูแลเกษตรกรทั้งประเทศได้รับผลกระทบอย่างมากในภาพรวมขององค์กรและในส่วนของเกษตรกรทั้งประเทศ


87670

แหล่งข่าวจากการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า เมื่อได้พบกับผู้บริหารรู้สึกสบายใจขึ้น โดยเฉพาะท่านประธานบอร์ด ได้โทรสายตรงถึงมหาดไทย (มท.) ได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชชะลอเรื่องการยึดพื้นที่ของ กยท. ไปจัดสรรก่อน แล้วอีกด้านหนึ่งก็ส่งนักกฎหมายลงพื้นที่เพื่อเข้าไปเจรจาในวันที่ 26 พ.ย. นี้ ซึ่งจากการพูดคุยหารือในครั้งนี้ จะนำเรื่องดังกล่าวไปบอกกล่าวกับพนักงานและลูกจ้างว่า ทางฝ่ายบริหารไม่ได้ทอดทิ้งลอยแพและพร้อมที่จะช่วยเหลือ แต่ที่ผ่านมาอาจจะไม่ได้สื่อสาร มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน จึงได้เดินทางมายื่นหนังสือในครั้งนี้ อย่างไรก็ดี ก็หวังว่าทางจังหวัดจะเข้าใจ ส่วนของเจ้าของที่ดิน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาตินั้น จะให้ต่ออายุหรือไม่ก็คงต้องติดตามกันต่อไป

595959859